การรับรู้ความเป็นอาชญากรของผู้เข้าเมือง ของ การเข้าเมืองกับอาชญากรรม

การวิจัยเสนอว่าบุคคลประเมินความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าเมืองกับความเป็นอาชญากรสูงกว่าจริง การศึกษาในประเทศเบลเยียมในปี 2559 พบว่าการอาศัยอยู่ในชุมชนที่มีหลายชาติพันธุ์นำให้กลัวอาชญากรรมเพิ่มขึ้นโดยไม่สัมพันธ์กับอัตราอาชญากรรมที่แท้จริง[99] การศึกษาหนึ่งในปี 2558 พบว่าการเพิ่มการไหลบ่าของการเข้าเมืองประเทศยุโรปตะวันตกที่เกิดในคริสต์ทศวรรษ 2000 "ไม่มีผลต่อการตกเป็นผู้เสียหายอาชญากรรม แต่สัมพันธ์กับการเพิ่มความกลัวอาชญากรรม โดยอย่างหลังต้องกันและมีสหสัมพันธ์เชิงบวกกับเจตคติไม่สนับสนุนต่อผู้เข้าเมืองของชนพื้นเมือง"[5] ชาวอเมริกันประเมินความสัมพันธ์ระหว่างผู้ลี้ภัยกับการก่อการร้ายสูงกว่าจริง[100]

ผลลัพธ์ทางการเมือง

การวิจัยเสนอว่าการรับรู้ว่ามีความเชื่อมโยงเชิงเหตุทางบวกระหว่างการเข้าเมืองกับอาชญากรรมนำให้มีการสนับสนุนนโยบายหรือพรรคการเมืองที่ต่อต้านการเข้าเมืองมากขึ้น[101][102][103][104][105] การวิจัยยังเสนอว่าวงจรร้ายความไร้เหตุผลและการลดคุณค่าในตัวผู้เข้าเมืองอาจเพิ่มความเป็นอาชญากรและความไร้เหตุผลของผู้เข้าเมือง ตัวอย่างเช่น นักรัฐศาสตร์แคลร์ แอดิดา (Claire Adida) แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนดีเอโก นักรัฐศาสตร์เดวิด ไลทิน (David Laitin) แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และนักเศรษฐศาสตร์มารี-แอน วัลฟอร์ต (Marie-Anne Valfort) แห่งมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์แย้งว่า "นโยบายที่อาศัยความกลัวซึ่งมุ่งเป้ากลุ่มบุคคลตามศาสนาหรือภูมิภาคกำเนิดนั้นเป็นการขัดขวาง การวิจัยของเราเองซึ่งอธิบายบูรณาการที่ล้มเหลวของผู้เข้าเมืองมุสลิมในประเทศฝรั่งเศสเสนอว่านโยบายดังกล่าวสามารถป้อนข้าสู่วงจรร้ายที่ทำลายความมั่นคงของชาติ ความกลัวอิสลามของชาวฝรั่งเศสซึ่งเป็นผลต่างทางวัฒนธรรมกระตุ้นให้ผู้เข้าเมืองมุสลิมถอนตัวจากสังคมฝรั่งเศส แล้วป้อนกลับเข้าสู่ความกลัวอิสลามของชาวฝรั่งเศส แล้วยิ่งกระตุ้นการลดคุณค่าในตัวมุสลิมเลวร้ายลง ที่จริง ความล้มเหลวของความมั่นคงฝรั่งเศสในปี 2558 น่าจะเกิดจากยุทธวิธีตำรวจที่ข่มขู่มากกว่าต้อนรับลูกหลานของผู้เข้าเมือง ซึ่งเป็นแนวทางที่ทำให้ยากต่อการได้มาซึ่งสารสนเทศสำคัญจากสมาชิกชุมชนเกี่ยวกับภัยที่อาจเกิดขึ้น"[106][107]

การศึกษาผลกระทบระยะยาวของวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 พบว่าการเพิ่มขึ้นของอาชญากรรมความเกลียดชังต่อมุสลิมหลังเหตุการณ์ดังกล่าวลดการผสมกลมกลืนโดยผู้เข้าเมืองมุสลิม[108] เมื่อควบคุมปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้ประพันธ์พบว่า "ผู้เข้าเมืองมุสลิมที่อาศัยอยู่ในรัฐที่มีอาชญากรรมความเกลียดชังเพิ่มขึ้นสูงสุดยังแสดงโอกาสากรสมรสภายในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันกับตนสูงขึ้น การเจริญพันธุ์สูงขึ้น การเข้ามีส่วนร่วมในกำลังแรงงานของสตรีลดลงและความชำนาญภาษาอังกฤษลดลง"[108]

รีฐที่มีการกระทำก่อการร้ายในแผ่นดินตนเองหรือต่อพลเมืองของตนมีโอกาสรับการจำกัดเข้มงวดขึ้นต่อการรับรองที่ลี้ภัย[109] ปัจเจกบุคคลที่เชื่อว่าชาวแอฟริกันอเมริกันและฮิสปานิกมีแนวโน้มความรุนแรงมากกว่ายังมีโอกาสสนับสนุนโทษประหารชีวิตเพิ่มขึ้นด้วย[110]

คณะกรรมการดิลลิงแฮม (Dillingham Commission) เลือกผู้เข้าเมืองจากยุโรปใต้สำหรับการเข้ามีส่วนในอาชญากรรมรุนแรง (แม้ข้อมูลไม่สนับสนุนข้อสรุปดังกล่าว)[98] ข้อค้นพบของคณะกรรมการให้เหตุผลสำหรับรัฐบัญญัติการลดการเข้าเมืองต่าง ๆ ในคริสต์ทศวรรษ 1920 รวมทั้งรัฐบัญญัติโควตาฉุกเฉิน ค.ศ. 1921 ซึ่งเอื้อต่อการเข้าเมืองจากยุโรปเหนือและตะวันตกโดยการจำกัดจำนวนผู้เข้าเมืองต่อปีจากประเทศใด ๆ เหลือร้อยละ 3 ของจำนวนประชากรทั้งหมดจากประเทศนั้นที่อาศัยอยู่ในสหรัฐในปี 2453 ขบวนการสนับสนุนการจำกัดการเข้าเมืองซึ่งคณะกรรมการดิลลิงแฮมช่วยส่งเสริมนั้นลงเอยด้วยสูตรถิ่นกำเนิดชาติ (National Origins Formula) ส่วนหนึ่งของรัฐบัญญัติการเข้าเมือง ค.ศ. 1924 ซึ่งจำกัดการเข้าเมืองชาติที่ 150,000 คนต่อปีและห้ามการเข้าเมืองจากทวีปเอเชียโดยสิ้นเชิง[111]

ใกล้เคียง

การเข้ารหัสทางประสาท การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต การเข้าเมืองกับอาชญากรรม การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ การเขียนโปรแกรมเชิงแข่งขัน การเข้าตีเจาะ (การสงคราม) การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การเข้ารหัส การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน การเขียน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเข้าเมืองกับอาชญากรรม http://works.bepress.com/matthew_freedman/27/ http://www.dw.com/en/report-refugee-related-crimes... http://www.dw.com/en/report-refugees-have-not-incr... http://www.informaworld.com/openurl?genre=article&... http://www.izajom.com/content/3/1/12/abstract http://oxfordhandbooks.com/view/10.1093/oxfordhb/9... http://oxfordhandbooks.com/view/10.1093/oxfordhb/9... http://oxfordhandbooks.com/view/10.1093/oxfordhb/9... http://www.pdf-archive.com/2011/05/08/br-1996-2-in... http://www.politifact.com/truth-o-meter/statements...