การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเซอร์แคสเซีย
การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเซอร์แคสเซีย

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเซอร์แคสเซีย

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเซอร์แคสเซีย (อังกฤษ: Circassian genocide)[6][7] หรือ เซิตซาเกฺวิน (อูบึก: цӀыцӀэкӀун,[8][lower-alpha 1] ออกเสียง: [tsʼətsʼakʷʼən]) คือพฤติการณ์ของจักรวรรดิรัสเซียระหว่างและหลังสงครามรัสเซีย–เซอร์แคสเซีย (ค.ศ. 1763–1864) ที่ประกอบด้วยการสังหารหมู่ การล้างชาติพันธุ์ และการขับไล่ชาวเซอร์แคสเซียร้อยละ 80–97[9][10] (ประมาณ 800,000–1,500,000 คน)[9][11][12] อย่างเป็นระบบ ถึงแม้ชาวเซอร์แคสเซียจะตกเป็นเป้าหมายหลักของการกำจัด แต่มุสลิมกลุ่มอื่น ๆ ในภูมิภาคคอเคซัสก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน[13] มีรายงานว่ากองกำลังรัสเซียใช้วิธีการต่าง ๆ นานา เช่น การทำลายพืชผลแล้วปล่อยให้อดอยาก การเผาหมู่บ้านและชาวบ้านทั้งเป็น การแทงและแหวะท้องหญิงมีครรภ์[4][14] บรรดานายพลของรัสเซีย เช่น กรีโกรี ซัสส์ เหยียดหยามชาวเซอร์แคสเซียว่าเป็น "สิ่งโสโครกที่ต่ำกว่ามนุษย์" ยกย่องการสังหารหมู่พลเรือนเซอร์แคสเซีย[4][15][16] อ้างว่าจะนำอวัยวะของผู้เสียชีวิตไปทดลองวิทยาศาสตร์[17] และอนุญาตให้ทหารใต้บังคับบัญชาของตนข่มขืนหญิงชาวเซอร์แคสเซีย[4]ในช่วงสงครามรัสเซีย–เซอร์แคสเซีย จักรวรรดิรัสเซียใช้กลยุทธ์ล้างเผ่าพันธุ์ด้วยการสังหารหมู่พลเรือนเซอร์แคสเซีย ผู้ที่รอดพ้นไปได้คือชาวเซอร์แคสเซียส่วนน้อยที่ยอมรับการกลืนกลายเป็นรัสเซียและยอมออกไปตั้งถิ่นฐานใหม่ภายในจักรวรรดิรัสเซีย ในขณะที่ชาวเซอร์แคสเซียที่เหลือถูกตีแตกกระจัดกระจายหรือไม่ก็ถูกเข่นฆ่า[18] เลโอ ตอลสตอย รายงานว่าทหารรัสเซียจะจู่โจมบ้านเรือนในเวลากลางคืน[19] วิลเลียม พอลเกรฟ นักการทูตชาวอังกฤษผู้เห็นเหตุการณ์ เสริมว่า "ความผิดเพียงอย่างเดียวของพวกเขาคือการไม่ได้เป็นชาวรัสเซีย"[20] ใน ค.ศ. 1864 ชาวเซอร์แคสเซียร่วมลงนามใน "คำร้องทุกข์จากผู้นำเซอร์แคสเซียถึงสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย" เพื่อขอความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจากจักรวรรดิบริติช[21][22][23] อย่างไรก็ตาม ในปีเดียวกันนั้นจักรวรรดิรัสเซียได้เริ่มการเนรเทศชาวเซอร์แคสเซียที่รอดชีวิตก่อนสงครามสิ้นสุดใน ค.ศ. 1864 และเสร็จสิ้นเป็นส่วนใหญ่เมื่อถึง ค.ศ. 1867[24] ชาวเซอร์แคสเซียที่ถูกเนรเทศบางคนเสียชีวิตจากโรคระบาด ความอดอยาก และความอิดโรย โดยมีรายงานว่าศพบางศพถูกสุนัขกัดกิน[20] บางคนเสียชีวิตเมื่อเรือโดยสารอับปางกลางทะเลเนื่องจากพายุ[12] หรือเนื่องจากผู้ขนส่งบรรทุกผู้โดยสารเกินพิกัดเพราะหวังผลกำไรสูงสุด[25] ชาวเซอร์แคสเซียบางคนยังต้องขายปศุสัตว์ ขายทรัพย์สิน หรือแม้กระทั่งขายตนเองไปเป็นทาสเพื่อหาเงินจ่ายค่าเดินทางอีกด้วย[26][27]จากการคำนวณที่คำนึงถึงตัวเลขจากจดหมายเหตุของรัฐบาลรัสเซียด้วยนั้น ประมาณกันว่าประชากรเซอร์แคสเซียร้อยละ 80–97[28][29][30] ได้สูญไประหว่างกระบวนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้ ผู้พลัดถิ่นส่วนใหญ่ตั้งรกรากอยู่ที่จักรวรรดิออตโตมัน[4] แหล่งข้อมูลระบุว่าชาวเซอร์แคสเซียมากถึง 1 ถึง 1.5 ล้านคนจำต้องหลบหนีออกจากบ้านเกิด แต่มีเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่รอดไปขึ้นฝั่ง[1][2] จดหมายเหตุสมัยจักรวรรดิออตโตมันแสดงให้เห็นว่ามีผู้คนจากคอเคซัสเกือบ 1 ล้านคนอพยพเข้ามาในเขตจักรวรรดิเมื่อถึง ค.ศ. 1879 แต่เกือบครึ่งหนึ่งในจำนวนนี้เสียชีวิตที่ชายฝั่งเนื่องจากโรคภัยไข้เจ็บ[3] หากตัวเลขจากจดหมายเหตุออตโตมันนั้นถูกต้อง เหตุการณ์นี้ก็จะเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งใหญ่ที่สุดของคริสต์ศตวรรษที่ 19[31] และอันที่จริง สำมะโนประชากรรัสเซียใน ค.ศ. 1897 ก็สนับสนุนความน่าเชื่อถือของจดหมายเหตุออตโตมัน เนื่องจากสำมะโนดังกล่าวระบุว่าในเซอร์แคสเซีย (ซึ่งถูกพิชิตแล้ว) เหลือประชากรเซอร์แคสเซียเพียง 150,000 คน[32][33] ซึ่งคิดเป็นหนึ่งในสิบของจำนวนประชากรเซอร์แคสเซียดั้งเดิมณ ค.ศ. 2021 จอร์เจียเป็นเพียงประเทศเดียวที่รับรองว่าเกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเซอร์แคสเซียขึ้น[34] ส่วนรัสเซียปฏิเสธอย่างแข็งขันว่าไม่เคยมีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเซอร์แคสเซีย[35][36][37] และจำแนกเหตุการณ์ดังกล่าวว่าเป็นปรากฏการณ์ย้ายถิ่นของชาวเซอร์แคสเซีย (รัสเซีย: Черкесское мухаджирство) นักชาตินิยมรัสเซียบางส่วนในภูมิภาคคอเคซัสยังคงเฉลิมฉลองวันเริ่มการเนรเทศชาวเซอร์แคสเซีย กล่าวคือ วันที่ 21 พฤษภาคม (ตามปฏิทินเก่า) เป็น "วันพิชิตชัยอันศักดิ์สิทธิ์" ในขณะที่ชาวเซอร์แคสเซียถือเอาวันที่ 21 พฤษภาคมของทุกปีเป็นวันไว้อาลัยเซอร์แคสเซียเพื่อรำลึกถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์[38] ในวันดังกล่าว ชาวเซอร์แคสเซียทั่วโลกจะออกมาประท้วงต่อต้านรัฐบาลรัสเซีย โดยเฉพาะในเมืองที่มีประชากรเซอร์แคสเซียจำนวนมากอย่างคัยเซรีและอัมมาน รวมถึงเมืองใหญ่อื่น ๆ อย่างอิสตันบูลเป็นต้น[39][40]

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเซอร์แคสเซีย

ผู้เสียหาย
  • แหล่งข้อมูลทางวิชาการ: อย่างต่ำ 800,000[4]–1,500,000 คนถูกฆ่าหรือถูกขับไล่[5] (อย่างต่ำ 80–97% ของประชากรเซอร์แคสเซียทั้งหมด)
ประเภท การสังหารหมู่, การข่มขืนเชิงฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, การทรมาน, การเนรเทศ, การเดินแถวมรณะ
ตาย
  • นักประวัติศาสตร์: 500,000–750,000 คน[1][2]
  • จดหมายเหตุออตโตมัน: 500,000 คนเสียชีวิตที่ชายฝั่งออตโตมัน[3]
  • ตัวเลขจากรัฐบาลรัสเซีย: 400,000 คน
ผู้ก่อเหตุ จักรวรรดิรัสเซีย
สถานที่ เซอร์แคสเซียระหว่างการรุกรานของรัสเซีย
เหตุจูงใจ จักรวรรดินิยม, ความเกลียดกลัวอิสลาม, การทำให้เป็นรัสเซีย, การทำให้เป็นคริสต์ศาสนิกชน, สงครามรัสเซีย–เซอร์แคสเซีย
เป้าหมาย ชาวเซอร์แคสเซีย
วันที่ ค.ศ. 1800 – คริสต์ทศวรรษ 1870
(การสังหารหมู่อย่างเป็นระบบเริ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1800 ประชากรเซอร์แคสเซียที่รอดชีวิตถูกเนรเทศไปยังจักรวรรดิออตโตมันระหว่าง ค.ศ. 1864 ถึงคริสต์ทศวรรษ 1870)

ใกล้เคียง

การฆ่าตัวตาย การฆ่าคน การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุชาวเขมร การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์มีเนีย การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา การฆ่าฮารัมเบ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเซอร์แคสเซีย การฆ่าทารกหญิงในประเทศจีน การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอุยกูร์ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

แหล่งที่มา

WikiPedia: การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเซอร์แคสเซีย http://ccat.sas.upenn.edu/~haroldfs/540/handouts/u... http://justicefornorthcaucasus.info/?p=1251662239 http://doi.org/10.1080%2F23761199.2014.11417291 http://doi.org/10.14746%2Fssp.2012.4.03 http://www.jstor.org/stable/j.ctt8018p http://openlibrary.org/books/OL3428695M http://www.unpo.org/article.php?id=1639 http://www.worldcat.org/issn/1731-7517 http://www.worldcat.org/oclc/123470225 http://www.elot.ru/main/index.php?option=com_conte...