การใช้ ของ ไฮดรอกซิซีน

ไฮดร๊อกซิซีนใช้เป็นสารต้านฮิสตามีน ยาคลายกังวล (anxiolytic) และยาสงบประสาท (tranquilizer)ซึ่งสามัญเป็นพิเศษในทันตแพทยศาสตร์แต่สามัญน้อยกว่าในการแพทย์ ที่หลายปีมักใช้ยาร่วมกับยากลุ่มโอปิออยด์เพราะสามารถยับยั้งผลข้างเคียงของยาโอปิออยด์ที่เป็นยาแก้ปวด คือ ระงับความคันและความคลื่นไส้ และเพราะมีผลระงับประสาทที่เสริมกับผลระงับปวดของยาโอปิออยด์[ต้องการอ้างอิง]

หมอจะสั่งยาเมื่อโรคที่มีเหตุจากโครงสร้างและเนื้อเยื่อมีอาการกังวล เช่น โรควิตกกังวลไปทั่ว (GAD) หรือในโรคจิตประสาท (psychoneurosis) ที่รุนแรง เพื่อให้คนไข้สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้ยามีหลักฐานว่ามีประสิทธิภาพเท่ากับ เบ็นโซไดอาเซพีน และ bromazepam ในการรักษา GAD[17]แต่ก็มีงานปริทัศน์เป็นระบบที่ไม่แนะนำให้ใช้ยาสำหรับ GAD แม้ว่าเมื่อเทียบกับยาคลายกังวลอื่น ๆ (รวมทั้ง เบ็นโซไดอาเซพีนs และ buspirone) แล้ว ยามีประสิทธิภาพ มีความยอมรับได้ และมีความอดทนใช้ยาได้เท่าเทียมกัน[18]

ยาสามารถใช้รักษาอาการภูมิแพ้ เช่น ลมพิษ ผิวหนังอักเสบเหตุภูมิแพ้ (atopic dermatitis) ผิวหนังอักเสบเหตุถูกสัมผัส (contact dermatitis) และอาการคันที่อำนวยโดยฮิสตามีน[19]และได้ยืนยันแล้วว่า ยาไม่มีผลที่ไม่ต้องการต่อตับ เลือด ระบบประสาท หรือระบบปัสสาวะ[ต้องการอ้างอิง]การให้เป็นยานำ (premedication) เพื่อระงับประสาทไม่มีผลต่อยากลุ่ม tropane alkaloid เช่น อะโทรปีน แต่หลังจากการให้ยาสลบ (general anesthesia) อาจเพิ่มฤทธิ์ของยาเพทิดีน (ยากลุ่มโอปิออยด์) และ barbiturate และดังนั้น การใช้เป็นยาเสริมก่อนวางยาสลบควรจะเปลี่ยนแปลงตามสภาพคนไข้[20]

ในบางกรณี ยาอาจใช้เป็นยานอนหลับที่ไม่ใช่ในกลุ่ม barbiturate[21]ใช้ในการระงับประสาทก่อนผ่าตัด หรือรักษาโรคทางประสาท เช่น โรคจิตประสาท (psychoneurosis) และรูปแบบอื่น ๆ ของความวิตกกังวลหรือความเครียด[21]สำหรับทันตกรรม สูติกรรม กรรมวิธีต่าง ๆ และในกรณีที่มีการเจ็บปวดมากอย่างฉับพลันเช่นในอุบัติเหตุยาสามารถใช้เป็นยาคลายกังวลอันดับแรก (first line) และยาเสริมยากลุ่มโอปิออยด์ (ยาแก้ปวด) เพราะว่ามันไม่เป็นทั้งปฏิปักษทั้งไม่เสริมยากลุ่ม เบ็นโซไดอาเซพีนs และ scopolamine ดังนั้นจึงสามารถใช้ยาเหล่านั้นพร้อมกันหรือภายหลังเมื่อจำเป็น[ต้องการอ้างอิง]

งานวิจัยพฤติกรรมสัตว์

ยาสามารถลดระดับความล้มเหลวในการหลบหนีของหนู (คืออาจลดความกลัว/ความกังวล) ในการทดลองที่ฝึกให้สัตว์รู้สึกว่าทำอะไรไม่ได้ (learned helplessness paradigm)[22]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไฮดรอกซิซีน http://www.chemspider.com/Chemical-Structure.3531.... http://www.drugs.com/cdi/hydroxyzine.html http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S0014-... http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S0091-... //www.google.com/patents/US2899436 http://www.medscape.com/druginfo/monograph?cid=med... http://www.pfizer.com/pfizer/download/uspi_vistari... http://www.psychiatrist.com/privatepdf/2002/v63n11... http://dictionary.reference.com/slideshows/unique_... http://www.rxlist.com/cgi/generic/hydrox_ids.htm