การแจกแจงปรกติ
การแจกแจงปรกติ

การแจกแจงปรกติ

สำหรับทฤษฎีความน่าจะเป็น การแจกแจงปรกติ (อังกฤษ: normal distribution) เป็นการแจกแจงความน่าจะเป็นของค่าของตัวแปรสุ่มที่เป็นค่าแบบต่อเนื่อง โดยที่ค่าของตัวแปรสุ่มมีแนวโน้มที่จะมีค่าอยู่ใกล้ ๆ กับค่า ๆ หนึ่ง (เรียกว่าค่ามัชฌิม)กราฟแสดงค่าฟังก์ชันความหนาแน่น (probability density function) จะเป็นรูปคล้ายระฆังคว่ำ หรือเรียกว่า Gaussian function โดยค่าฟังก์ชันความหนาแน่นของการแจกแจงปรกติ ได้แก่โดย "x" แทนตัวแปรสุ่ม พารามิเตอร์ μ แสดงค่ามัชฌิม และ σ 2 คือค่าความแปรปรวน (variance) ซึ่งเป็นค่าที่ใช้บอกปริมาณการกระจายของการแจกแจงการแจกแจงปรกติที่มีค่า μ = 0 และ σ 2 = 1 จะถูกเรียกว่า การแจกแจงปรกติมาตรฐานการแจกแจงปรกติเป็นการแจกแจงที่เด่นที่สุดในทางวิชาความน่าจะเป็นและสถิติศาสตร์ ซึ่งก็มาจากหลาย ๆ เหตุผล[1] ซึ่งก็รวมถึงผลจากทฤษฎีบทขีดจํากัดกลาง (central limit theorem) ที่กล่าวว่า ภายใต้สภาพทั่ว ๆ ไปแล้ว ค่าเฉลี่ยจากการสุ่มค่าของตัวแปรสุ่มอิสระจากการแจกแจงใด ๆ (ที่มีค่าเฉลี่ยและค่าความแปรปรวนจำกัด) ถ้าจำนวนการสุ่มนั้นใหญ่พอ แล้วค่าเฉลี่ยนั้นจะมีการแจกแจงประมาณได้เป็นการแจกแจงปรกติ

การแจกแจงปรกติ

ฟังก์ชันค้ำจุน: x ∈ R
ความเบ้: 0
Fisher information: ( 1 / σ 2 0 0 1 / ( 2 σ 4 ) ) {\displaystyle {\begin{pmatrix}1/\sigma ^{2}&0\\0&1/(2\sigma ^{4})\end{pmatrix}}}
ตัวแปรเสริม: μ ∈ R — mean (location)
σ2 > 0 — variance (squared scale)
มัธยฐาน: μ
เอนโทรปี: 1 2 ln ⁡ ( 2 π e σ 2 ) {\displaystyle {\tfrac {1}{2}}\ln(2\pi e\,\sigma ^{2})}
ค่าเฉลี่ย: μ
สัญกรณ์: N ( μ , σ 2 ) {\displaystyle {\mathcal {N}}(\mu ,\,\sigma ^{2})}
ความโด่งส่วนเกิน: 0
ความแปรปรวน: σ2
cf: exp ⁡ { i μ t − 1 2 σ 2 t 2 } {\displaystyle \exp\{i\mu t-{\tfrac {1}{2}}\sigma ^{2}t^{2}\}}
cdf: 1 2 [ 1 + erf ⁡ ( x − μ 2 σ 2 ) ] {\displaystyle {\frac {1}{2}}{\Big [}1+\operatorname {erf} {\Big (}{\frac {x-\mu }{\sqrt {2\sigma ^{2}}}}{\Big )}{\Big ]}}
ฐานนิยม: μ
pdf: 1 2 π σ 2 e − ( x − μ ) 2 2 σ 2 {\displaystyle {\tfrac {1}{\sqrt {2\pi \sigma ^{2}}}}\,e^{-{\frac {(x-\mu )^{2}}{2\sigma ^{2}}}}}
mgf: exp ⁡ { μ t + 1 2 σ 2 t 2 } {\displaystyle \exp\{\mu t+{\tfrac {1}{2}}\sigma ^{2}t^{2}\}}

ใกล้เคียง

การแจกจ่ายลินุกซ์ การแจกแจงปรกติ การแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน การแจกแจงความน่าจะเป็น การแจกแจง การแจกแจงปรกติหลายตัวแปร การแจกแจงแบบเลขชี้กำลัง การแจกแจงแบร์นุลลี การแจกแจงไคกำลังสอง การแจกแจงเอกรูปไม่ต่อเนื่อง