การป้องกันและรักษา ของ กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้า

อาการหยุดยาสามารถป้องกันได้โดยทานยาตามหมอสั่ง เมื่อจะหยุด ให้ค่อย ๆ หยุดและเมื่อหยุดยาที่มีระยะครึ่งชีวิตสั้น ให้เปลี่ยนไปทานยาที่มีระยะครึ่งชีวิตนานกว่า (เช่น ฟลูอ๊อกซิติน หรือ citalopram) แล้วค่อย ๆ หยุดยานั้น ซึ่งอาจช่วยลดโอกาสการเกิดหรือมีอาการรุนแรง[2]การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และขึ้นอยู่ว่า ควรจะรักษาด้วยยาต่อหรือไม่ในกรณีที่ต้องรักษาต่อ ก็เพียงแค่เริ่มทานยาอีกซึ่งมักจะเป็นกรณีที่คนไข้ไม่ทำตามคำหมอถ้าไม่ต้องรักษาด้วยยาต่อ การรักษาจะขึ้นอยู่กับความหนักเบาของอาการอาการที่เบาอาจไม่ต้องทำอะไรเพียงแต่ให้กำลังใจอาการปานกลางอาจจะต้องบริหารถ้าอาการรุนแรง หรือว่าคนไข้ไม่ตอบสนองต่อวิธีบริหาร อาจจะเริ่มยาอีกแล้วหยุดโดยให้เวลาเพิ่มขึ้นในการค่อย ๆ ลด[5]ในกรณีที่รุนแรงจริง ๆ ที่มีน้อย อาจจะต้องเข้าโรงพยาบาล[1]

หญิงมีครรภ์และทารกเกิดใหม่

ยาแก้ซึมเศร้ารวมทั้งแบบ SSRIs สามารถดำเนินข้ามรกไปถึงทารกได้และมีโอกาสมีผลต่อเด็กในครรภ์และทารกเกิดใหม่ จึงเป็นปัญหาว่า หญิงมีครรภ์ควรจะทานยาแก้ซึมเศร้าหรือไม่ และถ้าทาน ควรจะค่อย ๆ หยุดยาในช่วงครรภ์แก่เพื่อให้ผลป้องต่อทารกที่จะเกิดหรือไม่[8]

กลุ่มอาการปรับตัวหลังคลอด (Postnatal adaptation syndrome) ซึ่งเดิมเรียกว่า “neonatal behavioral syndrome”, “poor neonatal adaptation syndrome”, หรือ "neonatal withdrawal syndrome" สังเกตเห็นเป็นครั้งแรกในปี 2516 ในทารกเกิดใหม่ที่มารดาทานยาแก้ซึมเศร้าอาการในทารกรวมทั้งหงุดหงิดง่าย หายใจเร็ว ตัวเย็นเกิน และปัญหาน้ำตาลในเลือดซึ่งปกติจะเกิดขึ้นตั้งแต่หลังคลอดจนกระทั่งเป็นวัน ๆ หลังคลอด และมักจะหายภายในไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์หลังคลอด[8]

ใกล้เคียง

กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กลุ่มเซ็นทรัล กลุ่มภาษาจีน กลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ กลุ่ม 20 กลุ่มภาษาเซมิติก กลุ่มอาการมือแปลกปลอม กลุ่มเดอะมอลล์ กลุ่มอาการมาร์แฟน

แหล่งที่มา

WikiPedia: กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้า http://tushnet.blogspot.com/2013/12/learned-interm... http://dockets.justia.com/docket/california/cacdce... http://www.law360.com/articles/411089/lilly-fights... http://www.nytimes.com/2007/05/06/magazine/06antid... http://article.psychiatrist.com/?ContentType=START... http://link.springer.com/article/10.1007%2FBF02850... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10863885 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11347722 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12008858 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15323590