การใช้ทางการแพทย์ ของ การตัดหลอดนำอสุจิ

การตัดหลอดนำอสุจิถูกใช้เพื่อหยุดการเจริญพันธุ์ในผู้ชาย โดยทำให้แน่ใจว่าผู้เข้ารับการผ่าตัดจะเป็นหมัน วิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีถาวรด้วยความที่การย้อนการทำหมันมีค่าใช้จ่ายสูงและมักไม่สามารถย้อนปริมาณและคุณภาพของการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิกลับมาได้เท่าระดับก่อนการผ่าตัด ผู้ชายที่ผ่านการทำหมันแทบไม่มีโอกาส (เกือบศูนย์) ทำผู้หญิงตั้งท้องได้เลย ทว่าการทำหมันไม่มีผลกระทบต่ออัตราการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

หลังการตัดหลอดนำอสุจิลูกอัณฑะยังคงอยู่ในถุงอัณฑะ และเซลล์เลย์ดิก (Leydig cell) ยังคงผลิตเทสโทสเตอโรนและฮอร์โมนเพศชายอื่น ๆ เข้ายังกระแสเลือด บางงานวิจัยพบว่าความต้องการทางเพศอาจลดลงเล็กน้อยหลังตัดหลอดนำอสุจิ[4][5]

หลังการตัดหลอดนำอสุจิ ตัวอสุจิไม่สามารถออกจากร่างกายผ่านองคชาต แม้อัณฑะยังคงผลิตอสุจิ ไม่นาตัวอสุจิก็จะถูกย่อยและดูดซึมเข้าร่างกาย ของเหลวส่วนใหญ่ถูกดูดซึมผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ในเอพิดิไดมิส และของแข็งส่วนใหญ่ถูกย่อยสลายโดยมาโครเฟจและได้รับการดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือกอีกครั้ง ตัวอสุจิเติบโตในเอพิดิไดมิสเป็นเวลาประมาณหนึ่งเดือนก่อนออกจากอัณฑะ หลังการตัดหลอดนำอสุจิ เยื่อหุ้มเซลล์ต้องขยายขนาดเพื่อดูดซึมของเหลวในประมาณมากขึ้น สิ่งนี้ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเพิ่มจำนวนมาโครเฟจจำเพื่อมาดูดซับส่วนที่เป็นของแข็ง ภายในหนึ่งปีหลังการตัดหลอดนำอสุจิ 65–70% ของผู้เข้าผ่าตัดมีสารภูมิต้านทานต้านทานอสุจิ (antisperm antibodies)[6] ในบางกรณี อาจเกิด vasitis nodosa บนเนื้อเยื่อบุผิวท่อ[7][8] การสะสมของอสุจิเพิ่มแรงดันภายในหลอดนำอสุจิและเอพิดิไดมิส  หากตัวอสุจิเข้าไปยังถุงอัณฑะ ร่างกายอาจผลิต แกรนูโลมาของอสุจิ (sperm granulomas) เพื่อซึมซับอสุจิที่ร่างกายมองว่าเป็นวัตถุแปลกปลอม (คล้ายไวรัสหรือแบคทีเรีย)[9]

ประสิทธิผล

การตัดหลอดนำอสุจิเป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบถาวรที่มีประสิทธิผลสูงสุดสำหรับผู้ชาย โดยดีกว่าการผูกท่อนำไข่ (การผ่าตัดทำหมันหญิง) ในแทบทุกทาง การผูกท่อนำไข่มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่า, ลุกล้ำน้อยกว่า, ย้อนกลับง่ายกว่า และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดน้อยกว่า อัตราการล้มเหลวระยะแรก อีกนัยหนึ่งคือการตั้งครรภ์ภายในไม่กี่เดือนหลังการทำหมัน มักเกิดจากการร่วมเพศโดยไม่ป้องกันเร็วเกินไปหลังผ่าตัด ทำให้อสุจิบางส่วนยังคงเคลือนตัวผ่านท่อนำอสุจิเข้าไปปฏิสนธิ แพทย์หรือศัลยแพทย์มักแนะนำให้ตรวจสอบอสุจิหนึ่ง (บางทีสอง) ครั้งเพื่อยืนยันความสำเร็จของการผ่าตัด อย่างไรก็ตามผู้ชายหลายคนไม่กลับไปยืนยัน โดยให้เหตุผลว่าไม่สะดวก, อาย, ลืม หรือแน่ใจอยู่แล้วว่าเป็นหมัน[10] ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2541 องค์การอาหารและยารับรองชุดตรวจทางบ้านที่มีชื่อว่า SpermCheck Vasectomy ที่ทำให้ผู้รับการผ่าตัดสามารถตรวจสอบยืนยันด้วยตนเอง[11] อย่างไรก็ตามอัตราการให้ความร่วมมือในการวิเคราะห์น้ำอสุจิหลังการผ่าตัดก็ยังคงต่ำ 

เหตุการณ์การล้มเหลวระยะหลังหรือการตั้งครรภ์หลังท่อนำอสุจิกลับมาต่อกันเองอีกครั้งก็ได้รับการบันทึกไว้เช่นกัน[12] Royal College of Obstetricians and Gynaecologists กล่าวว่าอัตราการล้มเหลวของการตัดท่อนำอสุจิอยู่ที่ 1 ในการผ่าตัด 2000 ครั้ง ซึ่งดีกว่าการผูกท่อนำไข่ซึ่งมีอัตราการล้มเหลวอยู่ที่ 1 ใน 200 ถึง 300 ครั้ง[13] รายงานจาก พ.ศ. 2548 รวมอัตราการล้มเหลวทั้งในระยะแรกและระยะหลังจำนวนทั้งหมด 183 ครั้งที่ท่อนำอสุจิกลับมาต่อกันเอง จากการตัดท่อนำอสุจิทั้งหมด 43,642 ครั้ง (0.4%) และเกิดการตั้งครรภ์ 60 ครั้งหลังการตัดท่อนำอสุจิ 92,184 ครั้ง (0.07%)[14]

ใกล้เคียง

การตั้งชื่อทวินาม การตั้งครรภ์ การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน การตั้งชื่อระบบไบเออร์ การตัดหลอดนำอสุจิ การตั้งชื่อดาวฤกษ์ การตัดมดลูก การตั้งครรภ์นอกมดลูก การตัดศีรษะ การตักบาตร

แหล่งที่มา

WikiPedia: การตัดหลอดนำอสุจิ http://www.vasectomyreversalaustralia.com.au/Vasec... http://www.jpgmonline.com/article.asp?issn=0022-38... http://www.webmd.com/sex/birth-control/vasectomy-1... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1141468 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1441962 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2657845 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12721203 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15947571 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18930494 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/26545447