การขนส่งทางถนน ของ การขนส่งในประเทศอินโดนีเซีย

รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ ทรานส์จาการ์ตา

การขนส่งทางบก มียานพาหนะที่หลากหลายมาก รถโดยสารประจำทางส่วนใหญ่มีให้บริการบนเกาะสุมาตรา เกาะชวา เกาะบาหลี บางสายให้บริการแบบรถด่วน ไม่หยุดรับ-ส่งผู้โดยสารจนกว่าจะถึงสถานีปลายทาง ส่วนรถมินิบัส มีให้บริการระหว่างหมู่บ้านหรือเมืองเล็ก ๆ เท่านั้น

ในเมืองใหญ่ ๆ หลายแห่ง มีรถแท็กซี่วิ่งให้บริการ โดยเฉพาะในจาการ์ตาจะมีรถโดยสารประจำทางของโกปาจา และรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ ทรานส์จาการ์ตา ยานพาหนะอื่น ๆ อาทิเช่น รถตุ๊กตุ๊ก (บาจัจ) รถสามล้อ (เบอจะก์) ถูกห้ามในพื้นที่ส่วนใหญ่ของจาการ์ตา

ประเทศอินโดนีเซีย เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการจราจรติดขัดที่สุดในโลก โดยเฉพาะในจาการ์ตาซึ่งขึ้นชื่อเรื่องการจราจรติดขัดที่สุด เนื่องจากมีปริมาณรถยนต์ที่ใช้งานมากกว่าปริมาณถนนที่มีอยู่

ไฟล์:Nusa Dua Bridge, Bali.jpgสะพานทางพิเศษบาหลีมันดารา เป็นสะพานที่ยาวที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย

ทางหลวงสายหลักของประเทศ ได้แก่ ทางหลวงเอเชียสาย 2 และทางหลวงสายทรานส์-สุมาตรา

อินโดนีเซียมีถนนลาดยาง 213,649 กิโลเมตร ส่วนที่เหลืออีก 154,711 กิโลเมตร ไม่ได้ลาดยาง (สถิติปี ค.ศ 2002)

อินโดนีเซียมีทางหลวงอยู่หลายสาย ส่วนใหญ่จะเป็นทางหลวงแผ่นดินซึ่งมีอยู่ทั่วไปบนเกาะชวา เกาะสุมาตรา และบางส่วนเป็นทางพิเศษซึ่งทางพิเศษที่มีการเก็บค่าผ่านทางแพงที่สุด คือ ทางพิเศษจีปูลารัง ซึ่งเชื่อมระหว่างจาการ์ตาบันดุง

ส่วนระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ (ITS) ได้ถูกนำมาใช้งานครั้งแรกในปี ค.ศ. 2012[4]

ทางหลวงแผ่นดิน

เกาะบาหลี
เกาะชวา
เกาะสุมาตรา

ทางพิเศษ

รถแท็กซี่ในจาการ์ตาโครงข่ายทางหลวงบนเกาะชวาทางพิเศษจีปูลารัง เป็นส่วนหนึ่งของทางพิเศษสายทรานส์ชวา

นี่คือ รายชื่อทางพิเศษในประเทศอินโดนีเซีย (จาลันโตล) บางส่วน

เกาะชวา

เกาะสุมาตรา

โครงการ

  • ทางพิเศษเมดัน-ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลานามู-เตอบิงติงกี ปัจจุบันก่อสร้างได้ร้อยละ 80 แล้ว ส่วนอีกร้อยละ 20 ที่เหลือ ติดปัญหาการเวนคืนที่ดิน[5]
  • ทางพิเศษเมดัน-บินไจ[6]
  • ทางพิเศษเปอกันบารู-กันดิส-ดูรี-ดูไม[7]
  • ทางพิเศษปาเล็มบัง-อินดราลายา[8]
  • ทางพิเศษเตองีเนเน็ง-บาบาตัน[9]

เกาะซูลาเวซี

โครงการ :

  • ทางพิเศษมานาโด-บีตุง[10]

เกาะบาหลี

ทางพิเศษเซอรางัน-ตันจุงเบอโนอา

สร้างจากตันจุงเบอโนอาไปสิ้นสุดที่เซอรางัน มีระยะทาง 12.7 กิโลเมตร และมีทางวิ่งเฉพาะรถจักรยานยนต์ เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการวันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 2013 ก่อนการประชุมเอเปค[11]

ใกล้เคียง

การขนส่งในประเทศไทย การขนส่งระบบรางในประเทศไทย การขนส่งในประเทศเกาหลีใต้ การขนส่งในกัวลาลัมเปอร์ การขนส่งระบบรางในประเทศอินโดนีเซีย การขนส่งในประเทศอินโดนีเซีย การขนส่งในประเทศฮังการี การขนส่งสาธารณะในหุบเขากลัง การขนส่งระบบรางในประเทศญี่ปุ่น การขนส่งระบบรางในประเทศกัมพูชา

แหล่งที่มา

WikiPedia: การขนส่งในประเทศอินโดนีเซีย http://www.smh.com.au/news/world/safety-woeful-adm... http://www.antaranews.com/en/news/74080/ri-to-adop... http://www.baliupdate.com/update/update890.asp http://www.thejakartapost.com/news/2011/04/25/land... http://cip.cornell.edu/Dienst/UI/1.0/Summarize/sea... http://www.bpjt.net/index.php?id=54 http://kerrycollison.net/index.php?/archives/2805-... http://data.worldbank.org/indicator/IS.AIR.PSGR https://www.cia.gov/library/publications/the-world...