กลุ่มภาษาอินูอิต
กลุ่มภาษาอินูอิต

กลุ่มภาษาอินูอิต

กลุ่มภาษาอินูอิต (อังกฤษ: Inuit languages) เป็นกลุ่มของภาษาชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและพูดกันมาแต่ดั้งเดิมในแถบอาร์กติกของอเมริกาเหนือและบางส่วนในแถบกึ่งอาร์กติกของแลบราดอร์ กลุ่มภาษายูปิกที่มีความใกล้ชิดกับกลุ่มภาษานี้ใช้พูดกันทางตะวันตกและใต้ของอะแลสกา และทางตะวันออกสุดของรัสเซีย แต่ปัจจุบันอยู่ในภาวะใกล้สูญในรัสเซียและยังเหลือผู้พูดในหมู่บ้านไม่กี่แห่งบนคาบสมุทรชุกชี ชาวอินูอิตส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในสามดินแดน ได้แก่ กรีนแลนด์, แคนาดา (โดยเฉพาะในภูมิภาคนูนัตซิอาวุตของแลบราดอร์, ภูมิภาคนูนาวิกของควิเบก, นูนาวุต และนอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์) และสหรัฐ (โดยเฉพาะชายฝั่งของอะแลสกา)จำนวนชาวอินูอิตที่พูดภาษาดั้งเดิมของพวกเขานั้นยากที่จะประเมินด้วยความแม่นยำ เนื่องจากการนับส่วนใหญ่อาศัยข้อมูลสำมะโนประชากรที่เป็นการรายงานตัวเองซึ่งอาจจะไม่สะท้อนการใช้งานหรือความรู้ในภาษาได้อย่างแม่นยำ สำมะโนประชากรกรีนแลนด์ประมาณการว่าจำนวนผู้พูดวิธภาษาต่าง ๆ ของกลุ่มภาษาอินูอิตที่นั่นอยู่ที่ประมาณ 50,000 คน[2] จากสำมะโนประชากรแคนาดา พ.ศ. 2559 มีประชากรชนพื้นเมือง 1,673,785 คน (ร้อยละ 4.9) โดยเป็นชาวอินูอิตหรืออินุก 65,030 คน (ร้อยละ 0.2) ซึ่ง 36,545 คนในจำนวนนี้รายงานว่าพูดภาษากลุ่มอินูอิตเป็นภาษาแม่[3] ส่วนในสหรัฐ ชาวอะแลสกาประมาณ 7,500 คน[4] จากประชากรชนพื้นเมืองอินูอิตกว่า 13,000 คน พูดวิธภาษาต่าง ๆ ของกลุ่มภาษาอินูอิต ภาษากลุ่มอินูอิตมีผู้พูดไม่กี่ร้อยคนในรัสเซีย นอกจากนี้ยังมีชาวอินูอิตกรีนแลนด์ประมาณ 7,000 คนอาศัยอยู่ในเดนมาร์ก ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดนอกกรีนแลนด์, แคนาดา และอะแลสกา ดังนั้น จำนวนผู้พูดวิธภาษาต่าง ๆ ในกลุ่มภาษาอินูอิตทั่วโลกจึงมีจำนวนเกือบ 100,000 คน

กลุ่มภาษาอินูอิต

กลุ่มเชื้อชาติ: อินูอิต
กลอตโตลอก: inui1246[1]
การจําแนกทางภาษาศาสตร์: เอสกิโม–อะลิวต์
  • เอสกิโม
    • กลุ่มภาษาอินูอิต
กลุ่มย่อย:
ภูมิภาค: อะแลสกา, ภาคเหนือของแคนาดา (นูนาวุตและภูมิภาคนิคมอินูวิอาลูอิต), นูนาวิก, นูนัตซิอาวุต, กรีนแลนด์

ใกล้เคียง

กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กลุ่มเซ็นทรัล กลุ่มภาษาจีน กลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ กลุ่ม 20 กลุ่มภาษาเซมิติก กลุ่มอาการมือแปลกปลอม กลุ่มเดอะมอลล์ กลุ่มอาการมาร์แฟน