ส่วนประกอบของยาหลอก ของ การศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก

ยาหลอกที่ใช้ในการทดลองทางคลินิกบางครั้งมีผลที่ไม่ได้ตั้งใจรายงานในวารสาร Annals of Internal Medicine ที่พิจารณารายละเอียดจากการทดลองทางคลินิก 150 งาน พบว่า ยาหลอกบางอย่างที่ใช้ในการทดลองเหล่านั้น เปลี่ยนผลที่ได้ยกตัวอย่างเช่น งานศึกษายาลดคอเลสเตอรอลงานหนึ่ง ใช้น้ำมันมะกอกและน้ำมันข้าวโพดในยาหลอกแต่ว่า ตามรายงานนี้ นี่ "อาจจะทำให้แสดงประโยชน์ของยาน้อยเกินไป คือ กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและเชิงซ้อนที่มีอยู่ในยาหลอก และผลต่อต้านอนุมูลอิสระและการอักเสบ (anti-inflammatory) ของพวกมัน สามารถลดระดับไขมันและโรคหัวใจได้"อีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงในรายงานก็คือ การทดลองทางคลินิกของการบำบัดคนไข้โรคมะเร็งที่มีอาการผิดปกติในการรับประทานอาหาร (anorexia)ยาหลอกที่ใช้มีน้ำตาลแล็กโทสแต่เพราะว่า คนไข้โรคมะเร็งปกติมีโอกาสเสี่ยงสูงกว่าต่อการแพ้แล็กโทส (lactose intolerance) ยาหลอกอาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ ทำให้ยาทดลองดูดีกว่าโดยเปรียบเทียบ[8][9][10]

ใกล้เคียง

การศึกษาในประเทศไทย การศึกษา การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย การศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก การศึกษาตามแผน การศึกษาในประเทศอินเดีย การศึกษาภาษาญี่ปุ่นในประเทศไทย การศึกษาในประเทศฟินแลนด์ การศึกษาทางนิเวศวิทยา การศึกษาของญี่ปุ่น

แหล่งที่มา

WikiPedia: การศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก http://bmj.com/cgi/pmidlookup?view=long&pmid=97948... http://qhc.bmj.com/cgi/pmidlookup?view=long&pmid=1... http://student.bmj.com/issues/02/02/education/12.p... http://www.fiercebiotech.com/story/study-placebo-e... http://www.latimes.com/health/boostershots/la-heb-... http://www.reuters.com/article/idUSTRE69H51L201010... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1114162 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1299353 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1720613 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1743715