ประวัติ ของ การถดถอยสู่ค่าเฉลี่ย

ภาพงานศึกษาปี 1886 ของเซอร์ฟราซิส กอลตัน ที่แสดงสหสัมพันธ์ระหว่างความสูงของผู้ใหญ่กับของพ่อแม่[9]ข้อสังเกตว่าความสูงของลูกมักจะต่างกับความสูงเฉลี่ยของประชากรน้อยกว่าความสูงของพ่อแม่ เป็นข้อแสดงปรากฏการณ์นี้คือ "การถดถอยสู่ค่าเฉลี่ย" ซึ่งให้ชื่อแก่วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การวิเคราะห์การถดถอย (regression analysis)

แนวคิดเรื่องการถดถอยมาจากสาขาพันธุศาสตร์ เซอร์ฟราซิส กอลตัน ได้เริ่มใช้คำว่า regression ในงานศึกษาปี 1885 ชื่อว่า "Regression Toward Mediocrity in Hereditary Stature" (การกลับคืนสู่ค่าเฉลี่ยของความสูงทางกรรมพันธุ์)[9]เขาได้แสดงว่าความสูงของลูกที่เกิดจากพ่อแม่ซึ่งสูงมากหรือเตี้ยมาก มักจะอยู่ใกล้ค่าเฉลี่ยของประชากรยิ่งกว่า จริงๆ แล้ว ในสถานการณ์ที่ค่าตัวแปรสองตัวไม่มีสหสัมพันธ์ที่สมบูรณ์ ค่าพิเศษที่พบในตัวแปรหนึ่งก็อาจจะไม่พบในอีกตัวแปรหนึ่ง สหสัมพันธ์ที่ไม่สมบูรณ์ระหว่างพ่อแม่กับลูก (เพราะความสูงไม่ได้ขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์เพียงอย่างเดียว) จึงหมายความว่า การแจกแจงความสูงของลูกๆ จะมีศูนย์กลางอยู่ที่ระหว่างความสูงเฉลี่ยของพ่อแม่ กับความสูงเฉลี่ยของประชากรทั้งหมด ดังนั้น แม้ความสูงของลูกคนเดียวยังอาจจะพิเศษยิ่งกว่าพ่อแม่ แต่ก็มีโอกาสน้อย

ใกล้เคียง

การถดถอยสู่ค่าเฉลี่ย การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม การถ่ายโอนสัญญาณ การดักจับและการจัดเก็บคาร์บอน การเดินทางข้ามเวลา การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของทักษิณ ชินวัตร การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ การทดลองแบบอำพราง การดูแลและหาเพื่อน การถ่ายภาพจอประสาทตา

แหล่งที่มา

WikiPedia: การถดถอยสู่ค่าเฉลี่ย https://dict.longdo.com/search/authentication https://journals.sagepub.com/doi/abs/10.1177/09622... https://doi.org/10.1191%2F096228097676361431 https://doi.org/10.3389%2Ffpubh.2013.00029 https://doi.org/10.2307%2F2841583 https://doi.org/10.1080%2F01621459.1934.10502711 https://doi.org/10.1901%2Fjeab.2012.97-182 https://doi.org/10.1111%2Fj.1740-9713.2006.00179.x https://doi.org/10.1016%2Fj.aap.2009.04.020 https://doi.org/10.1136%2Fbmj.308.6942.1499