การเปลี่ยนทัศนคติ ของ การแปลการพินิจภายในผิด

งานวิจัยที่ให้ผู้ร่วมการทดลองพินิจในภายในเพื่อหาเหตุ (ในการชอบ การเลือก หรือว่า การเชื่อ ในบางสิ่งบางอย่าง) บ่อยครั้งจะเห็นความเกี่ยวเนื่องกันของทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ร่วมการทดลองที่ลดลงหลังจากการพินิจภายในนั้น[24] ยกตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. 1984 มีการให้ผู้ร่วมการทดลองให้คะแนนว่า ตนมีความสนใจเกี่ยวกับเกมปริศนาที่ได้รับในระดับไหนแต่ก่อนที่จะให้คะแนน มีการให้กลุ่มหนึ่งคิดถึงและเขียนเหตุผลที่ชอบหรือไม่ชอบเกมปริศนา ในขณะที่กลุ่มควบคุมไม่ต้องทำหลังจากนั้น ก็จะมีการบันทึกเวลาที่ผู้ร่วมการทดลองใช้เล่นแก้ปัญหาปริศนาปรากฏว่าสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่ให้และเวลาที่เล่นของกลุ่มทดลอง มีระดับที่ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมมาก[25]

งานทดลองที่ติดตามมาตรวจดูว่า ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นในสถานการณ์จริง ๆ หรือไม่คือ ในงานนี้ ผู้ร่วมการทดลองล้วนแต่มีแฟนที่ไปมาหาสู่กันอย่างสม่ำเสมอแล้วมีการให้ผู้ร่วมการทดลองให้คะแนนว่า ตนเข้ากันได้ดีกับแฟนในระดับไหนมีการให้กลุ่มหนึ่งทำรายการเหตุผลว่าทำไมตนจึงมีความรู้สึกเช่นนั้น ๆ กับแฟนในขณะที่กลุ่มควบคุมไม่ต้องทำอีกหกเดือนต่อมา มีการเช็คผู้ร่วมการทดลองว่ายังมีแฟนคนเดียวกันหรือไม่กลุ่มที่มีการพินิจภายในมีความสอดคล้องกันระหว่างทัศนคติ-พฤติกรรม ซึ่งก็คือระดับสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่ให้และการมีแฟนคนเดียวกัน ในระดับที่ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมผลงานทดลองแสดงว่า การพินิจภายในไม่ใช่เพียงแต่เป็นตัวพยากรณ์ที่ไม่ดีเท่านั้น แต่ว่า การพินิจภายในเองอาจจะมีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ฉันแฟนนั้น[25]

ผู้ทำงานวิจัยมีทฤษฎีว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมีเหตุมาจากผู้ร่วมการทดลองเปลี่ยนทัศนคติเมื่อต้องอธิบายเหตุผลความรู้สึกของตน โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนพฤติกรรม ทำให้ระดับสหสัมพันธ์ระหว่างองค์สองอย่างนี้ลดลงผู้ทำงานวิจัยมีสมมติฐานว่า การเปลี่ยนทัศนคติเป็นผลจากองค์ประกอบหลายอย่างคือ

  • ความต้องการจะเลี่ยงความรู้สึกว่าเหลวไหลที่ไม่รู้แม้เพียงว่าทำไมตนจึงรู้สึกอย่างนี้
  • ความโน้มเอียงในการอ้างเหตุที่ต้องเป็นเรื่องสมเหตุสมผล แม้ว่าจริง ๆ แล้วเป็นเรื่องความรู้สึกทางอารมณ์ที่เกิดขึ้น
  • การไม่รู้จักความเอนเอียงทางจิตต่าง ๆ
  • และความเชื่อว่า เหตุผลที่ตนคิดต้องตรงกับทัศนคติที่ตนมี

สาระสำคัญก็คือ เราพยายามที่จะสร้างเหตุผลที่ดีเมื่อต้องอธิบายเหตุผล ซึ่งมักจะนำไปสู่การกล่อมตนเองว่า ตนจริง ๆ มีความเชื่อ (คือมีทัศนคติ) อีกอย่างหนึ่ง (ที่ไม่เข้ากับพฤติกรรม)[24]

ส่วนในงานทดลองที่ผู้ร่วมการทดลองเลือกสิ่งของที่จะเก็บไว้ ปรากฏว่ารายงานถึงความพอใจต่อสิ่งของนั้นจะลดระดับหลังจากการเลือกนั้นซึ่งบอกเป็นนัยว่า ทัศนคติมีการเปลี่ยนไปเพียงชั่วคราว แต่จะกลับไปที่ระดับเดิมเมื่อเวลาผ่านไป[26] (คือการพินิจภายในมีผลเปลี่ยนทัศนคติหรือการแสดงความชอบใจในสิ่งนั้น แต่มีผลเพียงชั่วคราว ความชอบใจในสิ่งนั้นจะกลับไปที่จุดเดิม)

การพินิจความรู้สึกภายใน

ตรงกันข้ามกับการพินิจภายในที่อาศัยเหตุผล เมื่อผู้ร่วมการทดลองทำการพินิจความรู้สึกภายใน ปรากฏกว่า ระดับสหสัมพันธ์ของทัศนคติ-พฤติกรรมจะเพิ่มขึ้น[24] ซึ่งบอกเป็นนัยว่า การพินิจความรู้สึกภายใน ไม่ใช่เป็นกระบวนการที่ก่อโทษมากกว่าประโยชน์ (คือไม่เป็น maladaptive)

ใกล้เคียง

การแปลการพินิจภายในผิด การแปลสิ่งเร้าผิด การแปรผันทางพันธุกรรม การแปลงหน่วยอุณหภูมิ การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ การแปลงฟูรีเย การแปลงพื้นที่เพื่อเปลี่ยนชนชั้น การแปลงโคไซน์ไม่ต่อเนื่อง การแปลสัมผัสผิด

แหล่งที่มา

WikiPedia: การแปลการพินิจภายในผิด http://www.rotman.utoronto.ca/facbios/file/Djikic,... http://www.familyanatomy.com/2009/11/04/people-alw... http://www.msnbc.msn.com/id/9616467/ http://www.newscientist.com/article/mg20227046.400... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://www.ic.arizona.edu/ic/psyc358/358-Lect_6.ht... http://isites.harvard.edu/fs/docs/icb.topic67047.f... http://www.wjh.harvard.edu/~wegner/pdfs/Pronin,%20... http://mitpress.mit.edu/catalog/item/default.asp?t...