วิธีการ ของ การลงคะแนนระบบคู่ขนาน

ในระบบคู่ขนานอันเป็นรูปแบบนึ่งของระบบการลงคะแนนแบบกึ่งสัดส่วน จะมีที่นั่งส่วนหนึ่งในสภาที่มาจากการเลือกตั้งในระบบคะแนนนำแบบแบ่งเขตเขตละคน ส่วนที่เหลือนั้นมาจากระบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งแต่ละพรรคการเมืองจะต้องได้รับคะแนนเสียงถึงโควตาจำนวนหนึ่ง โดยปกติแล้วกำหนดเป็นจำนวนร้อยละไม่มากเพื่อที่จะได้สัดส่วนของที่นั่งจากคะแนนเสียงฝั่งบัญชีรายชื่อโดยคล้ายกับระบบสัดส่วนอื่นๆ ที่นั่งบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองจะได้รับการจัดสรรให้ตามลำดับผู้สมัครในบัญชีรายชื่อ[2]

ต่างจากระบบสัดส่วนผสม ซึ่งพรรคการเมืองจะได้ที่นั่งทั้งหมดในสภาตามสัดส่วนที่ได้จากคะแนนเสียงทั้งหมดจากการลงคะแนน ส่วนในระบบคู่ขนานนั้นจะจำกัดความเป็นสัดส่วนแค่ในบัญชีรายชื่อเท่านั้น ดังนั้น พรรคการเมืองที่สามารถได้คะแนนเสียงร้อยละ 5 จะได้ที่นั่งเพียงแค่จำนวนร้อยละ 5 จากแบบบัญชีรายชื่อ แต่มิใช่ร้อยละ 5 ของที่นั่งทั้งหมดในสภาดั่งกรณีของระบบสัดส่วนผสม

สัดส่วนของที่นั่งแบบบัญชีรายชื่อเมื่อเปรียบเทียบกับที่นั่งทั้งหมดในสภานั้นขึ้นอยู่กับประเทศนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น เกาหลีใต้ ร้อยละ 18.7, ไต้หวัน ร้อยละ 37.5, ญี่ปุ่น ร้อยละ 37.5 และอาร์มีเนีย ร้อยละ 68.7[3]

ใกล้เคียง

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย การลงจอด การลงคะแนนเสียงในสวิตเซอร์แลนด์ การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2566 การลงประชามติว่าด้วยสมาชิกภาพสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2559 การลงคะแนนแบบคะแนนเสียงที่เหนือกว่า การลงประชามติแยกซูดานใต้เป็นเอกราช พ.ศ. 2554 การลงคะแนนแบบจัดลำดับ การลงประชามติแยกเป็นเอกราช การลงประชามติประมวลกฎหมายครอบครัวคิวบา พ.ศ. 2565

แหล่งที่มา

WikiPedia: การลงคะแนนระบบคู่ขนาน http://www.electionpassport.com/electoral-systems/... http://www.avn.info.ve/contenido/113-diputados-ser... https://asiancorrespondent.com/2016/02/the-effects... https://www.bangkokpost.com/news/politics/1605898/... https://www.nytimes.com/2013/01/03/world/europe/pu... https://www.idea.int/sites/default/files/publicati... https://web.archive.org/web/20151022023104/http://... https://www.constituteproject.org/constitution/Tan...