ทางหู ของ การปรับตัวของประสาท

เหมือนกับการปรับตัวทางประสาทสัมผัสอื่น ๆ การปรับตัวทางหูเป็นกระบวนการที่บุคคลปรับตัวต่อเสียงต่าง ๆงานวิจัยได้แสดงแล้วว่า เมื่อเวลาผ่านไป บุคคลมักจะปรับตัวให้เข้ากับเสียงต่าง ๆ โดยแยกแยะมันน้อยลงคือมักจะรวมเสียงให้เป็นเสียงเดียวที่ต่าง ๆ กันแทนที่จะเป็นเสียงต่าง ๆ ที่มาเป็นชุด ๆ

นอกจากนั้นแล้ว หลังจากการรับรู้ซ้ำ ๆ บุคคลมักจะปรับตัวต่อเสียงจนกระทั่งไม่ได้ยินหรือไม่สนใจมันเช่น คนที่มีบ้านอยู่ใกล้ทางรถไฟ ในที่สุดก็จะหยุดรู้การผ่านไปมาของรถไฟเช่นเดียวกัน บุคคลที่อยู่ในเมืองใหญ่ ๆ ในที่สุดก็จะไม่รับรู้เสียงจราจรแต่ถ้าบุคคลเช่นนี้ย้ายไปอยู่ที่อื่น เช่นในชนบทที่เงียบสงบ ก็จะรับรู้ถึงความเงียบ ถึงเสียงจักจั่นเป็นต้น[11]

การรับรู้แรงกลของเสียงจะต้องอาศัยเซลล์รับความรู้สึกที่เรียกว่า เซลล์ขน ซึ่งเป็นตัวการส่งสัญญาณเสียงที่กำลังเปลี่ยนไปสู่สมองเพื่อประมวลผลเนื่องจากนี่เป็นการรับรู้แรงกล ซึ่งต่างจากการรับรู้สารเคมี การปรับตัวต่อเสียงจึงต้องอาศัยการเคลื่อนไหวทางกายภาพเพื่อเปิดปิดช่องแคตไอออนซึ่งอยู่บน stereocilia ของเซลล์ขนช่องที่ถ่ายโอนแรงกลเป็นกระแสไฟฟ้า (Mechanoelectric transduction channel, channels) ซึ่งอยู่ที่ยอดของ stereocilia จะสามารถตรวจจับความตึงหย่อนที่เกิดจากการเบนของมัดขนการเบนจะเกิดจากแรงดึงที่ไฟเบอร์โปรตีนซึ่งเรียกว่า ใยเชื่อมปลาย (tip link) อันเชื่อม stereocilia ที่อยู่ติด ๆ กัน[12]

ใกล้เคียง

การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง การประกวดความงาม การปรับตัว (ชีววิทยา) การประเมินตัวเองหลัก (จิตวิทยา) การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติ การปรับอากาศรถยนต์ การประมาณราคา การประกันภัย การปรับตัวของประสาท

แหล่งที่มา

WikiPedia: การปรับตัวของประสาท http://education-portal.com/academy/lesson/sensory... http://neuralcorrelate.com/martinez-conde_et_al_nr... http://www.cns.nyu.edu/~david/courses/perceptionGr... http://www.cns.nyu.edu/~nava/courses/psych_and_bra... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1180786 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2290590 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3501690 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4783497 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10845109 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11988174