กลยุทธ์หลบหนี
กลยุทธ์หลบหนี

กลยุทธ์หลบหนี

กลยุทธ์หลบหนี หรือ โจ่วเหวยซ่าง (อังกฤษ: If everything else fails, retreat; จีนตัวย่อ: 走为上; จีนตัวเต็ม: 走為上; พินอิน: Zǒu wéi shàng) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก เป็นกลยุทธ์ที่หมายความถึงเมื่อทำการศึกสงครามกับศัตรู หากศัตรูมีกองกำลังทหารที่เข้มแข็ง มีกองทัพที่แข็งแกร่ง ชำนาญภูมิศาสตร์ เป็นต่อในทุก ๆ ด้านไม่มีช่องโหว่ให้พลิกเอาชัยชนะแม้แต่น้อย ขืนนำกำลังเข้าต่อสู้ก็มีแต่สูญเสีย การถอยหนีย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่าคัมภีร์อี้จิงกล่าวว่า "ถอยหนีมิผิด เป็นวิสัยแห่งสงคราม" ซึ่งเป็นการชี้ชัดว่าการถอยหนีในการทำสงครามนั้นมิใช่ความผิดผลาด หากแต่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญในการทำศึกที่มักจะพบเห็นเสมอ นอกจากนี้ยังมีคำกล่าวว่า "การพ่ายแพ้หมายถึงความล้มเหลวในทุก ๆ ด้าน การยอมสงบศึกหมายถึงการล้มเหลวในบางด้าน แต่การหนีมิได้หมายความว่าล้มเหลวเลย"[1] ดังนั้นการถอยหนีเป็นการถอยเพื่อหาหนทางหลีกเลี่ยงความเสียหาย แลหาโอกาสชิงตอบโต้ในภายหลัง มิใช่เป็นการถอยหนีอย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์หลบหนีไปใช้ได้แก่จูกัดเหลียงที่ลอบหลบหนีจิวยี่ภายหลังจากทำพิธีเรียกลมตะวันออกเฉียงใต้ที่ลำเขาลำปินสานเพื่อใช้ไฟเผากองทัพเรือโจโฉในคราวศึกเซ็กเพ็ก[2]

กลยุทธ์หลบหนี

ประเภท กลยุทธ์ยามพ่าย
สาเหตุ จิวยี่หวาดกลัวในสติปัญญาอันหลักแหลมและการหยั่งรู้ฟ้าดินมหาสมุทรของจูกัดเหลียง เกรงปล่อยไว้จะเป็นภัยแก่กังตั๋งในภายหน้า
ผู้ร่วมกลศึก เล่าปี่, จูล่ง, เตงฮอง, ชีเซ่ง
ผู้ต้องกลศึก จิวยี่
ผู้วางกลศึก จูกัดเหลียง
สถานที่ ลำเขาปินสาน
ผลลัพธ์ จูกัดเหลียงลอบหลบหนี จากการปองร้ายของจิวยี่กลับคืนสู่กังแฮอย่างปลอดภัย
กลศึกก่อนหน้า กลยุทธ์ลูกโซ่
หลักการ ถอยหนีมิผิด เป็นวิสัยแห่งสงคราม

ใกล้เคียง

กลยุทธ์ กลยุทธ์เชิงวิวัฒนาการ กลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเล กลยุทธ์หลบหนี กลยุทธ์หลี่ตายแทนถาว กลยุทธ์ตีชิงตามไฟ กลยุทธ์ยืมซากคืนชีพ กลยุทธ์ตีหญ้าให้งูตื่น กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคน กลยุทธ์ลอบตีเฉินชาง