ความรู้สึกทางกาย ของ การปรับตัวของประสาท

ปรากฏการณ์นี้ก็มีในความรู้สึกทางสัมผัสด้วยถ้าใส่เสื้อผ้าที่ยังไม่คุ้น ก็จะรู้สึกมันได้ทันทีแต่ถ้าคุ้นแล้ว สมองจะปรับตัวต่อเนื้อผ้าแล้วไม่รับรู้สิ่งเร้าคือเนื้อผ้า[13]

ความเจ็บปวด

แม้นิวรอนรับแรงกลที่มีใยประสาทใหญ่แบบ I/Aß จะปรับตัวได้ แต่นิวรอนรับความเจ็บปวดคือโนซิเซ็ปเตอร์ที่มีใยประสาทเล็กแบบ IV/C จะไม่ปรับตัวผลก็คือ ความเจ็บปวดจะไม่ลดลงเร็วแต่จะคงยืนเป็นระยะเวลานานเปรียบเทียบกับสัมผัส ที่บุคคลจะหยุดรู้สึกถ้าสิ่งเร้าคงยืนชั่วระยะหนึ่ง

การเล่นกล้าม

งานวิจัยต่าง ๆ ได้แสดงว่า มีการปรับตัวทางประสาทหลังจากเล่นกล้ามเพียงแค่คราวเดียวผู้เล่นจึงรู้สึกมีกำลังขึ้นแม้กล้ามเนื้อจะไม่ใหญ่ขึ้นการวัดกล้ามเนื้อโดยใช้เครื่องวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (electromyograph) พบว่า กำลังที่เพิ่มขึ้นในช่วงเริ่มต้นจากการเล่นกล้ามสัมพันธ์กับแอมพลิจูดที่เพิ่มขึ้นของคลื่นไฟฟ้า SEMGผลงานวิจัยนี้บวกกับทฤษฎีอื่น ๆ ช่วยอธิบายการมีแรงเพิ่มโดยที่กล้ามเนื้อไม่ได้โตขึ้นทฤษฎีอื่น ๆ ที่อธิบายการเพิ่มกำลังของกล้ามเนื้อสัมพันธ์กับการปรับตัวทางประสาทรวมทั้งกล้ามเนื้อตรงข้ามทำงานขัดกันลดลง (agonist-antagonist muscle decreased co-activation), กล้ามเนื้อทำงานร่วมกันดีขึ้น (motor unit synchronization), และอัตราการทำงานของระบบประสาท-กล้ามเนื้อที่เพิ่มขึ้น (motor unit increased firing rates)[14]

การปรับตัวทางประสาทจะมีผลต่อคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อช่วง V และต่อรีเฟล็กซ์ของฮอฟฟ์แมนน์ (Hoffmann's reflex)รีเฟล็กซ์นี้สามารถใช้ประเมินการเร้าได้ของนิวรอนสั่งการอัลฟา (alpha motor neuron) ซึ่งอยู่ที่ไขสันหลัง และคลื่นช่วง V สามารถใช้วัดการส่งสัญญาณต่อไปยังกล้ามเนื้อของนิวรอนงานวิจัยต่าง ๆ พบว่า หลังจากการเล่นกล้ามเป็นเวลา 14 สัปดาห์ ผู้ร่วมการทดลองจะมีแอมพลิจูดของคลื่นช่วง V เพิ่มขึ้นประมาณ 50% และรีเฟล็กซ์จะมีแอมพลิจูดเพิ่มขึ้นประมาณ 20%[15]ซึ่งแสดงว่า การปรับตัวทางประสาทเป็นกลไกความเปลี่ยนแปลงของการทำงานในวงจรประสาทที่ไขสันหลังของมนุษย์ โดยไม่ได้เปลี่ยนการทำงานของเปลือกสมองส่วนสั่งการ (motor cortex)[16]

ใกล้เคียง

การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง การประกวดความงาม การปรับตัว (ชีววิทยา) การประเมินตัวเองหลัก (จิตวิทยา) การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติ การปรับอากาศรถยนต์ การประมาณราคา การประกันภัย การปรับตัวของประสาท

แหล่งที่มา

WikiPedia: การปรับตัวของประสาท http://education-portal.com/academy/lesson/sensory... http://neuralcorrelate.com/martinez-conde_et_al_nr... http://www.cns.nyu.edu/~david/courses/perceptionGr... http://www.cns.nyu.edu/~nava/courses/psych_and_bra... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1180786 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2290590 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3501690 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4783497 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10845109 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11988174