ประวัติการสร้างศิลปะ ของ การประสูติของพระเยซู_(ศิลปะ)

ศาสนาคริสต์ยุคแรก

โหราจารย์มอบของขวัญให้พระเยซูบนโลงหินจากคริสต์ศตวรรษที่ 4 ที่ โรมรูปสลักรูปแรก ๆ ที่สุด ของ “การประสูติของพระเยซู” จากคริสต์ศตวรรษที่ 4 บนโลงหินที่มิลาน

ช่วงสองสามคริสต์ศตวรรษแรกของศาสนาคริสต์ถือว่าวันสมโภชพระคริสต์แสดงองค์ที่โหราจารย์นำของขวัญมามอบให้พระเยซูสำคัญกว่าการฉลองวันประสูติหรือคริสต์มาส หลักฐานแรกของการฉลองวันคริสต์มาสปรากฏในหนังสือ “ปฏิทินแห่ง ค.ศ. 354” (Chronography of 354) และหลักฐานแรกของศิลปะมาจากรูปแกะสลักบนโลงหินจากโรมและทางใต้ของบริเวณกอลในสมัยเดียวกัน[9] แต่หลักฐานนี้เป็นหลักฐานหลังฉาก “การนมัสการของโหราจารย์” ที่พบในสุสานรังผึ้ง (catacomb) ที่โรมซึ่งเป็นสถานที่ที่ชนคริสเตียนยุคแรกใช้เป็นที่เก็บศพ และมักจะตกแต่งผนังทางเดินและเพดานโค้งด้วยภาพเขียน ภาพเหล่านี้บางภาพวาดก่อนที่จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 จะประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่ถูกต้องตามกฎหมายของจักรวรรดิโรมันเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 4 โดยทั่วไปโหราจารย์จะยืนเรียงลำดับถือของขวัญยื่นไปข้างหน้าทางที่พระแม่มารีย์มีพระเยซูอยู่บนตักนั่งอยู่ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่คล้ายกับภาพที่วาดกันมากว่าสองพันปีตั้งแต่สมัย อียิปต์โบราณ และสมัยโรมันเองที่เป็นภาพบรรยายชัยชนะต่อ “คนไม่มีวัฒนธรรม” โดยที่ผู้แพ้จะถือของกำนัลมาถวายจักรพรรดิหรือกษัตริย์ผู้ชนะ[10]

การแสดงรูปเคารพ “การประสูติของพระเยซู” ในสมัยแรก ๆ เป็นรูปง่าย ๆ แสดงให้เห็นพระทารก ห่อแน่นนอนอยู่ในรางหญ้าหรือตะกร้าหวาย และจะมีวัวและลาจะปรากฏเสมอถึงบางครั้งจะไม่มีมารีย์หรือมนุษย์คนอื่น ๆ ในองค์ประกอบ สัตว์ทั้งสองอย่างมิได้กล่าวถึงในพระวรสารแต่ถือกันว่าปรากฏในพันธสัญญาเดิม เช่นใน หนังสืออิสยาห์ 1:3 ที่กล่าวว่าทั้งวัวและลารู้จักที่นอนของนาย และ หนังสือฮาบากุก 3:2 ที่กล่าวว่า ท่านจะเป็นที่รู้จักในท่ามกลางสัตว์สองตัว และการมีสัตว์สองชนิดนี้ก็ไม่เคยเป็นปัญหากับนักคริสต์ศาสนวิทยา[11] นักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป นักบุญแอมโบรสแห่งมิลาน และคนอื่น ๆ ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของชาวยิวซึ่งถูกกดขี่โดยกฎหมาย (วัว) และคนนอกศาสนาผู้นับถือรูปต้องห้าม (ลา) พระเยซูมาเกิดเพื่อปลดปล่อยชนทั้งสองกลุ่มจากสิ่งที่กล่าว มารีย์จะปรากฏเฉพาะในฉาก “การนมัสการของโหราจารย์” และในฉากเดียวกันก็จะมีเด็กเลี้ยงคนหนึ่งหรือศาสดาคนหนึ่งถือม้วนหนัง ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 5 หลังการสังคายนาเอเฟซัสครั้งที่หนึ่ง เมื่อ ค.ศ. 431 มารีย์ก็กลายเป็นองค์ประกอบถาวรบางครั้งก็มีโยเซฟ ถ้ามีสิ่งก่อสร้างในองค์ประกอบก็จะเป็น “tugurium” คือเพิงมุงกระเบื้องค้ำด้วยเสา [12]

สมัยไบแซนไทน์

จิตรกรรมฝาผนังสมัยใหม่ของออร์โธด็อกซ์ที่อิสราเอลซึ่งองค์ประกอบยังเป็นองค์ประกอบเดิมที่ใช้กันมาเป็นร่วมพันปี

การแสดงรูปแบบใหม่ที่ต่างจากเดิมเริ่มราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 ในปาเลสไตน์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ใช้ในนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาถึงปัจจุบัน ฉากจะเป็น ถ้ำหรือเป็นถ้ำที่เฉพาะเจาะจงคือถ้ำที่พระเยซูประสูติที่เบธเลเฮ็มซึ่งเป็นที่ยอมรับในนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ว่าเป็นที่ประสูติของพระเยซู เหนือฉากก็จะเป็นภูเขาสูงขึ้นไป[13] มารีย์นอนพักฟื้นอยู่บนเบาะหรือเก้าอี้ใกล้ ๆ พระเยซูผู้ตั้งอยู่สูงกว่า [14] ขณะที่โยเซฟเอามือท้าวคาง[15] นอกจากนั้นโยเซฟก็อาจจะปรากฏในฉากที่หมอตำแยและผู้ที่มาช่วยสรงน้ำให้พระเยซู ฉะนั้นพระเยซูก็จะปรากฏสองครั้งในฉากเดียว หมอตำแยมาจากเอกสารหลายฉบับ ๆ หลักคือซาโลเม ซึ่งกล่าวถึงปาฏิหาริย์ เอกสารหลายฉบับกล่าวถึงแสงสว่างส่องลงมา ซึ่งบางทีก็ตีความหมายว่าเป็นดาวของโหราจารย์ ซึ่งใช้สัญลักษณ์เป็นจานกลมอยู่เหนือฉากและมีรัศมีส่องออกมา แต่ทั้งจานกลมและรัศมีจะเป็นสีหนัก[16]

ในองค์ประกอบ โหราจารย์อาจจะเป็นคนขี่ม้ามาจากทางด้านบนซ้ายสวมหมวกลักษณะแปลก ทางด้านขวาจะเป็นคนเลี้ยงแกะ ถ้าเป็นห้องก็จะมีทูตสวรรค์อยู่รอบ ๆ และเหนือถ้ำ องค์หนึ่งจะมีหน้าที่ประกาศการเกิดของพระเยซูต่อคนเลี้ยงแกะ นอกจากนั้นก็จะมีชายสูงอายุที่มักจะใส่เสื้อหนังที่บางครั้งก็ทักทายโยเซฟ อีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ต่อมาตีความหมายว่าเป็นอิสยาห์ผู้เผยพระวจนะ[17]

ไบแซนไทน์และออร์ทอดอกซ์

ไบแซนไทน์สมัยหลังในยุโรปตะวันตก

ศิลปะตะวันตก

“การประสูติของพระเยซู” จากฉากแท่นบูชาบลาเดอลิน (Bladelin-Altar) โดย โรเจียร์ ฟาน เดอ เวย์เด็น (Rogier van der Weyden) ราวหลัง ค.ศ. 1446 การวางองค์ประกอบของภาพเขียนสร้างตามคำบรรยายของนักบุญบริจิต ภายใต้ทรากสิ่งก่อสร้างแทนที่จะเป็นเพิงอย่างที่ทำกันมาในสมัยก่อนหน้านั้น นอกจากนั้นภายในภาพยังมีภาพเหมือนของพร้อมกับผู้อุทิศทรัพย์ให้วาดด้วย ปัจจุบันอยู่ที่กรุงเบอร์ลินGeertgen tot Sint Jans ราวปี ค.ศ. 1490 จากการจัดองค์ประกอบโดยฮูโก ฟาน เดอ โก (Hugo van der Goes) ราวปี ค.ศ. 1470 ซึ่งมีอิทธิพลมาจากการมองเห็นของนักบุญบริจิตแห่งสวีเดน แสงส่องออกจากพระเยซู คนเลี้ยงแกะอยูบนเนินพร้อมกับทูตสวรรค์ที่มาปรากฏตัว

ศิลปะตะวันตกได้รับอิทธิพลองค์ประกอบบางอย่างมาจากรูปเคารพแบบไบแซนไทน์แต่มักจะชอบใช้โรงนามากกว่าถ้ำ ยกเว้นงานของดุชโชที่พยายามใช้ทั้งสองอย่าง ทางตะวันตกหมอตำแยจะหายไป นักคริสต์ศาสนวิทยาไม่เห็นด้วยกับตำนานนี้แต่การสรงน้ำยังคงอยู่ซึ่งอาจจะเป็นการเตรียมน้ำเอาไว้หรือมารีย์อาบน้ำให้พระเยซู ที่ใดที่มีอิทธิพลไบแซนไทน์มากหมอตำแยก็จะยังอยู่โดยเฉพาะในอิตาลีเช่นในงานของจอตโต ดี บอนโดเน จะเห็นหมอตำแยส่งพระเยซูให้มารีย์ ระหว่างสมัยกอทิกจะมีการเพิ่มความใกล้ชิดระหว่างแม่พระและพระกุมาร พระแม่มารีย์เริ่มจะอุ้มพระเยซู หรือพระเยซูจะมองไปทางแม่พระ การดูดนมจะไม่ค่อยสร้างแต่ก็มีบ้างบางครั้ง[18]

ศิลปะตะวันตก

รูปสัญลักษณ์ในสมัยยุคกลางตอนหลังทางตอนเหนือของยุโรปมักจะมีอิทธิพลจากการเห็นภาพ “การประสูติของพระเยซู” ของนักบุญบริจิตแห่งสวีเดน (ค.ศ. 1303-1373) ซึ่งเป็นตำนานที่นิยมกัน ก่อนที่จะเสียชีวิตนักบุญบริจิตก็บรรยายว่าได้เห็นภาพของพระเยซูนอนบนพื้นและมีแสงส่องสว่างออกมาจากพระวรกาย พระแม่มารีมีผมทอง การใช้แสงเงาตัดกันแบบ “ค่าต่างแสง” นิยมทำกันจนถึงสมัยศิลปะแบบบาโรก รายละเอียดอย่างอื่นเช่นเทียนเล่มเดียว “อยู่บนผนัง” และมีพระเจ้าปรากฏอยู่ด้วยมาจากตำนานของนักบุญบริจิต

พระนางมารีย์พรหมจารีคุกเข่าลงเพื่ออธิษฐาน หันหลังให้กับรางหญ้า....และขณะที่กำลังยืนสวดมนต์, ฉันเห็นเด็กในท้องเคลื่อนตัว แล้วในทันทีนั้นแม่พระก็ให้กำเนิดบุตรชาย จากร่างของพระองค์มีแสงสว่างส่องออกมาอย่างงดงาม, จนแม้พระอาทิตย์ก็ไม่สามารถเปรียบได้, หรือแสงเทียนที่โจเซพตั้งไว้ก็ไม่ได้ให้แสงสว่างเลย, แสงสว่างอันศักดิ์สิทธิ์นี้ลบแสงสว่างจากเทียน....ฉันเห็นเด็กผู้สวยงามนอนเปลือยอยู่บนพื้นส่องสว่าง ร่างกายของพระองค์บริสุทธิ์ผุดผ่องจากดินและมลทิน แล้วฉันก็ได้ยินเสียงเทวดาร้องเพลงด้วยเสียงที่ไพเราะและอ่อนหวาน...[19]

หลังจากนั้นพระแม่มารีย์ก็คุกเข่าลงอธิษฐานต่อหน้าพระกุมารโดยมีนักบุญโยเซฟมาร่วม ฉากนี้เรียกกันว่า “การนมัสการพระกุมาร” (Adoration of the Child) ซึ่งเป็นฉากที่นิยมเขียนหรือสร้างกันในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ซึ่งมาแทนภาพนอนของพระแม่มารี แต่ภาพพระเยซูส่องแสงทำกันมาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 ซึ่งเป็นเวลานานก่อนคำบรรยายของนักบุญบริจิต และมาจากคณะฟรันซิสกัน[20]

นักบุญโยเซฟที่เห็นกันมักจะเป็นชายสูงอายุและมักจะหลับในฉาก “การประสูติของพระเยซู” บางครั้งก็จะเป็นตัวประกอบที่น่าขัน แต่งตัวไม่เรียบร้อย และช่วยเหลืออะไรไม่ได้ ในการแสดงละครการประสูติ (Mystery play) ในสมัยกลางโยเซฟจะเป็นตัวตลก น่ารักแต่ทำอะไรไม่ถูก แต่บางครั้งก็เป็นภาพกำลังตัดผ้าเป็นแถบ ๆ เพื่อห่อพระเยซู[21] หรือจุดไฟ แต่เมื่อลัทธิบูชาโยเซฟมีความสำคัญขึ้นทางตะวันตกในสมัยกลางตอนหลังโดยนักบวชคณะฟรันซิสกัน (วันสมโภชนักบุญโยเซฟเพิ่งเริ่มเมื่อ ค.ศ. 1479) ลักษณะการแสดงโยเซฟก็มีความน่านับถือมากขึ้นและปรับปรุงกันมาจนถึงสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและบาโรก จนกระทั่งเมื่อลัทธิบูชาพระแม่มารีย์มารุ่งเรืองขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ความสำคัญของโยเซฟก็ด้อยลงอีกครั้งหนึ่ง กลายเป็นตัวรองอยู่ริม ๆ รูป เทียนที่จุดโดยโยเซฟตามคำบรรยายของนักบุญบริจิตเป็นสิ่งที่โยเซฟถือบางที่ก็จุดหรือบางทีก็ไม่

ฉาก “การประสูติของพระเยซู” เริ่มเป็นที่นิยมกันมากขึ้นในการเขียนบนแผ่นไม้ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 แต่บางครั้งฉากประดับแท่นบูชาก็อาจจะถูกเบียดด้วยรูปของผู้อุทิศทรัพย์ให้วาด (เช่นภาพพระแม่มารีย์เลี้ยงพระกุมารทึ่เขียนในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่มีผู้อุทิศอยู่สองข้าง ) ในภาพวาดของเนเธอร์แลนด์สมัยต้นจะใช้เพิงง่าย ๆ ไม่ต่างไปจากที่ทำกันมาเท่าใดนัก จนกระทั่งค่อยกลายมาเป็นซากปรักหักพังของโบสถ์ เริ่มกันมาตั้งแต่สมัยโรมาเนสก์ ซึ่งเป็นภาพพันธสัญญาเดิม (Old Covenant) ของชาวยิว การใช้ฉากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ในการบ่งความเป็นยิวจะใช้บ่อยในงานเขียนของยาน ฟาน เอค และผู้สืบทอดงานต่อมา[22]ในงานเขียนแบบอิตาลี สถาปัตยกรรมของโบสถ์เช่นที่ว่าจะเป็นโบสถ์แบบคลาสสิก (กรีกหรือโรมัน) ซึ่งแสดงถึงการกลับไปสนใจในสถาปัตยกรรมคลาสสิก[23] หลักฐานอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการใช้โบสถ์เป็นฉาก มาจากตำนานทองที่กล่าวว่า คืนที่พระเยซูประสูติ บาซิลิกา ของ แม็กเซนติอุส (Basilica of Maxentius) ที่โรม อันเป็นสถานที่ตั้งรูปเคารพโรมิวลุสล้มครืนลงมา และทิ้งซากไว้ให้เราเห็นจนทุกวันนี้[24]

สมัยกลาง

ต้นสมัยลาง

  • รูปเคารพแรกแรกที่สุดของตะวันตก “แม่พระและพระกุมาร” จาก “หนังสือเคลส์” ของพระวรสารนักบุญมัทธิว ราวปี ค.ศ. 800
  • “การประสูติของพระเยซู” และ “คนเลี้ยงแกะรับสาร” จากหนังสือแบมเบิร์ก (Bamberg Apocalypse) ราวปี ค.ศ. 1000-1020
  • หัวเสาโรมาเนสก์จากโบสถ์ซังปิแอร์ที่โชวินยี ในประเทศฝรั่งเศส คริสต์ศตวรรษที่ 12
  • เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรเยอรมนีมีฉากโหราจารย์สองฉากราวปี ค.ศ. 1220

กอทิก

  • หน้าต่างประดับกระจกสีคริสต์ศตวรรษที่ 12 ที่มหาวิหารแซ็ง-เดอนี ปารีส มีมารีย์นอนบนเตียงเรียบร้อย
  • หน้าต่างประดับกระจกสีฝรั่งเศสคริสต์ศตวรรษที่ 13 ที่ มหาวิหารแคนเทอร์เบอรี ซึ่งเป็นเรื่องราวทั้งหมดรวมทั้งโหราจารย์และอื่นๆ
  • อาลาบาสเตอร์อังกฤษมีมารีย์นอนบนเตียงรับใช้โดยหมอตำแย
  • ฉากบูชาบานพับภาพแกะจากงาช้าง คริสต์ศตวรรษที่ 14 ประกอบด้วย “แม่พระรับสาร,” “การประสูติของพระเยซู” โดยมีโยเซฟอุ้มพระเยซู ขณะที่มารีย์นอนหลับซึ่งแปลกจากศิลปะอื่น, พระเยซูเข้าวิการ และโหราจารย์

กอทิกนานาชาติ

  • “การถวายพระกุมารในพระวิหาร” และ “การหนีไปอียิปต์” โดยมีตำนานรูปต้องห้ามและน้ำพุ Melchior Broederlam, เบอร์กันดี ราวปี ค.ศ. 1400
  • ปาฏิหาริย์ต้นปาล์มโน้มและข้าวสาลีใน “การหนีไปอียิปต์” ราวปี ค.ศ. 1400
  • ฉากนี้เขียนโดยคอนราด ฟอน เซิสต์ (Conrad von Soest) ราวปี ค.ศ. 1403 นักบุญโยเซฟก่อไฟ
  • จุลจิตรกรรมเยอรมนีจากราวปี ค.ศ. 1420 แสดงชีวิตประจำวันและความอบอุ่นของครอบครัว

ก่อนฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี

  • รูปแกะนูนบนแท่นเทศน์ที่หอล้างบาปที่ปิซาโดยนีโกลา ปีซาโน (Nicola Pisano) ราวปี ค.ศ. 1260 ตามแบบแกะนูนของโลงหินโรมัน
  • “การประสูติของพระเยซู” โดยจอตโตภายในโบสถ์น้อยสโครวินยี (Scrovegni Chapel) การจัดองค์ประกอบและลักษณะคล้ายกับรูปสลักที่ปิซา
  • เบอร์นาร์โด แดดดี (Bernardo Daddi) ได้รับอิทธิพลการเขียนแบบสัจจะนิยมจากจอตโต
  • แทดดิโอ แกดดี (Taddeo Gaddi) เขียนภาพใหญ่เป็นฉากคืน “คนเลี้ยงแกะรับสาร”

ฟื้นฟูและหลังฟื้นฟูศิลปวิทยา

“ขบวนโหราจารย์” โดย เบนนอซโซ กอซโซลิ คริสต์ศตวรรษที่ 15

จากคริสต์ศตวรรษที่ 15 การนมัสการของโหราจารย์ กลายเป็นฉากที่วาดร่วมกับฉาก “การประสูติของพระเยซู” และเป็นที่นิยมกันมากขึ้นและภาพเขียนก็มีขนาดใหญ่ขึ้นตามไปด้วย ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะหัวข้อที่วาดเหมาะกับการขยายรายละเอียดและการใช้สีสัน และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ภาพเขียนมีขนาดใหญ่ขึ้นเพราะต้องรับรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อมิให้องค์ประกอบแน่นเกินไป และรวมฉาก “การนมัสการของคนเลี้ยงแกะ” เป็นฉากเดียวกับ “การประสูติของพระเยซู” ตั้งแต่ปลายสมัยกลางเป็นต้นมา ฉากนี้ก็รวมกันมากก่อนแต่ไม่มาก ทางตะวันตกโหราจารย์จะแต่งตัวอย่างแปลกและน่าสนใจจนบางครั้งเป็นตัวดึงจุดสนใจของผู้ชมแทนที่จะเป็นการประสูติของพระเยซู การเขียนภาพในสมัยเรอเนซองส์ก็เริ่มลดความหมายทางศาสนาลงโดยเฉพาะที่ฟลอเรนซ์ ซึ่งการวาดภาพสำหรับฆราวาสยังเป็นสิ่งใหม่อยู่ ตัวอย่างเช่นจิตรกรรมฝาผนังใหญ่ชื่อ “ขบวนโหราจารย์” (Procession of the Magi) เป็นจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงภายในโบสถ์น้อยโหราจารย์ในวังเมดิชิ เขียนโดย เบนอซโซ กอซโซลี (Benozzo Gozzoli) ในปี ค.ศ. 1459-1461 ซึ่งรวมภาพเหมือนของครอบครัวเมดิชิภายในภาพเดึยวกัย จะทราบว่าเป็นภาพศาสนาเกี่ยวกับโหราจารย์ก็เพราะตำแหน่งที่ตั้งของภาพและเมื่อดูชื่อภาพ ถ้าดูภาพแล้วเกือบจะไม่เห็นว่าเป็นภาพศาสนา

จากคริสต์ศตวรรษที่ 16 การสร้างภาพ “การประสูติของพระเยซู” ที่แสดงเฉพาะครอบครัวพระเยซูก็เริ่มมีความนิยมน้อยลง แต่การาวัจโจใช้วิธีเขียนแบบสัจจะนิยมในการเขียน “การนมัสการของคนเลี้ยงแกะ” การวางรูปและองค์ประกอบของภาพในสมัยนี้ก็เริ่มแตกต่างกันมากขึ้นตามจินตนาการของจิตรกรแต่ละคน เช่นงานเขียน “การนมัสการของคนเลี้ยงแกะ” ของจิตรกรสามคน เจอราร์ด ฟอน ฮนท์ฮอร์สท (Gerard van Honthorst), จอร์จ เดอลา ทัวร์ (Georges de La Tour) และ ชาร์ล เลอ บรุน (Charles Le Brun) แต่ละคนต่างก็วางภาพต่างกันไปซึ่งไม่มีคนใดที่วางภาพแบบที่ทำกันมาแต่ก่อน หัวเรื่องการเขียน “การประสูติของพระเยซู” เสื่อมความนิยมลงหลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 18

ต้นสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยายุครุ่งโรจน์

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาทางตอนเหนือของอิตาลี

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาทางตอนเหนือของยุโรป

  • ฉากประดับแท่นบูชาเอลโฮฟเฟน (Ellhofen Altarpiece), เยอรมนี, ตามแบบนักบุญบริจิต
  • ฉากแท่นบูชาบาโทโลเมิส บริน (Bartholomäus Bruyn Altarpiece) โบสถ์นักบุญยอห์นแบปทิสต์, เอสเสน, เยอรมนี,
  • “การหนีไปอียิปต์” โดย โยอาคิม พาทิเนียร์ (Joachim Patinir) ทางขวาเป็นปาฏิหาริย์ข้าวสาลี และบนซ้ายเป็นรูปต้องห้ามหักลงมา ฉากแสดงกว้างขึ้นเป็นลักษณะจิตรกรรมภูมิทัศน์
  • “การนมัสการของโหราจารย์” โดย ปิเอเตอร์ บรูเกล โหราจารย์คนหนึ่งแต่งตัวเป็นอินเดียนแดง

จริตนิยม

  • “การนัมสการของคนเลี้ยงแกะ” โดย บรอนซีโน
  • “การประสูติของพระเยซู” โดยเดิร์ค บาเรนดส์ (Dirck Barendsz) ราวปี ค.ศ. 1565, ประเทศเนเธอร์แลนด์
  • “การนมัสการของโหราจารย์” โดยจาโคโป บาสซาโน (Jacopo Bassano)
  • “การนมัสการพระกุมาร” โดย อันเดรีย ซาบบาตินิ (Andrea Sabbatini)

บาโรกและโรโกโก

  • “การนัมสการของคนเลี้ยงแกะ” โดย เอลเกรโก (El Greco) แสงสว่างส่องมาจากพระบุตรไปทั่วภาพ
  • “การนมัสการของโหราจารย์” โดย ปีเตอร์ พอล รูเบนส์ ค.ศ. 1634
  • “การนมัสการของคนเลี้ยงแกะ” โดย เจอราร์ด ฟอน ฮนท์ฮอร์สท แสดงอิทธิพลเรื่องของนักบุญบริจิต
  • “การนมัสการของคนเลี้ยงแกะ” โดย ชาร์ล เลอ บรุน

หลัง ค.ศ. 1800

  • “พักระหว่างการเดินทางไปอียิปต์” (Rest on the Flight) โดย ฟิลลิป อ็อตโต รุนจ์ (Philipp Otto Runge) ค.ศ. 1806
  • “พักระหว่างการเดินทางไปอียิปต์” โดย เอเดรียน ริคเตอร์ (Adrian Ludwig Richter) ค.ศ. 1873
  • “การหนี” โดย คาร์ล สปิทซเวก (Carl Spitzweg) ค.ศ. 1875-9
  • “Anno Domini” ค.ศ. 1883 โดย เอ็ดวิน ลอง (Edwin Long) นักวาดภาพตะวันออก (Orientalist) ชาวอังกฤษ ภาพตอนไปถึงอังกฤษ สังเกตว่ารูปต้องห้ามยังยืนอยู่มิได้ล้มลงมาเช่นรูปในสมัยเดิม
  • หน้าต่างประดับกระจกสี “การนมัสการของคนเลี้ยงแกะ” จากปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่มหาวิหารโคโลญ
  • “การเดินทางของโหราจารย์” โดย เจมส์ ทิสซ็อท (James Tissot) ค.ศ. 1894 วาดแบบตะวันออก (Orientalism)
  • แม่พระและพระกุมารในฉากตาฮิติ โดย พอล โกแกง (Paul Gauguin) ค.ศ. 1896
  • “การนมัสการพระกุมาร” โดย เอดอล์ฟ เฮิลเซล (Adolf Hölzel) ค.ศ. 1912

ศิลปะพื้นบ้าน

  • ภาพเขียนชาวบ้านจากคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยมิคาล ทอพพิเลียส (Mikael Toppelius)
  • การนมัสการพระกุมาร โดยฟรานเชสโก แลนโดนิโอ ราว ค.ศ. 1750
  • ภาพเขียนในคัมภีร์ไบเบิล ราวค.ศ. 1900
  • ฉาก “การนมัสการพระกุมาร” คริสต์ศตวรรษที่ 20

ใกล้เคียง

การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง การประกวดความงาม การปรับตัว (ชีววิทยา) การประเมินตัวเองหลัก (จิตวิทยา) การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติ การปรับอากาศรถยนต์ การประมาณราคา การประกันภัย การปรับตัวของประสาท

แหล่งที่มา

WikiPedia: การประสูติของพระเยซู_(ศิลปะ) http://findarticles.com/p/articles/mi_m0422/is_1_8... http://www.tau.ac.il/arts/projects/PUB/assaph-art/... http://www.ibiblio.org/wm/paint/auth/le-brun/sheph... http://commons.wikimedia.org/wiki/image:Georges_de... http://commons.wikimedia.org/wiki/image:Gerard_van... http://commons.wikimedia.org/wiki/image:Giovenone_... http://commons.wikimedia.org/wiki/image:Krippe_cri... http://en.wikipedia.org/wiki/image:Basilica_of_Con... https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Nativi...