การยึดครองกลุ่มรัฐบอลติก
การยึดครองกลุ่มรัฐบอลติก

การยึดครองกลุ่มรัฐบอลติก

การยึดครองกลุ่มรัฐบอลติก (อังกฤษ: occupation of the Baltic states) เป็นการยึดครองด้วยทหารต่อสามรัฐบอลติกอันได้แก่ลิทัวเนีย ลัตเวีย และเอสโตเนีย โดยสหภาพโซเวียตตามกติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1940[1][2] และจัดตั้งสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตโดยผิดกฎหมายแต่วันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 นาซีเยอรมนีรุกรานสหภาพโซเวียตและไม่กี่สัปดาห์ก็ยึดครองดินแดนบอลติกและจัดตั้งภาคอ็อสท์ลันท์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของไรช์เยอรมัน แต่ว่าการรุกบอลติกในปี 1944 กองทัพเยอรมันในคูร์แลนด์ (Courland) ยอมจำนนอย่างเป็นทางการในเดือนพฤษภาคมปี 1945[3] ทำให้สหภาพโซเวียตกลับมาอีกครั้งและทำการผนวกดินแดนเข้าไว้ในความปกครอง จนกระทั่งสหภาพโซเวียตล่มสลายในปี 1991 สามประเทศจึงกลับมาเป็นเอกราชอีกครั้งสหรัฐอเมริกา[4][5] และศาลภาคทัณฑ์แห่งนครนิวยอร์ก [6], รัฐสภายุโรป[7][8][9],ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป[10] และคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ[11] ทั้งหมดระบุว่ากลุ่มรัฐบอลติกยังคงเอกราชอยู่ การถูกรุกรานตั้งแต่กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพต่อด้วยการนาซีเยอรมนีรุกรานสหภาพโซเวียต ในปี 1941 และการกลับมายึดครองอีกครั้งของโซเวียตในปี 1944 ถึง 1991[12][13][14][15][16][17][18][19] นั้นอยู่ภายใต้การยึดครองที่ผิดกฎหมายตลอดระยะเวลาตั้งแต่ปี 1940 ถึง 1991[20][21][22] อย่างไรก็ตาม สหภาพโซเวียตไม่เคยยอมรับอย่างเป็นทางการว่าตนเองประจำอยู่ในกลุ่มรัฐบอลติกในฐานะผู้ยึดครอง หรือว่าได้ทำการผนวกรัฐเหล่านี้[23] และถือว่ากลุ่มรัฐบอลติกสมัครใจเข้าร่วมสหภาพโซเวียตรัฐบาลรัสเซียยืนยันว่าการผนวกกลุ่มรัฐบอลติกเป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ[24][25]และได้รับการรับรองตามกฎหมายโดยข้อตกลงที่ทำในการประชุมยัลตาและพ็อทซ์ดัมและโดยสนธิสัญญาเฮลซิงกิ[26][27] ซึ่งมีแถลงการณ์ที่จะไม่ละเมิดเขตแดนที่มีอยู่ อย่างไรก็ตามรัสเซียตกลงตามข้อเรียกร้องของยุโรปที่จะ "ให้ความช่วยเหลือคนที่ถูกเนรเทศออกจากกลุ่มรัฐบอลติกที่ถูกยึดครอง" เมื่อเข้าร่วมสภายุโรปใน ค.ศ. 1996[28][29][30] นอกจากนี้เมื่อสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียลงนามในสนธิสัญญาแยกต่างหากกับลิทัวเนียในปี 1991 ก็ยอมรับว่าการผนวกลิทัวเนียในปี 1940 เป็นการละเมิดอธิปไตยของลิทัวเนีย[31][32]รัสเซียต้องถอนกำลังออกจากกลุ่มรัฐบอลติกโดยเริ่มจากลิทัวเนียในปี 1993 โดยได้รับคำสั่งจากมอสโก ในปี 1994 ทหารออกจากกลุ่มรัฐบอลติกทั้งสาม และในปี ค.ศ. 1998 ได้มีการรื้อถอนสถานีเรดาร์ Skrunda-1 ในลัตเวีย ทหารรัสเซียคนสุดท้ายออกจากกลุ่มรัฐบอลติกในเดือนตุลาคม 1999[33][34]

ใกล้เคียง

การยึดกรุงไซ่ง่อน การยึดครองญี่ปุ่น การยึดครองเซอร์เบียของออสเตรีย-ฮังการี การยึดครองเยอรมนีของสยาม การยึดครองกลุ่มรัฐบอลติก การยึดกรุงคาบูล (พ.ศ. 2564) การยึดครองโรมาเนียของโซเวียต การยึดครองพม่าของญี่ปุ่น การยึดครองกัมพูชาของญี่ปุ่น การยึดครองเมืองซารันจ์

แหล่งที่มา

WikiPedia: การยึดครองกลุ่มรัฐบอลติก http://www.europarl.europa.eu/sides/getDoc.do?pubR... http://www.europarl.europa.eu/sides/getDoc.do?type... http://www.fco.gov.uk/servlet/Front?pagename=OpenM... http://cmiskp.echr.coe.int/tkp197/view.asp?action=... http://grani.ru/Politics/Russia/m.88902.html http://www.latvia.mid.ru/news/ru/050507.html http://www.balticsworldwide.com/the-weekly-crier-1... http://www.themoscowtimes.com/news/article/russia-... http://assembly.coe.int/Documents/AdoptedText/ta05... https://web.archive.org/web/20090401120515/http://...