เพลิงแห่งการปฏิวัติ ของ การปฏิวัติซินไฮ่

การก่อการปฏิวัติของมณฑลต่างๆของจีนเพิ่อต่อสู้โค่นล้มราชสำนักชิงในช่วงปฏิวัติปี ค.ศ. 1911
  เข้าร่วมการปฏิวัติ 12 ตุลาคม
13-19 ตุลาคม (ไม่มี)
  เข้าร่วมการปฏิวัติ 20-26 ตุลาคม
  เข้าร่วมการปฏิวัติ 27 ตุลาคม-2 พฤศจิกายน
  เข้าร่วมการปฏิวัติ 3-9 พฤศจิกายน
  เข้าร่วมการปฏิวัติ 10-16 พฤศจิกายน
  เข้าร่วมการปฏิวัติ 17-23 พฤศจิกายน
  มณฑลที่ยังจงรักภักดีต่อราชวงศ์ชิง
  ไม่เข้าร่วมการปฏิวัติ

ภายใต้สถานการณ์ที่ทั่วประเทศเกิดกระแสทวงคืนเส้นทางรถไฟไม่หยุดหย่อนนั้น ได้เกิดกลุ่มปฏิวัติ 2 กลุ่ม คือ เหวินเซียะเซอ (文學社) และก้งจิ้นฮุ่ย (共進會) เตรียมก่อการครั้งใหญ่ที่เมืองอู่ฮั่นในมณฑลหูเป่ย ผู้นำทั้งสองกลุ่มล้วนเป็นสมาชิกสมาคมถงเหมิงฮุ่ยทั้งสิ้นและแฝงตัวอยู่ในกองทัพซินจวินแห่งหูเป่ย ทหารจำนวน 1 ใน 3 และนายทหารระดับล่างล้วนแล้วแต่เป็นคนของทั้งสองกลุ่มนี้รวม ๆ แล้วมีจำนวนคนกว่า 5,000 - 6,000 คน

กองทัพฝ่ายปฏิวัติเข้าเมืองอู่ฮั่นกองทัพฝ่ายปฏิวัติสู้รบกับกองทัพราชวงศ์ชิงที่เมืองฮั่นโข่ว

ต่อมาพวกเขาได้ตัดสินใจปฏิบัติการณ์ร่วมกันโดยมี เจี่ยงอี้อู่ (蔣翊武) แห่งกลุ่มเหวินเซียะเซอเป็นผู้บัญชาการ ซุนอู่ (孫武) แห่งกลุ่มก้งจิ้นฮุ่ยเป็นเสนาธิการ กำหนดเปิดฉากการปฏิวัติขึ้นในวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ.1911 แต่เวลาต่อมาได้ยืดเวลาออกไปเนื่องจากเตรียมตัวไม่พร้อม

การรบที่เมืองฮั่นโข่วกองทัพฝ่ายราชวงศ์ชิงขณะทำการสังเกตการณ์กองทัพราชวงศ์ชิงออกจากประตูเมืองเข้าสู้กับฝ่ายปฏิวัติ

วันที่ 9 ตุลาคม ขณะที่ซุนอู่ผลิตระเบิดอยู่ที่กลุ่มก้งจิ้นฮุ่ยที่ตั้งอยู่ที่เมืองฮั่นโข่วเขตเช่าของรัสเซีย ได้เกิดอุบัติเหตุระเบิดขึ้น ซุนอู่ได้รับบาดเจ็บและหลบหนีไป ทางการเข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุพบเอกสาร ตราทางราชการและธงของขบวนการปฏิวัติถงเหมิงฮุ่ย

รุ่ยเฉิง (瑞澂) ข้าหลวงใหญ่ในราชสำนักชิงประจำมณฑลหูเป่ยและหูหนาน รู้สึกถึงสถานการณ์รุนแรง จึงประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วเมืองทันทีและมีการกวาดจับผู้ต้องสงสัย รวมถึงผู้มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องกับคณะปฏิวัติ

เจี่ยงอี้อู่และหลิวฟู่จี ผู้บัญชาการสูงสุดรู้ว่าที่ฮั่นโข่วเกิดเรื่อง แผนการปฏิวัติอาจถูกเปิดโปง ในสภาวการณ์อันล่อแหลมพวกเขาจึงตัดสินใจอย่างเฉียบขาดว่าจะเริ่มปฏิบัติการก่อนกำหนด จึงยิงปืนใหญ่ขึ้นที่ประตูจงเหอเพื่อเป็นสัญญาณ และส่งประกาศคณะปฏิวัติอย่างลับ ๆ ตามค่ายทหารต่าง ๆ ของกองทัพซินจวิน

ในคืนนั้นกองบัญชาการของกลุ่มปฏิวัติถูกปิดล้อม หลิวฟู่จีและเผิงฉู่ฟานถูกจับกุม เจี่ยงอี้อู่หนีไปได้ เช้ารุ่งขึ้นของวันที่ 10 ตุลาคม หลิวฟู่จี เผิงฉู่ฟาน และอีกหลายคนถูกยิงเป้า กลุ่มปฏิวัติขาดผู้บัญชาการพวกเขาจึงเชื่อมสัมพันธ์กันเองและชูธงปฏิวัติอย่างเด็ดเดี่ยว

สงปิ่งคุน (熊秉坤) คนของกลุ่มปฏิวัติที่แฝงตัวในฐานที่มั่นที่ 8 ค่าย 8 ของกองทัพซินจวินที่เมืองอู่ชาง จึงฉวยโอกาสดำเนินการอย่างฉับพลัน และเรียกแกนนำขบวนการปฏิวัติมาประชุมหารือ กำหนดก่อการปฏิวัติในเวลา 1 ทุ่มตรงของคืนวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ.1911

สงปิ่งคุนนำกองทัพปฏิวัติสังหารนายทหารที่ทำการต่อต้าน 9 นาย และนำทหาร 40 นายเข้ายึดครองคลังเก็บอาวุธที่ฉู่ว่างไถ หลังจากยึดคลังอาวุธได้จึงส่งจดหมายไปยังกลุ่มปฏิวัติกลุ่มอื่น ๆ ให้มาชุมนุมกันที่ฉู่ว่างไถ ส่วนสงปิ่งคุนและอู๋จ้าวหลินนำกองทัพบุกโจมตีจงตูสู่ (หน่วยงานของผู้สำเร็จราชการเมือง) ของมณฑลหูเป่ยและหูหนาน

รุ่ยเฉิงอาศัยทหาร 3,000 นายที่อยู่เฝ้ารักษาการณ์จงตูสู่ อิงชัยภูมิที่ได้เปรียบทำการต่อต้านอย่างเหนียวแน่น กองทัพปฏิวัติแบ่งกำลังทหารออกเป็น 3 สาย ออกโจมตีอย่างดุเดือด 3 ด้าน กองทหารปืนใหญ่เดินทางมาสนับสนุน จงตูสู่ได้รับความเสียหายอย่างหนัก รุ่ยเฉิงสั่งให้คนเจาะกำแพงที่อยู่ล้อมรอบออก แล้วขึ้นเรือรบหนีไปยังฮั่นโข่ว

หลังจากการต่อสู้อันดุเดือดเป็นเวลาหนึ่งคืน กองทัพปฏิวัติก็เข้าควบคุมเมืองอู่ชาง จากค่ำคืนของวันที่ 11 จนถึงเช้าตรู่วันที่ 12 กองทัพซินจวินในเมืองฮั่นโข่ว และฮั่นหยางได้ทยอยกันลุกฮือขึ้นก่อการปฏิวัติ 3 อำเภอในอู่ฮั่นถูกกองทัพปฏิวัติครอบครองทั้งหมด การปฏิวัติที่อู่ชางได้รับชัยชนะ

หลังเกิดการปฏิวัติที่อู่ชาง มณฑลต่าง ๆ ทั่วประเทศจีนจำนวนมากต่างทยอยกันประกาศตนเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อราชสำนักชิง การปกครองอันเสื่อมทรามของราชวงศ์ชิงจึงใกล้ถึงการอวสานเต็มที

ใกล้เคียง