ประวัติ ของ ไผฟาง

โตรณะเข้าสู่เอเชียตะวันออกผ่านการเผยแผ่ศาสนาพุทธตามเส้นทางสายไหม (Silk Road transmission of Buddhism) ในจีนกลายเป็น "ไผฟาง"[2] หรือ "โทริอิ" ในญี่ปุ่น[2][3] "ฮงซัลมุน" ในเกาหลี[4] หรือแม้แต่ "เสาชิงช้า" ในกรุงเทพมหานคร[3] ทั้งหมดล้วนมีหน้าที่เดียวกัน ต่างกันเพียงลักษณะสถาปัตยกรรมและการตกแต่ง[5][6] ไผฟางนั้นพัฒนามาจากโตรณะ[7] ผสมผสานกับลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีน เช่น หลังคาหลายชั้น, เสาค้ำยันหลายเสา และทรงโค้งประตูแบบจีน[8][9] การดัดแปลงของโตรณะเป็นหนึ่งในตัวอย่างของการรับวัฒนธรรมอินเดียที่พบในวัฒนธรรมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งได้รับอิทธิพลจากภารตภิวัฒน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในเอเชียตะวันออกได้รับวัฒนธรรมอินเดียจากการเผยแผ่ศาสนาพุทธผ่านเส้นทางสายไหม[10][11][12][13]

ใกล้เคียง