การถดถอยสู่ค่าเฉลี่ย

ในสถิติศาสตร์ การถดถอยสู่ค่าเฉลี่ย[1] (อังกฤษ: regression toward the mean, reversion to the mean, reversion to mediocrity)เป็นปรากฏการณ์ที่ถ้าตัวอย่างหนึ่งของตัวแปรสุ่มมีค่าสุดขีด ตัวอย่างต่อไปของตัวแปรสุ่มเดียวกันก็จะมีโอกาสมีค่าใกล้กับค่าเฉลี่ยของตัวแปรยิ่งกว่าเดิม[2][3][4]อีกความหมายหนึ่งก็คือ ถ้าชักตัวอย่างตัวแปรสุ่มจำนวนมาก แล้วเลือกเอาตัวแปรที่ชักได้ค่าขีดสุดส่วนหนึ่ง การถดถอยสู่ค่าเฉลี่ยหมายถึงเมื่อชักตัวอย่างตัวแปรที่เลือกออกมาเป็นครั้งที่สอง ค่าตัวอย่างที่ได้โดยมากจะถดถอยจากค่าสุดขีดเดิม เข้าไปใกล้ค่าเฉลี่ยเดิมของตัวแปรทั้งหมดตามหลักคณิตศาสตร์แล้ว กำลังของปรากฏการณ์จะขึ้นอยู่กับว่า ตัวแปรสุ่มทั้งหมดมีการแจกแจงความน่าจะเป็นเหมือนกันหรือไม่ ถ้ามี ปรากฏการณ์นี้ก็มีโอกาสเกิดทางสถิติ ถ้าไม่มี ก็อาจจะเกิดอย่างอ่อนกำลังกว่าหรือไม่เกิดเลยการถดถอยสู่ค่าเฉลี่ยมีประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์เมื่อพิจารณาออกแบบการทดลอง การวิเคราะห์ข้อมูล หรือการทดสอบ ที่ตั้งใจเลือกข้อมูลที่มีค่าขีดสุด ซึ่งก็คือ ควรจะเช็คข้อมูลต่อไปด้วยเพื่อเลี่ยงการสรุปข้อมูลผิดๆคืออาจจะเป็นข้อมูลที่มีค่าขีดสุดจริงๆ หรืออาจเป็นค่ากวนทางสถิติ หรืออาจจะมีทั้งสองอย่าง[5]

ใกล้เคียง

การถดถอยสู่ค่าเฉลี่ย การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม การถ่ายโอนสัญญาณ การเดินทางข้ามเวลา การดักจับและการจัดเก็บคาร์บอน การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของทักษิณ ชินวัตร การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ การทดลองแบบอำพราง การดูแลและหาเพื่อน การถ่ายภาพจอประสาทตา

แหล่งที่มา

WikiPedia: การถดถอยสู่ค่าเฉลี่ย https://dict.longdo.com/search/authentication https://journals.sagepub.com/doi/abs/10.1177/09622... https://doi.org/10.1191%2F096228097676361431 https://doi.org/10.3389%2Ffpubh.2013.00029 https://doi.org/10.2307%2F2841583 https://doi.org/10.1080%2F01621459.1934.10502711 https://doi.org/10.1901%2Fjeab.2012.97-182 https://doi.org/10.1111%2Fj.1740-9713.2006.00179.x https://doi.org/10.1016%2Fj.aap.2009.04.020 https://doi.org/10.1136%2Fbmj.308.6942.1499