เชิงอรรถ ของ Reticular_formation

  1. หน้าที่ทาง premotor ก็คือรวบรวมข้อมูลป้อนกลับของประสาทสัมผัสกับกระแสประสาทสั่งการจากเซลล์ประสาทสั่งการบนและจาก deep cerebellar nuclei แล้วจัดระเบียบการทำงานของเซลล์ประสาทสั่งการคือ lower visceral motor neuron และเซลล์ประสาทสั่งการล่างที่ควบคุมกล้ามเนื้อในร่างกาย โดยรวมเอาเซลล์ประสาทสั่งการทั้งในก้านสมองและในไขสันหลัง[6]
  2. reticular nuclei รวมทั้งที่อยู่ในเมดัลลา พอนส์ และสมองส่วนกลาง[3]
  3. 1 2 3 ท่าทาง (posture) มีความหมายหลายอย่างแล้วแต่บริบท เมื่อกล่าวโดยทั่ว ๆ ไปถึงการยืน การนั่ง การนอน จะหมายถึงท่าทางช่วงที่พักในระหว่างการเคลื่อนไหว เมื่อกล่าวอย่างเฉพาะเจาะจงถึงมือและเท้า นี่หมายถึงการตรึงต้นแขนต้นขาโดยเกร็งกล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อเพื่อให้ปลายแขนปลายขาทำการที่ต้องการได้[10]
  4. Central pattern generator (CPG แปลตามศัพท์ว่า ตัวก่อรูปแบบกลาง) เป็นวงจรประสาทที่ส่งกระแสประสาทเป็นจังหวะ ๆ แต่ไม่ได้รับกระแสประสาทนำเข้าที่เป็นจังหวะ[11][12]เป็นแหล่งกระแสประสาทที่ส่งในรูปแบบจับคู่และผลักดันการเคลื่อนไหวเป็นจังหวะ ๆ เช่น เดิน หายใจ หรือเคี้ยวถึงจะทำการได้โดยไม่ต้องได้กระแสประสาทจากสมองแต่ก็ยังต้องได้กระแสประสาทนำเข้า กระแสประสาทที่ส่งออกก็ไม่ตายตัวการตอบสนองอย่างยืดหยุ่นได้ต่อข้อมูลประสาทสัมผัสเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของพฤติกรรมที่ผลักดันโดย CPG[11][12]เพื่อจะจัดว่าเป็นตัวก่อกระแสประสาทเป็นจังหวะ CPG จำเป็นต้องมี
    1. กระบวนการสองอย่างหรือมากกว่านั้นซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กัน โดยกระบวนการแต่ละอย่างจะเพิ่มหรือลดลงเป็นลำดับ
    2. เพราะปฏิสัมพันธ์เช่นนี้ ระบบจะกลับคืนไปที่สภาพเริ่มต้นอย่างซ้ำ ๆ[11]
  5. 1 2 3 4 5 6 7 8 9 เซลล์ประสาทสามารถแบ่งประเภทตามสารสื่อประสาทที่มันใช้สื่อสารหรือควบคุมโครงสร้างทางประสาทอื่น ๆ ประเภทรวมทั้ง
    • เซลล์แบบ dopaminergic ใช้สารสื่อประสาทโดพามีน
    • เซลล์แบบ noradrenergic ใช้สารสื่อประสาท norepinephrine
    • เซลล์แบบ serotonergic ใช้สารสื่อประสาท เซโรโทนิน
    • เซลล์แบบ histaminergic ใช้สารสื่อประสาท ฮิสตามีน
    • เซลล์แบบ cholinergic ใช้สารสื่อประสาท acetylcholine (ตัวย่อ ACh)
    • เซลล์แบบ glutamatergic ใช้สารสื่อประสาท กลูตาเมต
  6. animal hypnosis a state of motor nonresponsiveness in nonhuman animals, produced by stroking, salient stimuli, or physical restraint. It is called “hypnosis” because of a claimed resemblance to human hypnosis and trance.animal hypnosis เป็นภาวะที่สัตว์นอกเหนือจากมนุษย์ตอบสนองโดยไม่เคลื่อนไหว อาจเกิดเพราะการลูบ เพราะสิ่งเร้าที่เด่น เพราะการถูกจับไว้ มันเรียกว่า “hypnosis” (การสะกดจิต) ก็เพราะอ้างว่า คล้ายกับภาวะถูกสะกดจิตและอาการเคลิ้มในมนุษย์[25]
  7. อิเล็กโทรดซึ่งแปะที่หนังศีรษะเพื่อตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) จะวัดการทำงานของเซลล์ประสาทพีระมิด (pyramidal neuron) ที่อยู่ข้างใต้เป็นจำนวนมหาศาลเซลล์แต่ละตัวก่อสนามไฟฟ้าที่จะต่าง ๆ กันไปตามเวลาแต่เมื่อนอนหลับ เซลล์จะทำงานเกือบพร้อม ๆ กัน ทำให้คลื่น EEG ซึ่งเป็นสนามไฟฟ้ารวมของเซลล์จำนวนมาก มักจะอยู่ในเฟสเดียวกัน จึงมีแอมพลิจูดที่สูงกว่า ปรากฏเป็นคลื่นประสาทที่ประสาน (synchronized)เทียบกับในสภาพตื่น เซลล์ไม่ทำงานพร้อม ๆ กันเพราะมีกระแสประสาทนำเข้าที่ต่างกัน มีเฟสต่างกัน ดังนั้น คลื่น EEG ซึ่งเป็นผลรวมทางพีชคณิต ก็จะมีแอมพลิจูดที่ต่ำกว่า เป็นคลื่นที่ไม่ประสาน (dysynchronized)[28]
  8. ความคู่ควบกันทางไฟฟ้า (electrical coupling) เป็นการไหลของกระแสไฟฟ้าแบบแพสซีฟจากเซลล์หนึ่งเข้าไปในเซลล์ชิดกันผ่านแกบจังก์ชัน (gap junction) เช่น เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจหรือเซลล์ประสาทที่มีไซแนปส์เชิงไฟฟ้า (electrical synapse)เซลล์ที่คู่ควบกันทางไฟฟ้าจะส่งกระแสประสาทอย่างประสานกันเพราะกระแสไฟฟ้าที่เกิดในเซลล์หนึ่งจะกระจายเข้าไปสู่เซลล์อื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว[38]
  9. righting reflex หรือ labyrinthine righting reflex เป็นรีเฟล็กซ์ที่ปรับทิศทางของร่างกายเมื่อเกิดมีตำแหน่งที่ไม่ตั้งตรงระบบการทรงตัวเริ่มการทำงานของรีเฟล็กซ์นี้ เพราะตรวจจับได้ว่า ร่างกายไม่ตรงแล้วปรับศีรษะให้ตั้งตรงโดยร่างกายที่เหลือจะตาม

แหล่งที่มา

WikiPedia: Reticular_formation http://thebrain.mcgill.ca/flash/a/a_11/a_11_cr/a_1... http://biology.about.com/library/organs/brain/blre... http://www.dictionary.com/browse/reticular-activat... http://adsabs.harvard.edu/abs/1957Sci...125..156S http://adsabs.harvard.edu/abs/1996Sci...271..512K http://adsabs.harvard.edu/abs/1996Sci...272..225S http://adsabs.harvard.edu/abs/2008NYASA1129...26J http://adsabs.harvard.edu/abs/2017NatCo...8.1405P http://www-personal.umich.edu/~artkuo/Papers/MC02.... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2082101