การฆ่าตัวตายเลียนแบบ
การฆ่าตัวตายเลียนแบบ

การฆ่าตัวตายเลียนแบบ

การฆ่าตัวตายเลียนแบบ (copycat suicide) คือการที่คนคนหนึ่งฆ่าตัวตายหรือพยายามฆ่าตัวตาย เลียนแบบเหตุการณ์การฆ่าตัวตาย หรือภาพจำลองเหตุการณ์การฆ่าตัวตาย ของคนอื่นที่เป็นคนรู้จัก หรือคนในสื่อ เช่นข่าวโทรทัศน์ เป็นต้นปรากฎการณ์ที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมากของจำนวนการฆ่าตัวตาย ซึ่งเกิดตามหลังการฆ่าตัวตายที่เป็นข่าวในวงกว้าง มักถูกเรียกว่า ปรากฎการณ์แวเธ่อร์ (Werther effect) ซึ่งตั้งตามนิยายของเกอเธ่เรื่อง แวเธ่อร์ระทม[1]ในคนที่มีความเสี่ยงและไม่มีปัจจัยป้องกัน ข่าวสารเรื่องการฆ่าตัวตายอาจเป็นตัวกระตุ้นให้คนคนนั้นฆ่าตัวตายได้ อาจเรียกว่า การฆ่าตัวตายแพร่ระบาด (suicide contagion)[2] ซึ่งอาจพบ "แพร่ระบาด" ได้ในระดับโรงเรียน ชุมชน หรือหากเป็นบุคคลมีชื่อเสียง ก็อาจแพร่ระบาดในระดับประเทศ หรือนานาชาติได้ เรียกว่า การฆ่าตัวตายเป็นกลุ่มก้อน (suicide cluster)[2] ซึ่งเกิดจากการแพร่ไปของข่าวการฆ่าตัวตายหรือพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายออกไปในชุมชน กลุ่มก้อนแบบเป็นจุด (point cluster) คือกลุ่มของการฆ่าตัวตายที่เกิดขึ้นในสถานที่เดียวและเวลาเดียว สัมพันธ์กับการทราบข่าวโดยตรงในสังคมจากบุคคลใกล้ชิด[3] ส่วนกลุ่มก้อนแบบใหญ่ (mass cluster) คือกลุ่มก้อนของการฆ่าตัวตายที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกันแต่ต่างสถานที่ สัมพันธ์กับการออกสื่อของข่าวการฆ่าตัวตายของคนมีชื่อเสียง ผ่านสื่อมวลชน[4]เพื่อเป็นการป้องกันการฆ่าตัวตายประเภทนี้ บางประเทศจึงถือเป็นธรรมเนียมที่จะไม่นิยมรายงานข่าวการฆ่าตัวตาย ยกเว้นเฉพาะกรณีพิเศษบางกรณี

ใกล้เคียง

การฆ่าตัวตาย การฆ่าคน การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุชาวเขมร การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์มีเนีย การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา การฆ่าฮารัมเบ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเซอร์แคสเซีย การฆ่าทารกหญิงในประเทศจีน การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอุยกูร์ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์