การให้บริการ ของ การขนส่งระบบรางในประเทศอินโดนีเซีย

ขบวนรถด่วน อาร์โกโบรโมอังเกริก วิ่งระหว่างจาการ์ตา - ซูราบายา

บริษัท รถไฟอินโดนีเซีย จำกัด ให้บริการสายรถไฟอย่างครอบคลุมบนเกาะชวาและเกาะสุมาตรา (ยกเว้นในจังหวัดสุมาตราตะวันตกซึ่งมีเฉพาะรถไฟนำเที่ยวประจำสัปดาห์) ชนิดตู้โดยสารมีหลากหลายชนิด อาทิ รถนั่งพิเศษปรับอากาศ รถนั่งธุรกิจไม่ปรับอากาศ รถนั่งชั้นประหยัดไม่ปรับอากาศ เป็นต้น ต่อมารถโดยสารสองชนิดหลัง ได้ติดตั้งระบบปรับอากาศเสร็จเรียบร้อยภายใน ค.ศ. 2013

ส่วนขบวนรถนอนล้วนนั้นไม่มีมานานแล้ว โดยรถนอนล้วนขบวนสุดท้ายคือ ขบวนรถด่วน บีมา ซึ่งให้บริการในช่วง ค.ศ. 1967-1984 ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นขบวนรถนั่ง โดยมีรถนอนอยู่เพียง 1-2 คันต่อขบวนเท่านั้น จนกระทั่งใน ค.ศ. 1995 รถนอนจึงได้ถูกยกเลิก และได้ดัดแปลงมาเป็นรถนั่งทั้งหมด

รถนั่งพิเศษปรับอากาศในขบวนรถด่วน อาร์โกโบรโมอังเกร็ก

บนเกาะชวา ขบวนรถไฟส่วนใหญ่เชื่อมต่อระหว่างจาการ์ตากับเมืองห่างไกล โดยเฉพาะสายรถไฟจาการ์ตา-บันดุง มีความถี่ขบวนรถทุก ๆ ชั่วโมง ขบวนรถไฟส่วนใหญ่ (ยกเว้นรถไฟชานเมือง) จะมีชื่อเรียกเฉพาะ อาทิ ขบวนรถด่วน เดปก (รถด่วนวิ่งระหว่างจาการ์ตา-เดปก), ขบวนรถ โลกาวา (มาจากชื่อแม่น้ำแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองปูร์โวเกร์โต), ขบวนรถ อาร์โกลาวู (มาจากชื่อภูเขาไฟลาวู ซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองโซโล), ขบวนรถ บางุนการ์ตา (ย่อจากชื่อเมืองที่ขบวนรถไฟผ่าน ได้แก่เมือง จมบัง-มาดียุน-จาการ์ตา) และขบวนรถ มาตาร์มาจา (มาลัง-บลีตาร์-มาดียุน-จาการ์ตา)

รถนั่งธุรกิจในขบวนรถ กูมารัง

การบริการรถไฟโดยสาร ได้รับการฟื้นฟูในช่วง ค.ศ. 1995-1999 ซึ่งมีการเปิดเดินรถไฟด่วนอีกหลายขบวน ต่อมาอัตราค่าโดยสารเครื่องบินได้ลดลง ส่งผลให้การพัฒนารถไฟเกิดการชะลอตัว จำนวนผู้โดยสารรถไฟคงที่ ส่วนขบวนรถไฟถูกลดจำนวนลงครึ่งหนึ่ง

ตู้โดยสารสำหรับสุภาพสตรี

เนื่องจากมีการร้องเรียนถึงการล่วงละเมิดทางเพศในที่สาธารณะเป็นจำนวนมาก บริษัท รถไฟอินโดนีเซีย จำกัด จึงได้จัดตู้โดยสารสำหรับสุภาพสตรีในรถไฟชานเมืองบางขบวนของจาการ์ตา ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2010[1]ต่อมาในวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 ได้เปลี่ยนมาพ่วงตู้โดยสารสำหรับสุภาพสตรีในขบวนรถไฟทางไกล โดยจะพ่วงในคันแรกและคันสุดท้ายของแต่ละขบวน[2]

โครงข่ายรถไฟ

โครงข่ายรถไฟส่วนใหญ่อยู่บนเกาะชวา และสายรถไฟเชื่อมต่อระหว่างเมืองหลักสำคัญ เช่น รถไฟจากเมืองเมอรักซึ่งอยู่ทางตะวันตกสุดของเกาะ ไปยังเมืองบาญูวางี ซึ่งอยู่ทางตะวันออกสุดของเกาะ อย่างไรก็ตาม ยังมีสายรถไฟหลายสายที่ไม่ได้เชื่อมต่อบนเกาะสุมาตรา โดยสายรถไฟแต่ละส่วนจะอยู่ที่สุมาตราเหนือ สุมาตราตะวันตก และสุมาตราใต้ตามลำดับ สายรถไฟเหล่านี้สร้างในสมัยที่เป็นอาณานิคมเนเธอร์แลนด์ สำหรับในส่วนของสายรถไฟสุมาตราเหนือเคยปิดตัวไปครั้งหนึ่งเมื่อ ค.ศ. 1971 แต่ได้กลับมาเปิดใช้งานอีกครั้งใน ค.ศ. 2011[3]

โครงข่ายรถไฟ อาร์โก

  • หมายเหตุ ปัจจุบัน ขบวนรถ อาร์โกเกอเด ยกเลิกการให้บริการแล้ว และได้เปลี่ยนมาเป็นขบวนรถ อาร์โกปาราฮียางัน ซึ่งวิ่งในเส้นทางเดียวกันแทน

รถไฟบนเกาะสุมาตรา

ใน ค.ศ. 2013 มีทางรถไฟบนเกาะสุมาตรา 1,869 กิโลเมตร แต่มีระยะทางที่ใช้งานได้จริง 1,348 กิโลเมตร[4] และมีโครงการ ทางรถไฟสายทรานส์สุมาตรา ซึ่งเป็นการรวมสายรถไฟทั้งภูมิภาคให้เชื่อมต่อกัน สำหรับสายรถไฟบนเกาะสุมาตรา แบ่งออกเป็น 3 ภูมิภาค ได้แก่

  • ภูมิภาคที่ 1 (จังหวัดสุมาตราเหนือและจังหวัดอาเจะฮ์)
    • สายเมดัน – เตอบิงติงกี
    • สายอารัซกาบู – กูวาลานามู
    • สายเตอบิงติงกี – กีซารัน
    • สายกีซารัน – รันเตาปราปัต
    • สายกีซารัน – ตันจุงบาไล
    • สายเตอบิงติงกี – ซียันตาร์
    • สายเมดัน – เบอลาวัน
    • สายเมดัน – บินไจ
    • สายอาเจะฮ์ (กรูเว็งมาเน – กรูเว็งเกอกูเวะฮ์)
  • ภูมิภาคที่ 2 (จังหวัดสุมาตราตะวันตก)
    • สายเตอลุกบายูร์ – ซาวะฮ์ลุนโต (156.5 กิโลเมตร)
    • สายมูวารากาลาบัน – ปาดังซีบูซุก (6.2 กิโลเมตร)
    • สายบูกิตปูตุซ – อินดารุง (14.5 กิโลเมตร)
    • สายลูบูกอาลุง – ปารียามัน (21.5 กิโลเมตร)
    • สายปารียามัน – ซูไงลีเมา (15 กิโลเมตร)
    • สายปาดังปันจัง – ปายากุมบุฮ์ (52.1 กิโลเมตร)
    • สายปายากุมบุฮ์ – ลิมบานัง (20.2 กิโลเมตร)
    • สายปาดังซีบูซุก – มูวาโรซีจุนจุง (19.9 กิโลเมตร)
    • สายปาดัง – ปูเลาไอร์ (5.5 กิโลเมตร)
    • สายดูกู – ท่าอากาศยานนานาชาติมีนังกาเบา
  • ภูมิภาคที่ 3 (จังหวัดสุมาตราใต้และจังหวัดลัมปุง)
    • สายตาราฮัน – ปราบูมูลิฮ์
    • สายเกอร์ตาปาตี – ปราบูมูลิฮ์
    • สายซิมปัง – อินดราลายา
    • สายปราบูมูลิฮ์ – ลูบุกลิงเกา

ใกล้เคียง

การขนส่งในประเทศไทย การขนส่งระบบรางในประเทศไทย การขนส่งในประเทศเกาหลีใต้ การขนส่งในกัวลาลัมเปอร์ การขนส่งระบบรางในประเทศอินโดนีเซีย การขนส่งในประเทศอินโดนีเซีย การขนส่งในประเทศฮังการี การขนส่งสาธารณะในหุบเขากลัง การขนส่งระบบรางในประเทศญี่ปุ่น การขนส่งระบบรางในประเทศกัมพูชา

แหล่งที่มา

WikiPedia: การขนส่งระบบรางในประเทศอินโดนีเซีย http://ndpbeta.nla.gov.au/ndp/del/article/5385284 http://www.antaranews.com/berita/374831/dahlan-yan... http://infoka.kereta-api.com http://bisniskeuangan.kompas.com/read/2013/12/10/2... http://www.thejakartaglobe.com/columnists/the-slow... http://www.thejakartaglobe.com/home/indonesia-rail... http://www.thejakartapost.com/news/2011/01/22/rail... http://www.transportumum.com/jakarta/kereta-jabode... http://keretapi.tripod.com/preserved.html http://members.tripod.com/~keretapi/history.html