ทางจมูก ของ การปรับตัวของประสาท

การปรับตัวทางการรับรู้เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทางประสาทสัมผัสทั้งหมด รวมทั้งการได้กลิ่นและการถูกต้องสัมผัสบุคคลจะสามารถปรับตัวให้เข้ากับกลิ่น ๆ หนึ่งตามเวลาคนสูบบุหรี่ หรือผู้ที่อยู่ร่วมกับคนสูบบุหรี่ มักจะหยุดได้กลิ่นบุหรี่หลังจากชั่วระยะหนึ่ง เทียบกับคนที่ไม่ได้กลิ่นบุหรี่จนชินผู้ที่จะได้กลิ่นทันทีปรากฏการณ์เดียวกันสามารถเห็นได้กับกลิ่นอื่น ๆ รวมทั้งกลิ่นน้ำหอม กลิ่นดอกไม้ เป็นต้นสมองของมนุษย์จะแยกแยะกลิ่นที่บุคคลนั้นไม่คุ้นเคย และจะปรับตัวให้เข้ากับกลิ่นที่คุ้นเคยซึ่งไม่จำเป็นต้องรับรู้ต่อไป

เซลล์ประสาทรับกลิ่นใช้ระบบการป้อนกลับอาศัยระดับของไอออน Ca2+ เพื่อปรับตัวให้เข้ากับกลิ่นที่คงยืนเนื่องจากการถ่ายโอนกลิ่นเป็นไฟฟ้าของระบบรับกลิ่นใช้กระบวนการ second messenger กลไกลของการปรับตัวจึงรวมกระบวนการหลายอย่างที่โดยมากเกี่ยวกับเอนไซม์ CaMK หรือ calmodulin (ซึ่งเป็น messenger protein) ที่เข้ายึดกับไอออน Ca2+

ใกล้เคียง

การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง การประกวดความงาม การปรับตัว (ชีววิทยา) การประเมินตัวเองหลัก (จิตวิทยา) การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติ การปรับอากาศรถยนต์ การประมาณราคา การประกันภัย การปรับตัวของประสาท

แหล่งที่มา

WikiPedia: การปรับตัวของประสาท http://education-portal.com/academy/lesson/sensory... http://neuralcorrelate.com/martinez-conde_et_al_nr... http://www.cns.nyu.edu/~david/courses/perceptionGr... http://www.cns.nyu.edu/~nava/courses/psych_and_bra... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1180786 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2290590 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3501690 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4783497 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10845109 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11988174