ความบอดต่อการเลือก ของ การแปลการพินิจภายในผิด

นักวิจัยกลุ่มหนึ่งที่ได้แรงจูงใจจากงานของนิสเบ็ตต์และวิลสัน ได้ตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของผู้ร่วมการทดลอง เกี่ยวกับความชอบใจของตนโดยใช้เทคนิคใหม่คือ มีการให้ผู้ร่วมการทดลองดูรูปบุคคลสองรูป แล้วถามว่า คนไหนสวยหรือหล่อกว่าหลังจากนั้น ก็จะให้ผู้ร่วมการทดลองดูรูปที่ "เลือก" อย่างละเอียดอีกทีหนึ่ง แล้วให้อธิบายเหตุการตัดสินเลือกรูปของตนแต่ว่า ในการทดลองส่วนหนึ่ง ผู้ทำการทดลองจริง ๆ แล้วจะให้ผู้ร่วมการทดลองดูรายละเอียดอีกทีของรูปที่ตนไม่ได้เลือก โดยสลับรูปที่อยู่ในมือโดยใช้เทคนิคของนักมายากล[15] ผู้ร่วมการทดลองโดยมากสังเกตไม่ได้ว่า รูปที่กำลังดูจริง ๆ แล้ว ไม่ใช่รูปที่ตนเองเลือกไม่กี่วินาทีก่อนแต่ว่า ผู้ร่วมการทดลองเป็นจำนวนมากจะกุคำอธิบายว่า ทำไมถึงชอบใจรูปนั้นยกตัวอย่างเช่น ชายคนหนึ่งกล่าวว่า "ผมชอบรูปนี้เพราะว่าผมชอบคนมีผมสีทอง" ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้ว ตนเลือกเอารูปผู้หญิงมีผมสีเข้ม แต่ผู้ทำการทดลองยื่นรูปหญิงผมสีทองให้ (ว่าเป็นรูปที่เขาเลือก)[9] เพราะฉะนั้น คำอธิบายของผู้ร่วมการทดลองต้องเป็นเรื่องที่กุขึ้น เพราะว่า เป็นคำอธิบายการกระทำที่ความจริงแล้วตนไม่ได้ทำ[16]

แม้ว่า ผู้ร่วมการทดลองประมาณ 70% จะถูกหลอก คือไม่มีความสงสัยอะไรเลยว่าได้มีอะไรแปลก ๆ เกิดขึ้น แต่ว่า คำให้การของผู้ร่วมการทดลองที่ถูกหลอกร้อยละ 84 หลังจากผ่านการทดลองแล้วกลับบอกว่าตนคิดว่าจะสามารถตรวจจับการเปลี่ยนรูปอย่างนี้ได้ถ้าทำต่อหน้า นักวิจัยได้บัญญัติคำว่า "choice blindness" (ความบอดต่อการเลือก) ว่าหมายถึง ความล้มเหลวในการตรวจจับความไม่ตรงกัน (ระหว่างสิ่งที่ตนเลือก กับสิ่งที่กล่าวถึงในภายหลัง)[17]

งานทดลองที่ติดตามมาอีกงานหนึ่ง ให้คนที่กำลังช็อปปิ้งอยู่ในซูเปอร์มาร์เก็ตชิมรสชาติของแยมสองอย่าง แล้วให้อธิบายว่าทำไมจึงเลือกแยมชนิดนั้นในขณะที่ชิมแยมที่ "เลือก" อีกซึ่งผู้ทำการทดลองสับเปลี่ยน นอกจากนั้นแล้ว ก็ยังมีอีกงานทดลองหนึ่งที่ทำโดยใช้การชิมชาอีกด้วย[18] และก็ยังมีงานทดลองแบบเดียวกับอีกงานหนึ่ง ที่ให้ผู้ร่วมการทดลองเลือกวัตถุสองอย่างที่แสดงในสไลด์ของไมโครซอฟท์ พาวเวอร์พอยต์ แล้วให้อธิบายเหตุผลที่เลือก ทั้ง ๆ ที่ความจริงได้มีการสับเปลี่ยนสิ่งที่ตนเลือกแล้ว[19]

งานวิจัยอีกงานหนึ่งที่มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น ก็ยังแสดงหลักฐานคัดค้านความคิดว่า ผู้ร่วมการทดลองสามารถเข้าใจโดยการพินิจภายในว่า ลักษณะอะไรในคนอื่นเป็นตัวดึงดูดความสนใจของตนคือนักวิจัยตรวจสอบรายงานของผู้ร่วมการทดลองว่า อะไรเป็นตัวดึงดูดความสนใจของตนในเพศตรงกันข้ามผู้ชายมักจะรายงานว่า รูปร่างความสวยงามเป็นเรื่องสำคัญ ในขณะที่ผู้หญิงมักจะรายงานว่า ความสามารถในการหารายได้เป็นเรื่องสำคัญที่สุดแต่ว่า ผลจากรายงานไม่สามารถใช้พยากรณ์การเลือกคู่ออกเดตได้ และไม่สามารถพยากรณ์พฤติกรรมเกี่ยวกับคู่ที่เลือกหนึ่งเดือนหลังจากนั้น[20]

โดยสอดคล้องกับทฤษฎีความบอดต่อการเลือกนักวิจัยพบว่า เราสามารถถูกหลอกให้เชื่อได้ง่าย ๆ โดยใช้ตัวเตือนความจำที่ผิด ๆ ว่าเราได้เลือกอะไรสิ่งหนึ่งที่ความจริงแล้วไม่ได้เลือก มีผลเป็นการแสดง choice-supportive bias (ความเอนเอียงสนับสนุนการเลือก) ในความทรงจำไม่ว่าจะเชื่อว่าได้เลือกอะไร[21]

คำวิจารณ์

ยังไม่ชัดเจนว่า การค้นพบเกี่ยวกับความบอดต่อการเลือกมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตจริงหรือไม่ เพราะว่า เรามีเวลามากกว่าที่จะคิดถึงและใช้ข้อมูลเกี่ยวกับใบหน้าที่เห็น (แทนที่จะเป็นรูป)[22] นักวิชาการท่านหนึ่งบ่งว่า

แม้ว่าทฤษฎี (คำอธิบาย) ที่ไม่ได้อาศัยประสบการณ์จะเป็นองค์ประกอบสำคัญของคำอธิบายเหตุการกระทำของเรา

แต่ไม่ใช่เป็นองค์ประกอบเดียวที่มีอิทธิพล เหมือนอย่างที่นิสเบ็ตต์และวิลสันได้ตั้งสมมติฐานไว้ตั้งแต่ต้น(คือ) ผู้กระทำจะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่คนอื่นไม่มี รวมทั้งการเข้าถึงโดยการพินิจภายในในระดับหนึ่งเกี่ยวกับสิ่งเร้าที่เป็นเหตุในประเด็น และเกี่ยวกับกระบวนการทางความคิดและมีข้อมูลที่ดีกว่า (คนอื่น) เกี่ยวกับความแปรปรวนร่วมเกี่ยวระหว่างสิ่งเร้า-ปฏิกิริยา ในเรื่องพฤติกรรมของตนเอง[23]

ใกล้เคียง

การแปลการพินิจภายในผิด การแปลสิ่งเร้าผิด การแปรผันทางพันธุกรรม การแปลงหน่วยอุณหภูมิ การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ การแปลงฟูรีเย การแปลงพื้นที่เพื่อเปลี่ยนชนชั้น การแปลงโคไซน์ไม่ต่อเนื่อง การแปลสัมผัสผิด

แหล่งที่มา

WikiPedia: การแปลการพินิจภายในผิด http://www.rotman.utoronto.ca/facbios/file/Djikic,... http://www.familyanatomy.com/2009/11/04/people-alw... http://www.msnbc.msn.com/id/9616467/ http://www.newscientist.com/article/mg20227046.400... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://www.ic.arizona.edu/ic/psyc358/358-Lect_6.ht... http://isites.harvard.edu/fs/docs/icb.topic67047.f... http://www.wjh.harvard.edu/~wegner/pdfs/Pronin,%20... http://mitpress.mit.edu/catalog/item/default.asp?t...