ชีวะเคมี ของ กรดไขมันโอเมกา-6

กรดลิโนเลอิก (18:2, n−6) ซึ่งเป็นกรดไขมันโอเมกา-6 มีโซ่สั้นสุด จัดเป็นกรดไขมันจำเป็นอย่างหนึ่ง เพราะร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์ได้เซลล์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมไม่มีเอนไซม์ omega-3 desaturase และดังนั้น จึงไม่สามารถแปลงกรดไขมันโอเมกา-6 ให้เป็นกรดไขมันโอเมกา-3 ได้โดยกรดไขมันทั้งสองนี้ ทำหน้าที่แข่งกันเป็นซับสเตรตของเอนไซม์เดียวกัน ๆ[3]ซึ่งแสดงความสำคัญของอัตราส่วนระหว่างกรดไขมันโอเมกา-3 กับโอเมกา-6 ที่ทานในอาหาร[3]

กรดไขมันโอเมกา-6 เป็นสารตั้งต้น (precursor) ของ endocannabinoid, lipoxins และไอโคซานอยด์บางชนิด

งานวิจัยทางแพทย์ในมนุษย์พบสหสัมพันธ์ (แม้จะไม่ได้แสดงเหตุ) ระหว่างการทานกรดไขมันโอเมกา-6 จากน้ำมันพืชกับโรคแต่งานวิจัยทางชีวเคมีได้สรุปว่ามลพิษทางอากาศ, โลหะหนัก, การสูบบุหรี่, การได้รับควันบุหรี่, lipopolysaccharides, การเหม็นหืนของลิพิด (โดยหลักจากผลิตภัณฑ์น้ำมันพืช ถั่วคั่ว และเมล็ดพืชที่มีไขมมันมากคั่ว) และสารพิษภายนอกอื่น ๆเป็นตัวก่อกระบวนการตอบสนองเป็นการอักเสบ (inflammatory response) ที่ทำให้เซลล์แสดงออกเอนไซม์ COX-2แล้วผลิตอย่างชั่วคราวซึ่งโพรสตาแกลนดินที่สนับสนุนการอักเสบ โดยผลิตจากกรดอะราคิโดนิก (arachidonic acid) เพื่อส่งสัญญาณให้ระบบภูมิคุ้มกันรู้ว่ามีเซลล์เสีหายแล้วในที่สุดก็จะผลิตโมเลกุลต้านการอักเสบ (เช่น lipoxins และ prostacyclin) ในระยะสิ้นสุด (resolution) ของการอักเสบ[4][5][6][7][8][9][10][11][12][13][14][15]

ใกล้เคียง

กรดไขมันโอเมกา-3 กรดไขมันโอเมกา-6 กรดไขมัน กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยว กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ กรดไขมันอิ่มตัว กรดไขมันจำเป็น กรดไขมันไม่อิ่มตัว กรดไขมันทรานส์ กรดไฮโดรคลอริก

แหล่งที่มา

WikiPedia: กรดไขมันโอเมกา-6 http://www.nutrasource.ca/files/omega_3_chronic_no... http://www.bmj.com/rapid-response/2011/10/31/exces... http://www.highbeam.com/doc/1P3-1421893231.html http://www.medicalnewstoday.com/articles/29976.php http://riskfactor.cancer.gov/diet/foodsources/fatt... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11459870 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12442909 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/14559071 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/14579680 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15234907