ทั่วโลก ของ การเข้าเมืองกับอาชญากรรม

การวิจัยเชิงประจักษ์จำนวนมากเรื่องความสัมพันธ์เชิงเหตุระหว่างการเข้าเมืองกับอาชญากรรมมีข้อจำกัดเนื่องจากมีเครื่องมือสำหรับกำหนดเหตุภาพอ่อน[1] นักเศรษฐศาสตร์ผู้หนึ่งเขียนในปี 2557 ว่า "แม้มีงานวิจัยหลายฉบับซึ่งบันทึกสหสัมพันธ์ต่าง ๆ ระหว่างผู้เข้าเมืองกับอาชญากรรมสำหรับหลายประเทศและระยะเวลา แต่ส่วนใหญ่มิได้จัดการกับปัญหาเหตุภาพอย่างจริงจัง"[2] ปัญหาเหตุภาพส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งของผู้เข้าเมืองเป็นแบบภายใน (endogenous) หมายความว่า ผู้เข้าเมืองมักอยู่ในพื้นที่ขาดแคลนซึ่งมีอาชญากรรมสูงกว่า (เพราะไม่สามารถอาศัยอยู่ในพื้นที่ค่าครองชีพแพงกว่าได้) หรือเพราะมีแนวโน้มอยู่ในพื้นที่ที่มีประชากรผู้อยู่อาศัยซึ่งมีภูมิหลังชาติพันธุ์เดียวกันจำนวนมาก[3] เอกสารข้อมูลจำนวนเพิ่มขึ้นที่อาศัยเครื่องมือที่เข้มข้นให้ข้อค้นพบที่คละกัน[3][4][5][6][7][8][9][10] นักเศรษฐศาสตร์ผู้หนึ่งอธิบายเอกสารข้อมูลที่มีอยู่ในปี 2557 ว่า "การวิจัยสำหรับสหรัฐส่วนมากบ่งชี้ว่าถ้ามีสนธิการใด สนธิการนี้เป็นลบ... ขณะที่ผลสำหรับทวีปยุโรปคละกันสำหรับอาชญากรรมทรัพย์สินแต่ไม่พบสนธิการสำหรับอาชญากรรมรุนแรง"[3] นักเศรษฐศาสตร์อีกผู้หนึ่งเขียนในปี 2557 อธิบายว่า ""หลักฐานที่ยึดการศึกษาเชิงประจักษ์ของหลายประเทศบ่งชี้ว่าไม่มีความเชื่อมโยงเชิงเดียวระหว่างการเข้าเมืองกับอาชญากรรม แต่การทำให้สถานภาพของผู้เข้าเมืองถูกต้องตามกฎหมายมีผลเป็นประโยชน์ต่ออัตราอาชญากรรม"[2] บทปฏิทัศน์ปี 2552 ของเอกสารข้อมูลที่เน้นการศึกษาล่าสุดคุณภาพสูงจากสหรัฐพบว่า การเข้าเมืองโดยทั่วไปมิได้เพิ่มอาชญากรรม อันที่จริง มักกลับลดเสียด้วยซ้ำ[11]

ความสัมพันธ์ระหว่างอาชญากรรมและสถานภาพทางกฎหมายของผู้เข้าเมืองยังมีการศึกษาน้อย[12] แต่การศึกษาโครงการนิรโทษกรรมในสหรัฐและประเทศอิตาลีเสนอว่าสถานภาพทางกฎหมายสามารถอธิบายข้อแตกต่างในอาชญากรรมระหว่างผู้เข้าเมืองชอบด้วยกฎหมายและไม่ชอบด้วยกฎหมายได้เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งน่าจะเป็นเพราะสถานภาพทางกฎหมายนำไปสู่โอกาสตลาดอาชีพที่ดีกว่าสำหรับผู้เข้าเมืองมากที่สุด[2][13][14][15][16][17] ทว่า การศึกษาหนึ่งพบว่ารัฐบัญญัติปฏิรูปและควบคุมการเข้าเมือง (IRCA) ค.ศ. 1986 นำไปสู่การเพิ่มอาชญากรรมในหมู่ผู้เข้าเมืองไม่มีเอกสารเดิม[18]

การวิจัยที่มีอยู่เสนอว่าโอกาสตลาดแรงานมีผลกระทบสำคัญต่ออัตราอาชญากรรมของผู้เข้าเมือง[2][10] ผู้เข้าเมืองมีการศึกษาชายหนุ่มยากจนมีความน่าจะเป็นปัจเจกของการจำคุกสูงสุดในบรรดาผู้เข้าเมือง[19] การวิจัยเสนอว่าการจัดสรรผู้เข้าเมืองสู่ย่านอาชญากรรมสูงเพิ่มความโน้มเอียงอาชญากรรมของผู้เข้าเมืองปัจเจกในระยะต่อมาของชีวิตเนื่องจากมีอันตรกิริยาทางสังคมกับอาชญากรรม[20]

บางปัจจัยอาจมีผลต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลเรื่องอัตราการต้องสงสัย อัตราอาชญากรรม อัตราการพิพากษาลงโทษและประชากรเรือนจำสำหรับการหาข้อสรุปเกี่ยวกับการเกี่ยวข้องโดยรวมของผู้เข้าเมืองในกิจกรรมอาชญากรรม ได้แก่

  • การปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ เช่น โพรไฟล์เชื้อชาติ (racial profiling) การตรวจตราเกินในพื้นที่ที่มีผู้เข้าเมืองหรืออคติในกลุ่มอาจทำให้มีจำนวนผู้เข้าเมืองสูงไม่เป็นสัดส่วนในหมู่ผู้ต้องสงสัยอาชญากรรม[21][22][23][24][25][26][27][28][29]
  • การเลือกปฏิบัติที่อาจเกิดขึ้นโดยระบบตุลาการอาจเพิ่มจำนวนการพิพากษาลงโทษ[21][25][27][30][31][32][33][34][35][36][37][38]
  • คำวินิจฉัยการประกันตัวและคำพิพากษาลงโทษที่ไม่ช่วยเหลือเนื่องจากความง่ายของคนต่างด้าวในการหลบหนี การขาดภูมิลำเนา การขาดการจ้างงานเป็นประจำและการขาดครอบครัวที่สามารถให้ที่พักอาศัยแก่ปัจเจกสามารถอธิบายอัตราการกักขังที่สูงกว่าของผู้เข้าเมืองเมื่อเทียบกับสัดส่วนการพิพากษาลงโทษโดยสัมพัทธ์กับประชากรท้องถิ่น[39][40]
  • คนพื้นเมืองอาจมีแนวโน้มรายงานอาชญากรรมเมื่อตนเชื่อว่าผู้ก่อเหตุมีภูมิหลังเป็นผู้เข้าเมือง[41]
  • การจำคุกสำหรับความผิดการย้ายถิ่น ซึ่งพบมากกว่าในหมู่ผู้เข้าเมือง จำเป็นต้องนำมาพิจารณาด้วยสำหรับการเปรียบเทียบอย่างมีความหมายระหว่างการมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมโดยรวมของผู้เข้าเมืองกับคนพื้นเมือง[19][27][42][43]
  • คนต่างด้าวที่ถูกจำคุกสำหรับความผิดยาเสพติดอาจมิได้อาศัยอยู่ในประเทศที่ตนกำลังรับโทษอยู่จริง แต่ถูกจับกุมขณะกำลังผ่านแดน[19]
  • การข่มขืนกระทำชำเราโดยคนแปลกหน้ามีแนวโน้มรายงานต่อตำรวจมากกว่าการข่มขืนกระทำชำเราโดยคนรู้จักมาก[44]

ความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าเมืองกับการก่อการร้ายยังมีการศึกษาน้อย การศึกษาในปี 2559 พบว่าระดับการย้ายถิ่นที่สูงกว่าสัมพันธ์กับระดับการก่อการร้ายที่ต่ำกว่าในประเทศให้อาศัย แต่การย้ายถิ่นจากรัฐที่มีแนวโน้มก่อการร้ายเพิ่มความเสี่ยงการก่อการร้ายในประเทศให้อาศัย[45] แต่ผู้ประพันธ์หมายเหตุว่า "เฉพาะผู้ย้ายถิ่นส่วนน้อยจากรัฐที่มีการก่อการร้ายสูงเท่านั้นที่สามารถสัมพันธ์กับการเพิ่มการก่อการร้าย และไม่จำเป็นต้องเป็นความสัมพันธ์ทางตรง"[45]

ใกล้เคียง

การเข้ารหัสทางประสาท การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต การเข้าเมืองกับอาชญากรรม การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ การเขียนโปรแกรมเชิงแข่งขัน การเข้าตีเจาะ (การสงคราม) การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การเข้ารหัส การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน การเขียน

แหล่งที่มา

WikiPedia: การเข้าเมืองกับอาชญากรรม http://works.bepress.com/matthew_freedman/27/ http://www.dw.com/en/report-refugee-related-crimes... http://www.dw.com/en/report-refugees-have-not-incr... http://www.informaworld.com/openurl?genre=article&... http://www.izajom.com/content/3/1/12/abstract http://oxfordhandbooks.com/view/10.1093/oxfordhb/9... http://oxfordhandbooks.com/view/10.1093/oxfordhb/9... http://oxfordhandbooks.com/view/10.1093/oxfordhb/9... http://www.pdf-archive.com/2011/05/08/br-1996-2-in... http://www.politifact.com/truth-o-meter/statements...