ข้อดีและข้อเสีย ของ การลงคะแนนระบบคู่ขนาน

ทั่วไป

ในระบบสมาชิกเสริมนี้จะช่วยให้พรรคการเมืองขนาดเล็กที่ไม่สามารถชนะการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งจะสามารถได้ที่นั่งตามสัดส่วนในสภาได้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากไม่ใช่ระบบสัดส่วนดังนั้นจำนวนที่นั่งที่ได้รับจะได้น้อยกว่าจำนวนสัดส่วนคะแนนเสียงโดยรวม และยังไม่ทำเอื้อประโยชน์แก่พรรคการเมืองขนาดเล็กจนทำให้เกิดพรรคเล็กพรรคน้อยในสภาดั่งในกรณีของระบบสัดส่วนได้[4]

ข้อวิจารณ์ของการลงคะแนนระบบสัดส่วนนั้นคือทำให้พรรคขนาดใหญ่ที่สุดจะต้องร่วมมือกับพรรคขนาดเล็กจำนวนหลายพรรคเพื่อจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ อย่างไรก็ตามพรรคการเมืองขนาดเล็กยังคงเสียเปรียบเนื่องจากพรรคขนาดใหญ่ยังคงมีบทบาทสำคัญ ในประเทศที่มีเพียงพรรคการเมืองใหญ่เป็นหลักเพียงพรรคเดียว และพรรคฝ่ายค้านที่แตกออกเป็นพรรคย่อยนั้น การจัดสรรที่นั่งในระบบสัดส่วนอาจจะจำเป็นในการช่วยให้พรรคฝ่ายค้านมีประสิทธิภาพมากขึ้น

และเนื่องจากการลงคะแนนนั้นแยกเป็นระหว่างแบ่งเขตเลือกตั้งกับแบบบัญชีรายชื่อ จึงมีโอกาสให้ผู้แทนทั้งสองแบบอยู่ในสภา โดยผู้แทนแบบแบ่งเขตนั้นจะยึดโยงกับเขตของตน ในขณะที่ผู้แทนแบบบัญชีรายชื่อนั้นจะยึดกับพรรคการเมืองมากกว่า

ข้อวิจารณ์สำคัญของระบบคู่ขนานคือไม่สามารถรับรองความเป็นสัดส่วนของที่นั่งและคะแนนเสียงโดยรวมได้ พรรคการเมืองใหญ่สามารถชนะขาดได้โดยมีเสียงข้างมากในสภาและได้ที่นั่งมากกว่าสัดส่วนคะแนนเสียงโดยรวม ตัวอย่างเช่น ในการเลือกตั้งทั่วไปในฮังการี ค.ศ. 2014 กลุ่มพรรคการเมืองฟิแด็ส/กาเดแอ็นเปชนะการเลือกตั้งด้วย 133 ที่นั่งจากทั้งหมด 199 ที่นั่งในสภา แต่มีคะแนนเสียงเพียงร้อยละ 44.87 จากคะแนนเสียงทั้งหมดเท่านั้น พรรคการเมืองขนาดเล็กกว่าอื่น ๆ ซึ่งกลายเป็นฝ่ายค้านเมื่อรวมกันได้คะแนนเสียงมากกว่าร้อยละ 51.7 แต่ได้ที่นั่งไปเพียง 66 ที่นั่งเท่านั้น อีกตัวอย่างหนึ่งที่เป็นกรณีกลับกัน ในการเลือกตั้งทั่วไปในญี่ปุ่น ค.ศ. 2014 ซึ่งพรรคร่วมรัฐบาลพรรคเล็กคือพรรคโคเมได้คะแนนเสียงในเขตเลือกตั้งเพียงร้อยละ 1.45 แต่ได้ที่นั่งในระบบสัดส่วนบัญชีรายชื่อถึงร้อยละ 13.7 โดยคะแนนเสียงส่วนใหญ่ที่ได้รับนั้นมาจากพรรคเสรีประชาธิปไตยซึ่งเป็นพรรคแกนนำรัฐบาล


เปรียบเทียบกับระบบสัดส่วนผสม

ระบบคู่ขนานนั้นมักถูกเปรียบเทียบกับระบบสัดส่วนผสมอยู่เสมอ โดยมีทั้งข้อดีและข้อเสียระหว่างทั้งสองระบบ

พรรคการเมืองที่สามารถใช้กลโกงในการแบ่งเขตเลือกตั้ง (gerrymader) สามารถได้จำนวนที่นั่งมากกว่าคะแนนเสียงรวม ดังนั้นในการใช้ระบบผสมจะต้องควบคู่ไปกับกลไกการแบ่งเขตเลือกตั้งอย่างเป็นธรรม (ภายใต้ระบบสัดส่วนผสมนั้นการแบ่งเขตเลือกตั้งอย่างไม่เป็นธรรมจะช่วยได้เพียงแค่ผู้สมัครในแบบแบ่งเขตเท่านั้น แต่จะไม่มีผลในการเพิ่มจำนวนที่นั่งรวมของพรรคได้)

ประเทศต่างๆ อาทิเช่น ญี่ปุ่น ไทย และรัสเซีย ล้วนเคยผ่านการใช้งานระบบผสมเพื่อเอื้อประโยชน์ให้พรรคการเมืองใหญ่ให้แข็งแรงมากขึ้น พรรคการเมืองจะมั่นใจได้ว่าผู้สมัครในลำดับต้นของบัญชีรายชื่อจะได้รับเลือกซึ่งส่วนมากจะเป็นผู้บริหารสำคัญของพรรค ในทางกลับกันภายใต้ระบบสัดส่วนผสมนั้น พรรคการเมืองที่ได้รับที่นั่งในแบบแบ่งเขตมากจะไม่ได้รับการจัดสรรที่นั่งชดเชยเพิ่มขึ้นจึงทำให้ผู้บริหารของพรรคจะต้องลงแข่งขันในแบบแบ่งเขตเลือกตั้งแทน

ระบบคู่ขนานมีโอกาสส่งเสริมให้เกิดการจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากพรรคเดียวมากการในรระบบสัดส่วนผสมซึ่งอาจมองได้ว่าเป็นจุดแข็งหรือจุดอ่อนได้จากมุมมองของแต่ละฝ่ายการเมือง

ใกล้เคียง

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย การลงจอด การลงคะแนนเสียงในสวิตเซอร์แลนด์ การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2566 การลงประชามติว่าด้วยสมาชิกภาพสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2559 การลงคะแนนแบบคะแนนเสียงที่เหนือกว่า การลงประชามติแยกซูดานใต้เป็นเอกราช พ.ศ. 2554 การลงคะแนนแบบจัดลำดับ การลงประชามติแยกเป็นเอกราช การลงประชามติประมวลกฎหมายครอบครัวคิวบา พ.ศ. 2565

แหล่งที่มา

WikiPedia: การลงคะแนนระบบคู่ขนาน http://www.electionpassport.com/electoral-systems/... http://www.avn.info.ve/contenido/113-diputados-ser... https://asiancorrespondent.com/2016/02/the-effects... https://www.bangkokpost.com/news/politics/1605898/... https://www.nytimes.com/2013/01/03/world/europe/pu... https://www.idea.int/sites/default/files/publicati... https://web.archive.org/web/20151022023104/http://... https://www.constituteproject.org/constitution/Tan...