คำอธิบายทางคลินิก ของ ไฮดรอกซิซีน

เมแทบอลิซึมและเภสัชจลนศาสตร์

ยาสามารถให้ทางปากหรือทางการฉีดเข้ากล้ามเนื้อเมื่อให้ทางปาก ก็สามารถดูดซึมได้อย่างรวดเร็วผ่านกระเพาะอาหาร-ลำไส้ซึ่งฤทธิ์สามารถสังเกตเห็นได้ภายใน 30 นาที

ทางเภสัชจลนศาสตร์ ยาดูดซึมได้อย่างรวดเร็วทั้งทางปากและทางการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ โดยมีเมแทบอลิซึมในตับเมแทบอไลต์หลัก (45%) คือ เซทิไรซีน เกิดจากการออกซิเดชันของส่วนที่เป็นแอลกอฮอล์ไปเป็นกรดคาร์บอกซิลิกโดยอาศัยเอนไซม์ alcohol dehydrogenase และผลโดยทั่วไปจะสามารถเห็นได้ภายใน 1 ชม. หลังให้ยาระยะครึ่งชีวิตของยาเฉลี่ยประมาณ 3 ชม. ในผู้ใหญ่ โดยวัดในผิวหนังได้มากกว่าในเลือดเซทิไรซีน แม้ว่าจะมีฤทธิ์ระงับประสาทน้อยกว่า แต่ว่าไตจะไม่กำจัดยาออกจากเลือด โดยมีคุณสมบัติต้านฮิสตามีนที่คล้ายกันเมแทบอไลต์อย่างอื่นรวมทั้ง N-dealkylated metabolite และ O-dealkylated 1/16 metabolite ที่มีระยะครึ่งชีวิตในเลือดนาน 59 ชม.วิถีเมแทบอลิซึมของยาอำนวยโดยระบบ CYP3A4 และ CYP3A5 ในตับเป็นหลัก[23]ในสัตว์ ไฮดร๊อกซิซีนและเมแทบอไลต์ของมันจะขับออกทางอุจจาระโดยการกำจัดน้ำดี[24][25]

การให้ยากับผู้สูงอายุต่างจากคนอายุน้อยกว่าตามองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) โดยปี 2547 ก็ยังไม่มีงานศึกษาสำคัญที่รวมผู้มีอายุมากกว่า 65 ซึ่งเป็นขีดแบ่งผู้สูงอายุจากกลุ่มอื่นแต่ยาควรให้แก่ผู้สูงอายุอย่างระมัดระวังเพราะการขจัดยาออกจากร่างกายอาจทำได้น้อยกว่า[26]

โดยนัยเดียวกัน การใช้ยาระงับประสาทพร้อมกับยาสามารถทำให้มีฤทธิ์ระงับประสาทเกินและเกิดความสับสนถ้าให้มากพอ ดังนั้น การรักษาพร้อมกับยาระงับประสาทควรทำภายใต้การดูแลของแพทย์[21][26]

ข้อห้ามใช้

การให้ไฮดร๊อกซิซีนในปริมาณสูงไม่ว่าจะรับประทานหรือฉีดในกล้ามเนื้อเมื่อเริ่มมีครรภ์อาจเป็นเหตุให้ทารกพิการ เพราะว่า เมื่อทดลองในหนู หนูหริ่ง และกระต่าย ยาทำให้เกิดความผิดปกติเช่น อวัยวะเพศทำงานน้อยกว่าปกติ (hypogonadism) แต่การทดลองก็ใช้ยาขนาดสูงกว่าที่ใช้รักษาในมนุษย์อย่างสำคัญ[20]ส่วนในมนุษย์ งานศึกษายังไม่ได้กำหนดขนาดสำคัญ แต่ FDA ก็ได้ระบุข้อห้ามใช้สำหรับยาไว้แล้ว[20]

โดยนัยเดียวกัน การให้ยาสำหรับบุคคลที่เสี่ยงหรือมีอาการแพ้ยาก็เป็นข้อห้ามใช้ด้วย[20]ยาห้ามให้โดยหลอดเลือดดำ (IV) เพราะว่า สามารถเป็นเหตุของการสลายของเม็ดเลือดแดง (hemolysis)

ข้อห้ามใช้อีกอย่างรวมทั้งการให้ยากับยาแก้ซึมเศร้าและสารอื่น ๆ ที่มีผลต่อระบบประสาทกลาง[20]และถ้าจำเป็น ก็ควรให้ทีละหน่อย ๆ กับยาอื่น[20]ถ้าให้อย่างที่ว่ากับยาอื่น คนไข้ควรเว้นจากปฏิบัติการกับเครื่องยนต์ที่สามารถเกิดอันตราย รถยนต์ และงานอื่น ๆ ที่ต้องใช้สมาธิ ตามที่กำหนดโดยกฎหมายความปลอดภัย[20]

งานศึกษายังแสดงด้วยว่า การให้ยานาน ๆ สามารถนำไปสู่อาการยึกยือเหตุยา (tardive dyskinesia) หลังจากใช้ยาเป็นปี ๆ แต่อาการก็มีรายงานเป็นกรณี ๆ หลังจากใช้ยาเพียง 7 เดือนครึ่ง[27]อาการเช่น การบิดศีรษะ (head rolling) เลียปาก และรูปแบบอื่น ๆ ของการเคลื่อนไหวแบบ athetoid คือ การเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ไม่ได้ตั้งใจ บิดไปบิดมา ของนิ้วมือ มือ นิ้วเท้า เท้า และในบางกรณี แขน ขา คอ และลิ้น[28]ในบางกรณี การได้ยาอนุพันธ์ของ phenothiazine หรือยารักษาโรคจิต (neuroleptic) มาก่อนแล้วของคนไข้สูงอายุ อาจมีส่วนเป็นเหตุอาการยึกยือเหตุยาเมื่อให้ไฮดร๊อกซิซีน เพราะไวต่ออาการหลังจากที่ได้ยามาเป็นเวลานาน[27]ดังนั้น จึงมีข้อบ่งห้ามบางอย่างที่จะให้ยาแม้ในระยะสั้นสำหรับคนไข้ที่เคยได้ phenothiazine มาก่อน[27]

ผลที่ไม่ต้องการ

มีอาการหลายอย่างที่ระบุในใบรายละเอียดของยา รวมทั้ง นอนหลับสนิท ร่างกายทำงานไม่ประสาน ง่วงนอน ใจเย็น และคลื่นไส้ ที่พบทั้งในเด็กและผู้หใญ่ โดยยังมีอาการอื่น ๆ รวมทั้งความดันโลหิตต่ำ เสียงในหู และปวดหัว[29]ผลต่อกระเพาะอาหาร-ลำไส้ และผลที่เบา ๆ เช่น คอแห้งและท้องผูกที่เกิดจากฤทธิ์ antimuscarinic ของยา ก็พบด้วย[29]ปัญหาต่อระบบประสาทกลางเช่นประสาทหลอนและความสับสนยังพบในกรณีที่น้อยมาก โดยมากเพราะใช้ยาเกินขนาด[26][29]แต่ก็มีกรณีเช่นนี้ทั้งในคนไข้ที่มีโรคจิตประสาท (neuropsychological disorders) และในกรณีที่คนไข้ใช้ยาเกิน

แม้จะมีรายงานถึงฤทธิ์ทำให้ประสาทหลอน หรือการสะกดจิต (hypnotic) แต่การทดลองทางคลินิกไม่แสดงหลักฐานเช่นนี้จากการใช้ยาเพียงอย่างเดียว แต่ก็แสดงผลว่าเกิดความสงบทั่วไปผ่านการเร้าเขตสมอง formatio reticularisดังนั้น ฤทธิ์ประสาทหลอนและสะกดจิต ยกว่าเป็นผลเพิ่มการระงับระบบประสาทกลางพร้อมกับยาระงับประสาทอื่น ๆ รวมทั้ง lithium และเอทานอล[30]

ยังมีการทดสอบไฮดร๊อกซิซีนเกี่ยวกับความจำของมนุษย์ เปรียบเทียบกับยาที่ค่อนข้างปลอดภัยเช่น ลอราเซแพม เพื่อแสดงผลของยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน ซึ่งเชื่อว่ามีผลที่ไม่ต้องการเกี่ยวกับความจุของระบบความจำแล้วพบว่า ไฮดร๊อกซิซีนไม่มีผลที่ไม่ต้องการต่อระบบความทรงจำเทียบกับ ลอราเซแพม ซึ่งมีผลต่อความจุของความจำ[31]

ในงานศึกษาที่เปรียบเทียบกับ ลอราเซแพม ในผลต่อความทรงจำ ไฮดร๊อกซิซีนออกฤทธิ์ระงับประสาทเช่นทำให้ง่วงนอน แต่คนไข้ก็รู้สึกว่าตนเองตื่นตัวพอ และสามารถที่จะทำบททดสอบต่อไปได้ในสถานการณ์เช่นนี้[32]โดยนัยตรงกันข้าม คนที่ทานยา ลอราเซแพม ไม่สามารถทำบททดสอบต่อไปได้เพราะผลของยาคนไข้ 8 ใน 10 รู้สึกว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการทรงร่างกายและการเคลื่อนไหวแบบง่าย ๆ[32]อาการง่วงซึม (somnolence) ที่มีหรือไม่มีความฝัน อาจเกิดกับคนไข้ที่ไวสารต้านฮิสตามีนเมื่อใช้ร่วมกับยากดระบบประสาทกลางอื่น ๆ

ไฮดร๊อกซิซีนมีฤทธิ์คลายกังวลและระงับประสาทในคนไข้จิตเวชเป็นจำนวนมากงานศึกษาอื่นแสดงว่า ไฮดร๊อกซิซีนเป็นยานอนหลับที่มีกำลัง คือ ทำให้หลับได้ไวขึ้นและเพิ่มเวลาการนอน แต่ก็ทำให้ง่วงนอนด้วยโดยหญิงตอบสนองต่อฤทธิ์เช่นนี้มากกว่าชาย[33]เพราะอาจมีผลข้างเคียงที่รุนแรงกว่านี้ ไฮดร๊อกซิซีนแนะนำให้เลี่ยงในคนสูงอายุ[34]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไฮดรอกซิซีน http://www.chemspider.com/Chemical-Structure.3531.... http://www.drugs.com/cdi/hydroxyzine.html http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S0014-... http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S0091-... //www.google.com/patents/US2899436 http://www.medscape.com/druginfo/monograph?cid=med... http://www.pfizer.com/pfizer/download/uspi_vistari... http://www.psychiatrist.com/privatepdf/2002/v63n11... http://dictionary.reference.com/slideshows/unique_... http://www.rxlist.com/cgi/generic/hydrox_ids.htm