สหรัฐ ของ การเข้าเมืองกับอาชญากรรม

การศึกษาส่วนใหญ่ในสหรัฐพบอัตราอาชญากรรมในหมู่ผู้เข้าเมืองต่ำกว่าเมื่อเทียบกับผู้ที่มิได้เข้าเมือง และความหนาแน่นของผู้เข้าเมืองที่สูงขึ้นสัมพันธ์กับอัตราอาชญากรรมต่ำลง[66][67][68][69][70][71][72][73][74][75][76][77][78][79][80][81][82][83][84][85] งานวิจัยบางส่วนถึงกับเสนอว่าการเข้าเมืองเพิ่มอาจอธิบายอัตราอาชญากรรมของสหรัฐที่ลดลงได้บางส่วน[9][86][87][88][89] การศึกษาหนึ่งในปี 2548 พบว่าการเข้าเมืองพื้นที่มหานครของสหรัฐขนาดใหญ่มิได้เพิ่มอัตราอาชญากรรมในที่นั้น ซ้ำบางกรณีกลับลด[90] การศึกษาหนึ่งในปี 2552 พบว่าการเข้าเมืองล่าสุดมิได้สัมพันธ์กับการฆ่าคนในออสติน รัฐเท็กซัส[91] อัตราอาชญากรรมต่ำของผู้เข้าเมืองสหรัฐแม้มีระดับการศึกษาต่ำกว่า ระดับรายได้ต่ำกว่า และอาศัยอยู่ในพื้นที่เมือง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ควรนำให้อัตราอาชญากรรมสูงขึ้น) อาจเนื่องจากอัตราพฤติกรรมต่อต้านสังคมในหมู่คนเข้าเมืองต่ำกว่า[92] การศึกษาหนึ่งในปี 2558 พบว่าการเข้าเมืองสหรัฐของชาวเม็กซิโกสัมพันธ์กับการเพิ่มการทำร้ายร่างกายจนได้รับอันตรายสาหัสและการลดอาชญากรรมทรัพย์สิน[93] การศึกษาหนึ่งในปี 2559 ไม่พบความเชื่อมโยงระหว่างประชากรผู้เข้าเมืองกับอาชญากรรมรุนแรง แม้มีความสัมพันธ์เล็กน้อยแต่มีนัยสำคัญระหว่างผู้เข้าเมืองไม่มีเอกสารกับอาชญากรรมที่สัมพันธ์กับยาเสพติด[94]

งานวิจัยพบว่าชุมชนปลอดภัย (Secure Communities) โครงการบังคับการเข้าเมืองซึ่งนำไปสู่การกักกันมากถึง 250,000 คน (เมื่อมีการจัดพิมพ์การศึกษานี้ในเดือนพฤศจิกายน 2557) ไม่มีผลกระทบที่สังเกตได้ต่ออัตราอาชญากรรม[95] การศึกษาหนึ่งในปี 2558 พบว่ารัฐบัญญัติปฏิรูปและควบคุมการเข้าเมือง ค.ศ. 1986 ซึ่งทำให้ผู้เข้าเมืองเกือบ 3 ล้านคนชอบด้วยกฎหมาย นำให้ "อาชญากรรมลดลง 3-5% เนื่องจากมีอาชญากรรมทรัพย์สินลดลงเป็นหลัก เทียบเท่ากับอาชญากรรมรุนแรงและทรัพย์สินน้อยลง 120,000-180,000 ครั้งที่มีผู้ก่อทุกปีเนื่องจากการทำให้ชอบด้วยกฎหมายนี้"[14] จากข้อมูลของการศึกษาหนึ่ง นครคุ้มภัย (sanctuary cities) ซึ่งลงมติรับนโยบายว่าจะไม่ฟ้องดำเนินคดีกับบุคคลเพียงเพราะเป็นคนต่างด้าวมิชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีผลที่มีนัยสำคัญต่ออาชญากรรม[96]

มีการจัดทำการวิเคราะห์ทางการเมืองแรก ๆ ในสหรัฐของความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าเมืองและอาชญากรรมในต้นคริสต์ทศวรรษ 20 โดยคณะกรรมการดิลลิงแฮม (Dillingham Commission) ซึ่งพบความสัมพันธ์โดยเฉพาะสำหรับผู้เข้าเมืองจากประเทศที่มิใช่ยุโรปเหนือ ส่งผลให้มีรัฐบัญญัติลดการเข้าเมืองต่าง ๆ ในคริสต์ทศวรรษ 1920 รวมทั้งรัฐบัญญัติโควตาฉุกเฉิน ค.ศ. 1921 ซึ่งเอื้อการเข้าเมืองจากยุโรปเหนือและยุโรปตะวันตก[97] การวิจัยล่าสุดมีข้อกังขาข้อสรุปที่ได้จากคณะกรรมการดิลลิงแฮม การศึกษาหนึ่งพบว่า "คณะกรรมการรัฐบาลสำคัญด้านการเข้าเมืองและอาชญากรรมในต้นคริสต์ทศวรรษที่ 20 อาศัยหลักฐานที่มีความลำเอียงรวมกลุ่ม [aggregation bias] และการขาดข้อมูลประชากรที่แม่นยำ ซึ่งนำให้พวกเขานำเสนอมุมมองบางส่วนและบางครั้งชวนเข้าใจผิดของการเปรียบเทียบความเป็นอาชญากรของผู้เข้าเมือง-คนพื้นเมือง ด้วยข้อมูลและระเบียบวิธีที่ปรับปรุงขึ้น เราพบว่าในปี 2447 อัตราหมายจำคุกเรือนจำสำหรับอาชญากรรมที่ร้ายแรงกว่าค่อนข้างเท่ากันสำหรับคนพื้นเมืองทุกช่วงอายุยกเว้นอายุ 18 และ 19 ปี ซึ่งอัตราหมายจำคุกสำหรับผู้เข้าเมืองสูงกว่าผู้เกิดพื้นเมือง ในปี 2473 ผู้เข้าเมืองมีโอกาสถูกหมายจำคุกเรือนจำน้อยกว่าชนพื้นเมืองสำหรับทุกอายุ 20 ปีเป็นต้นไป แต่สถิตินี้หมดไปเมื่อดูหมายจำคุกสำหรับอาชญากรรมรุนแรง"[98]

สำหรับต้นคริสต์ทศวรรษที่ 20 การศึกษาหนึ่งพบว่าผู้เข้าเมืองมีอัตราจำคุก "ค่อนข้างเท่ากัน" สำหรับอาชญากรรมสำคัญเทียบกับชนพื้นเมืองในปี 2447 แต่ต่ำกว่าสำหรับอาชญากรรมสำคัญ (ยกเว้นการกระทำความผิดรุนแรง ซึ่งมีอัตราเท่ากัน) ในปี 2473[98] คณะกรรมการร่วมสมัยใช้ข้อมูลน่าคลางแคลงและตีความข้อมูลไปในทางที่ชวนสงสัย[98]

ใกล้เคียง

การเข้ารหัสทางประสาท การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต การเข้าเมืองกับอาชญากรรม การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ การเขียนโปรแกรมเชิงแข่งขัน การเข้าตีเจาะ (การสงคราม) การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การเข้ารหัส การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน การเขียน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเข้าเมืองกับอาชญากรรม http://works.bepress.com/matthew_freedman/27/ http://www.dw.com/en/report-refugee-related-crimes... http://www.dw.com/en/report-refugees-have-not-incr... http://www.informaworld.com/openurl?genre=article&... http://www.izajom.com/content/3/1/12/abstract http://oxfordhandbooks.com/view/10.1093/oxfordhb/9... http://oxfordhandbooks.com/view/10.1093/oxfordhb/9... http://oxfordhandbooks.com/view/10.1093/oxfordhb/9... http://www.pdf-archive.com/2011/05/08/br-1996-2-in... http://www.politifact.com/truth-o-meter/statements...