วัฒนธรรมและประวัติ ของ กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้า

รายงานแรกเกี่ยวกับอาการหยุดยาเกิดกับยา imipramine ซึ่งเป็นยาแก้ซึมเศร้าแบบ tricyclic ชนิดแรก เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1950และประเภทของยาแก้ซึมเศร้าใหม่ ๆ ที่พัฒนาขึ้นก็มีรายงานคล้าย ๆ กัน รวมทั้ง monoamine oxidase inhibitor, SSRIs, และ SNRIsโดยปี 2544 มียาอย่างน้อย 21 ชนิดซึ่งรวมยาแก้ซึมเศร้าจากกลุ่มสำคัญทุกกลุ่ม ล้วนเป็นเหตุให้เกิดอาการ[5]แต่ว่าเป็นปัญหาที่มีการศึกษาน้อย และวรรณกรรมโดยมากเป็นรายงานผู้ป่วยหรืองานศึกษาทางคลินิกขนาดเล็ก ความชุกของอาการยากที่จะกำหนดและมักก่อความขัดแย้ง[5]พร้อมกับการระเบิดใช้และสนใจยาประเภท SSRIs ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 และต้นทศวรรษ 1990 โดยเฉพาะในยาโปรแซ็ก (ฟลูอ๊อกซิติน) ทั้งความสนใจในปัญหาและตัวปัญหาเองก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ[10]อาการบางอย่างปรากฏจากกลุ่มอภิปรายทางอินเทอร์เน็ต ที่คนไข้กล่าวถึงประสบการณ์ของตนเกี่ยวกับโรคและยาที่ใช้ การเหมือนถูกไฟช็อตในสมอง (ที่เรียกว่า "brain zaps" หรือ "brain shivers") เป็นอาการหนึ่งที่ปรากฏทางเว็บไซต์[11][12]

ความสนใจที่เพิ่มขึ้นจากสื่อและความเป็นห่วงของสาธารณชนทำให้มีการตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญในเรื่องความปลอดภัยของ SSRI ในประเทศอังกฤษ เพื่อประเมินงานวิจัยทั้งหมดที่มีก่อนปี 2547[13]:ivโดยคณะได้รายงานว่า ความชุกของกลุ่มอาการอยู่ระหว่าง 5-49% ขึ้นอยู่กับชนิดของยา SSRI ระยะเวลาที่ทานยา และการหยุดยาแบบกะทันหันหรือค่อย ๆ หยุด[13]:126-136

เพราะไม่มีเกณฑ์อาการที่มีมติร่วมกัน คณะผู้เชี่ยวชาญคณะหนึ่งประชุมกันในปี 2540 เพื่อร่างคำนิยาม[14]โดยมีกลุ่มอื่น ๆ ที่เกลาคำนิยามนั้นต่อมา[15][16]

ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 ผู้ตรวจสอบบางท่านคิดว่า เนื่องจากอาการเกิดหลังจากหยุดยา นี่หมายถึงว่ายาทำให้เกิดการติด และบางครั้งใช้คำว่า "อาการขาดยา (withdrawal syndrome)" เพื่อเรียกเนื่องจากว่าสารเสพติดบางอย่างก่อให้เกิดการติดทางสรีรภาพ และดังนั้นอาการขาดยาจึงทำให้เป็นทุกข์ต่อมาทฤษฎีเหล่านี้ตกไป เพราะว่าการติดก่อให้เกิดพฤติกรรมหายา และคนที่ทานยาแก้ซึมเศร้าไม่มีพฤติกรรมนี้ดังนั้น คำว่า withdrawal syndrome จึงไม่ได้ใช้ต่อไปสำหรับยาแก้ซึมเศร้า เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดจาการติดยา[1]

คดีฟ้องเป็นกลุ่มปี 2556

ในปี 2556 มีการฟ้องคดีแบบเป็นตัวแทนกลุ่ม (class action) ชื่อว่า "Jennifer L Saavedra v. Eli Lilly and Company"[17]ต่อบริษัท Eli Lilly and Company โดยอ้างว่าป้ายยา Cymbalta ขาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับอาการเหมือนถูกไฟช็อตในสมองและอาการอื่น ๆ เมื่อหยุดยา[18]ส่วนบริษัทร้องให้ศาลยกฟ้องเนื่องจาก "หลักคนกลางมีความรู้ (learned intermediary doctrine)" ที่แพทย์ผู้สั่งยาได้รับคำเตือนถึงปัญหาที่อาจมี และเป็นผู้สื่อความเห็นทางการแพทย์ต่อคนไข้ แต่ว่าในเดือนธันวาคม 2556 ศาลปฏิเสธคำร้องของบริษัท[19]

ใกล้เคียง

กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กลุ่มเซ็นทรัล กลุ่มภาษาจีน กลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ กลุ่ม 20 กลุ่มภาษาเซมิติก กลุ่มอาการมือแปลกปลอม กลุ่มเดอะมอลล์ กลุ่มอาการมาร์แฟน

แหล่งที่มา

WikiPedia: กลุ่มอาการหยุดยาแก้ซึมเศร้า http://tushnet.blogspot.com/2013/12/learned-interm... http://dockets.justia.com/docket/california/cacdce... http://www.law360.com/articles/411089/lilly-fights... http://www.nytimes.com/2007/05/06/magazine/06antid... http://article.psychiatrist.com/?ContentType=START... http://link.springer.com/article/10.1007%2FBF02850... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10863885 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11347722 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12008858 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15323590