สายพันธุ์ไวรัสโคโรนาในมนุษย์ ของ ไวรัสโคโรนา

ไวรัสโคโรนา เชื่อว่าเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหวัดทุกชนิดในเด็กและผู้ใหญ่[14] ซึ่งทำให้เกิดหวัดด้วยอาการสำคัญเช่น มีไข้ และเจ็บคอ จากการโตของต่อมอะดีนอยด์ ส่วนใหญ่พบในฤดูหนาวและช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ[27] ไวรัสโคโรนาสามารถก่อให้เกิดโรคปอดบวม - ทั้งโดยตรงจากโรคปอดบวมจากเชื้อไวรัสหรือโรคปอดบวมจากแบคทีเรีย - และอาจทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบ - ทั้งโดยตรงจากโรคหลอดลมอักเสบจากไวรัสหรือโรคหลอดลมอักเสบจากแบคทีเรีย[28] สายพันธุ์ไวรัสโคโรนาในมนุษย์ที่มีการระบาดมากที่ค้นพบในปี พ.ศ. 2546 คือ SARS-CoV ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (ซาร์ส) มีการพัฒนาการของโรคที่ไม่เหมือนโรคอื่น เพราะทำให้เกิดการติดเชื้อทั้งส่วนบน และส่วนล่างของทางเดินหายใจ[28] ไม่มีวัคซีนหรือยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันหรือรักษาการติดเชื้อไวรัสโคโรนาในมนุษย์[29]

ไวรัสโคโรนาในมนุษย์เจ็ดสายพันธุ์ ที่เป็นรู้จัก:

  1. Human coronavirus 229E (HCoV-229E)
  2. Human coronavirus OC43 (HCoV-OC43)
  3. ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS-CoV)
  4. Human coronavirus NL63 (HCoV-NL63, New Haven coronavirus)
  5. Human coronavirus HKU1
  6. ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์กลุ่มอาการของโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS-CoV) หรือก่อนหน้านี้รู้จักในชื่อ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2012 และ HCoV-EMC
  7. ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง 2 (SARS-CoV-2) หรือก่อนหน้านี้รู้จักในชื่อ 2019-nCoV หรือ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019

ไวรัสโคโรนา HCoV-229E, HCoV-OC43, HCoV-NL63 และ HCoV-HKU1 แพร่กระจายอย่างต่อเนื่องในประชากรมนุษย์และทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจในผู้ใหญ่และเด็กทั่วโลก[30]

ใกล้เคียง

ไวรัส ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ไวรัสอาร์เอสวี ไวรัสโคโรนา ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์เดลตา ไวรัสตับอักเสบซี ไวรัสคอมพิวเตอร์ ไวรัสโรคระบาด เอช 1 เอ็น 1/09 ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์โอมิครอน ไวรัสซิกา