การยึดครองเซอร์เบียของออสเตรีย-ฮังการี
การยึดครองเซอร์เบียของออสเตรีย-ฮังการี

การยึดครองเซอร์เบียของออสเตรีย-ฮังการี

กองทัพออสเตรีย-ฮังการีเข้ายึดครองเซอร์เบียตั้งแต่ช่วงปลาย ค.ศ. 1915 จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การประกาศสงครามของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีต่อเซอร์เบียเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของสงคราม ภายหลังการรุกที่ไม่บรรลุผลทั้งสามครั้งของออสเตรีย-ฮังการีระหว่างเดือนสิงหาคมและธันวาคม ค.ศ. 1914 กองทัพผสมระหว่างออสเตรีย-ฮังการีและเยอรมนีจึงสามารถโจมตีแนวรบของเซอร์เบียแตกได้จากทางเหนือและตะวันตกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1915 ในขณะที่บัลแกเรียเข้าโจมตีจากด้านตะวันออกเฉียงใต้ และท้ายที่สุดในเดือนมกราคม ค.ศ. 1916 เซอร์เบียทั้งหมดจึงตกอยู่ภายใต้การยึดครองของฝ่ายมหาอำนาจกลางเซอร์เบียถูกแบ่งออกเป็นสองเขตยึดครอง โดยส่วนหนึ่งเป็นของบัลแกเรีย และส่วนที่เหลือเป็นของออสเตรีย-ฮังการี ทั้งสองส่วนถูกปกครองภายใต้การบริหารของกองทัพ เยอรมนีปฏิเสธการผนวกดินแดนเซอร์เบียโดยตรงแต่เลือกที่จะควบคุมทางรถไฟ เหมืองแร่ และทรัพยากรป่าไม้และเกษตรกรรมแทนทั้งในสองส่วน เขตการยึดครองของออสเตรีย-ฮังการีครอบคลุมพื้นที่สามในสี่ของดินแดนเซอร์เบียส่วนเหนือ ซึ่งถูกปกครองโดยเขตปกครองทหารสามัญ โดยเป็นหน่วยงานบริหารที่ก่อตั้งขึ้นโดยกองทัพออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งมีข้าหลวงแห่งกองทัพเป็นผู้นำและมีอำนาจรองจากข้าหลวงพลเรือนใหญ่ จุดประสงค์ของหน่วยงานบริหารใหม่นี้คือ การทำให้ประชาชนชาวเซิร์บสูญเสียสัญชาติและเปลี่ยนประเทศเพื่อใช้เป็นดินแดนสำหรับเสบียงและใช้เป็นประโยชน์ในทรัพยากรทางเศรษฐกิจนอกจากนี้ระบบกฎหมายกองทัพยังสั่งห้ามการมีหน่วยงานทางการเมืองทั้งหมด ห้ามการชุมนุมสาธารณะ และนำโรงเรียนให้อยู่ภายใต้การควบคุม กองทัพออสเตรีย-ฮังการียอมรับการบังคับใช้กฎอัยการศึก การจับกุมตัวประกัน เผาหมู่บ้านเพื่อลงโทษ และตอบโต้การก่อการกำเริบด้วยการแขวนคอในที่สาธารณะและการประหารชีวิตอย่างรวบรัด ในระหว่างการยึดครอง ผู้คนจำนวน 150,000 ถึง 200,000 คน ทั้งผู้ชาย ผู้หญิง และเด็กถูกส่งตัวไปยังค่ายกักกันในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เมาเทาเซินในออสเตรีย ดอบอยในบอสเนีย และน็อจแมแจร์ ออร็อด และแก็ชแกเมตในฮังการีในเดือนกันยายน ค.ศ. 1918 กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรที่นำโดยกองทัพภาคที่ 2 ของเซอร์เบีย และกองพันอาสาสมัครยูโกสลาฟสามารถบุกทะลวงแนวรบซาลอนีกาได้ ซึ่งนำไปสู่การยอมจำนนของบัลแกเรียเมื่อวันที่ 30 กันยายน ตามมาด้วยการปลดปล่อยเซอร์เบียอย่างรวดเร็วและการล่าถอยของกองทัพออสเตรีย-ฮังการีที่ยังคงเหลืออยู่ทั้งหมดในช่วงปลายเดือนตุลาคม และเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ดินแดนเซอร์เบียก่อนสงครามได้รับปลดปล่อยทั้งหมด ทำให้การยึดครองนั้นจบลง

ใกล้เคียง

การยึดกรุงไซ่ง่อน การยึดครองญี่ปุ่น การยึดครองเซอร์เบียของออสเตรีย-ฮังการี การยึดครองเยอรมนีของสยาม การยึดครองกลุ่มรัฐบอลติก การยึดกรุงคาบูล (พ.ศ. 2564) การยึดครองโรมาเนียของโซเวียต การยึดครองพม่าของญี่ปุ่น การยึดครองกัมพูชาของญี่ปุ่น การยึดครองเมืองซารันจ์

แหล่งที่มา

WikiPedia: การยึดครองเซอร์เบียของออสเตรีย-ฮังการี http://arhiv-beograda.org/sr/n-zid-r-us-r-ug-rs-i-... //doi.org/10.1080%2F13518046.2012.730395 http://lat.rtrs.tv/vijesti/vijest.php?id=103207 https://books.google.com/books?id=0dVdAQAAQBAJ&pg=... https://books.google.com/books?id=0fGcCwAAQBAJ&pg=... https://books.google.com/books?id=2YqjfHLyyj8C&pg=... https://books.google.com/books?id=4GUVzgEACAAJ https://books.google.com/books?id=4fTCAgAAQBAJ https://books.google.com/books?id=6Gbgs1XFKTcC https://books.google.com/books?id=6psuDwAAQBAJ&pg=...