อาการ ของ การขาดโฟเลต

อาการอาจรวมความไม่อยากอาหารและน้ำหนักลดอาการอื่น ๆ รวมทั้งความอ่อนเพลีย ลิ้นเจ็บ ปวดหัว ใจสั่น หงุดหงิด และความผิดปกติทางพฤติกรรม[3]ในผู้หใญ่ ภาวะโลหิตจาง (แบบเม็ดเลือแดงใหญ่ เป็น megaloblastic anemia) อาจเป็นตัวชี้ว่ามีโรคมานานแล้วในทารกและเด็ก การขาดโฟเลตอาจทำให้โตช้าหญิงที่ขาดโฟเลตแล้วตั้งครรภ์มีโอกาสคลอดเด็กตัวเล็กก่อนกำหนดและมีทารกที่มีปัญหาหลอดประสาทไม่ปิด (neural tube defects) สูงกว่างานศึกษาเมื่อไม่นานนี้แสดงว่าอาจมีส่วนร่วมกับการเกิดเนื้องอก โดยเฉพาะในลำไส้ใหญ่ผ่านกระบวนการ demethylation/hypomethylation ของเนื้อเยื่อที่กำลังแบ่งตัวอย่างรวดเร็วแต่ว่าอาการบางอย่างสามารถเกิดจากโรคอื่นได้ดังนั้น การให้หมอตรวจอาการเพื่อรักษาให้ถูกต้องจึงเป็นเรื่องสำคัญ

ความซึมเศร้า

งานศึกษาหลายงานแสดงว่า สถานะของโฟเลตและวิตามินบี12 อาจมีบทบาทให้เกิดความซึมเศร้า[4]เพราะว่าทั้งสองมีส่วนในปฏิกิริยา transmethylation ซึ่งขาดไม่ได้ในการสร้างสารสื่อประสาทและสารอื่น ๆ (เช่น เซโรโทนิน, อีพิเนฟริน, nicotinamide, purines, และฟอสโฟลิพิด)[4][5]

ระดับโฟเลตหรือวิตามินบี12 ที่ต่ำสามารถระงับปฏิกิริยา transmethylation ทำให้สะสม homocysteine และขัดขวางกระบวนการเมแทบอลิซึมของสารสื่อประสาท (โดยเฉพาะกระบวนการ hydroxylation ของโดพามีนและเซโรโทนิน จาก tyrosine และ tryptophan) ฟอสโฟลิพิด ปลอกไมอีลิน และตัวรับในเซลล์ประสาทระดับ homocysteine ที่สูงเกินในเลือด (hyperhomocysteinemia) อาจทำให้เส้นเลือดเสียหายจากออกซิเดชันซึ่งมีผลต่อการทำงานผิดปกติในสมองและอาจนำไปสู่โรคต่าง ๆ รวมทั้งโรคซึมเศร้า[4][5]

มีงานศึกษาหลายงานที่พบระดับโฟเลตและวิตามินบี12 ที่ต่ำในคนไข้โรคซึมเศร้านอกจากนั้นแล้ว งานศึกษาบางงานยังแสดงว่า การมีระดับโฟเลตต่ำทำให้รักษาด้วยยาแก้ซึมเศร้าได้ไม่ดี และมีงานอื่นที่แสดงว่า การมีวิตามินบี12 สูงสัมพันธ์กับผลการรักษาที่ดีกว่าดังนั้น การได้วิตามินทั้งสองอย่างนี้เพียงพอไม่ใช่ช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าเท่านั้น แต่ยังช่วยบำบัดโรคเมื่อรักษาด้วยยาแก้ซึมเศร้าด้วย[4][5]

ใกล้เคียง

การขาดธาตุเหล็ก การขาดวิตามินบี12 การขาดโฟเลต การขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป การขายตรง การขายไตในประเทศอิหร่าน การขาดแอนโดรเจน การขาดเลือดเฉพาะที่ การขายส่ง การขาดแคลน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การขาดโฟเลต http://www.diseasesdatabase.com/ddb4894.htm http://www.emedicine.com/med/topic802.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=266.... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1296488 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3847759 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11380441 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15671130 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19388520 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24284617 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/7476802