ชนิด ของ ไผ่ตง

ชนิดพืชในสกุลไผ่ตงและแหล่งที่พบมีดังนี้[1][3]

2
The unnamed parameter 2= is no longer supported. Please see the documentation for {{columns-list}}.
  1. Dendrocalamus asper - จีนใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อนุทวีปอินเดีย
  2. Dendrocalamus bambusoides - ยูนนาน
  3. Dendrocalamus barbatus - ยูนนาน
  4. Dendrocalamus bengkalisensis - หมู่เกาะเรียว
  5. Dendrocalamus birmanicus - ยูนนาน, พม่า
  6. Dendrocalamus brandisii - ยูนนาน , อินโดจีน, หมู่เกาะอันดามัน
  7. Dendrocalamus buar - เกาะสุมาตรา
  8. Dendrocalamus calostachyus - รัฐอรุณาจัลประเทศ, ภูฏาน, ยูนนาน, พม่า
  9. Dendrocalamus cinctus - ศรีลังกา
  10. Dendrocalamus collettianus - พม่า
  11. Dendrocalamus detinens - พม่า
  12. Dendrocalamus dumosus - ไทย, มาเลเซียแผ่นดินใหญ่
  13. Dendrocalamus elegans - ไทย, มาเลเซียแผ่นดินใหญ่
  14. Dendrocalamus exauritus - กวางสี
  15. Dendrocalamus farinosus - กวางสี, กุ้ยโจว, เสฉวน, ยูนนาน, เวียดนาม
  16. Dendrocalamus fugongensis - ยูนนาน
  17. Dendrocalamus giganteus - ยูนนาน, อัสสัม, เบงกอลตะวันตก, ลาว, พม่า; มาดากัสการ์, มอริเชียส, เซเชลส์, ศรีลังกา, บังกลาเทศ, เนปาล, กัมพูชา, ไทย, เอกวาดอร์, เกาะตรินิแดด, เปอร์โตริโก
  18. Dendrocalamus hait - สุมาตรา
  19. Dendrocalamus hamiltonii - ยูนนาน, เนปาล, หิมาลัยตะวันออก, อินโดจีนเหนือ
  20. Dendrocalamus hirtellus - มาเลเซียแผ่นดินใหญ่
  21. Dendrocalamus hookeri - หิมาลัยตะวันออก, พม่า
  22. Dendrocalamus jianshuiensis - ยูนนาน
  23. Dendrocalamus khoonmengii - ไทย
  24. Dendrocalamus latiflorus - จีนใต้, อินโดจีนเหนือ; หมู่เกาะรีวกีว, หมู่เกาะโอะงะซะวะระ, คิวบา, บราซิล
  25. Dendrocalamus liboensis - กุ้ยโจว
  26. Dendrocalamus longispathus - อินโดจีน, รัฐอัสสัม, บังกลาเทศ
  27. Dendrocalamus macroculmis - เวียดนาม
  28. Dendrocalamus manipureanus - มณีปุระ
  29. Dendrocalamus membranaceus - อินโดจีน, ยูนนาน, บังกลาเทศ
  30. Dendrocalamus menglongensis - กวางตุ้ง
  31. Dendrocalamus merrillianus - ฟิลิปปินส์
  32. Dendrocalamus messeri - พม่า
  33. Dendrocalamus minor - กวางตุ้ง, กวางสี, กุ้ยโจว
  34. Dendrocalamus nudus - ไทย
  35. Dendrocalamus pachystachys - ยูนนาน
  36. Dendrocalamus parishii - หิมาลัยตะวันตก
  37. Dendrocalamus parvigemma - เวียดนาม
  38. Dendrocalamus peculiaris - ยูนนาน
  39. Dendrocalamus pendulus - มาเลเซียแผ่นดินใหญ่
  40. Dendrocalamus poilanei - เวียดนาม
  41. Dendrocalamus pulverulentus - กวางตุ้ง
  42. Dendrocalamus sahnii - อรุณาจัลประเทศ
  43. Dendrocalamus semiscandens - ยูนนาน
  44. Dendrocalamus sericeus - รัฐพิหาร, ลาว, เวียดนาม
  45. Dendrocalamus sikkimensis - รัฐสิกขิม, ภูฏาน, อรุณาจัลประเทศ, ยูนนาน
  46. Dendrocalamus sinicus - ยูนนาน, ลาว
  47. Dendrocalamus sinuatus - มาเลเซียแผ่นดินใหญ่, ลาว, เวียดนาม
  48. Dendrocalamus somdevae - รัฐอุตตราขัณฑ์
  49. Dendrocalamus strictus - อินเดีย, อินโดจีน; แคริบเบียน, เกาะชวา, มาเลเซีย, เกาะบางแห่งในมหาสมุทรอินเดีย
  50. Dendrocalamus suberosus - กวางตุ้ง
  51. Dendrocalamus tibeticus - Tibet, ยูนนาน
  52. Dendrocalamus tomentosus - ยูนนาน
  53. Dendrocalamus triamus - กวางตุ้ง
  54. Dendrocalamus tsiangii - เสฉวน, กวางสี, กุ้ยโจว
  55. Dendrocalamus wabo - พม่า
  56. Dendrocalamus xishuangbannaensis - ยูนนาน, เวียดนาม
  57. Dendrocalamus yunnanicus

ประเทศไทย

ในประเทศไทยพบไผ่ตง 4 ชนิด[4] ดังนี้

  1. ไผ่ตงหนู บางครั้งเรียกไผ่ตงเล็ก เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่าสายพันธุ์อื่นๆ เส้นผ่านศูนย์กลางลำประมาณ 3-6 เซนติเมตร ส่วนใหญ่แล้วมีความนิยมในการปลูกน้อยเนื่องจากให้ผลผลิตที่ต่ำกว่าสายพันธุ์อื่น แต่ในบางพื้นที่ เช่น จังหวัดลำปางและเชียงใหม่ จะให้ผลผลิตค่อนข้างดี
  2. ไผ่ตงเขียว เป็นไผ่ตงที่มีลำต้นขนาดเล็กและสั้น ลำต้นมีสีเขียวตามชื่อแต่มีเนื้อไม้ที่บาง เส้นผ่านศูนย์กลางลำประมาณ 5-12 เซนติเมตร ใบบางสีเขียวเข้ม มีขนาดปานกลางไม่สากมือ ส่วนหน่อของสายพันธุ์นี้จะมีเนื้อสีขาวแกมเหลือง รสชาติหวานอมขมเล็กน้อย สายพันธุ์นี้เป็นสายพันธุ์ที่ทนต่อความแห้งแล้งได้ดีจึงเป็นที่นิยมปลูกกันมาก[5]ในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  3. ไผ่ตงดำ หรือตงหวาน มีลำต้นสีเขียวอมดำตามชื่อเรียก สายพันธุ์นี้มีขนาดใหญ่รองลงมาจากไผ่ตงหม้อแต่มีลำต้นที่เตี้ยและสั้นกว่า เส้นผ่านศูนย์กลางลำประมาณ 9-12 เซนติเมตร ใบมีสีเขียวเข้มหนาและมีขนาดใหญ่สังเกตเห็นร่องใบได้ชัดเจน ไผ่ตงดำได้ชื่อว่าเป็นไผ่ตงที่เป็นหนึ่งในเรื่องหน่อไม้เพราะหน่อของสายพันธุ์นี้มีขนาดใหญ่ไม่มีเสี้ยน รสชาติหวาน เนื้อกรอบและขาวละเอียด ดังนั้นหน่อไม้ของสายพันธุ์นี้จึงเป็นที่นิยมในการปลูกและนำมาบริโภคหรือค้าขายค่อนข้างมาก
  4. ไผ่ตงหม้อ หรือตงใหญ่ ไผ่ตงสายพันธุ์นี้มีขนาดใหญ่ที่สุดจากทั้งหมด 4 สายพันธุ์ มีลำต้นที่ยาวและสูง เส้นผ่านศูนย์กลางลำประมาณ 12-18 เซนติเมตร ส่วนใบมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่น ลำต้นสูงโปร่งเนื่องแตกกิ่งน้อย หน่อมีขนาดใหญ่มากมีสีน้ำตาลอมดำหรือน้ำตาลอมม่วง น้ำหนักหน่อประมาณ 5 กิโลกรัมขี้นไป เนื้อหน่อจะหยาบ แข็ง และมีสีขาว หน่อจะออกมากในช่วงฤดูฝน