ความเชื่อถือไม่ได้ของการพินิจภายใน ของ การแปลการพินิจภายในผิด

การพินิจภายในไม่ได้ให้ข้อมูลโดยตรงเกี่ยวกับกระบวนการจิตใต้สำนึก

แต่ควรจะพิจารณาว่า เป็นกระบวนการที่เราใช้ส่วนประกอบ (content) ของจิตใจเพื่อสร้างคำอธิบายเกี่ยวกับตน (personal narrative)

ซึ่งอาจจะตรงหรือไม่ตรงกับสภาพจิตใต้สำนึกก็ได้

จากบทความ Self-Knowledge: Its Limits, Value, and Potential for Improvement (ความรู้ตน จุดจำกัด คุณค่า และโอกาสการพัฒนา)[7]

ในผลงานวิจัยปี ค.ศ. 1977 นักจิตวิทยาริชารด์ นิสเบ็ตต์ และทิมโมที วิลสัน คัดค้านความคิดว่า การพินิจภายในนั้นเข้าถึงกระบวนการจิตใจได้โดยตรง และเชื่อถือได้ซึ่งกลายเป็นผลงานวิจัยที่มีการอ้างอิงกันมากที่สุดในงานวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับจิตใจ[8][9] เป็นผลงานที่รายงานการทดลองที่ผู้ร่วมการทดลองต้องอธิบายทางปากว่า ทำไมจึงมีความชอบใจอย่างใดอย่างหนึ่งหรือว่า มีความคิดอย่างนี้ได้อย่างไรโดยอาศัยข้อมูลจากงานเหล่านี้ และงานวิจัยเกี่ยวกับการอ้างเหตุ (attribution หรือ การบ่งชี้เหตุ) อื่น ๆนักวิจัยทั้งสองสรุปว่า รายงานเกี่ยวกับกระบวนการทางจิตใจของตนเป็นเรื่องกุขึ้น (confabulated)โดยรายงานว่า ผู้ร่วมการทดลอง "ไม่มีหรือแทบไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการทางประชาน (cognitive process) ในระดับสูงโดยการพินิจภายใน"[10] นักวิจัยแยกแยะระหว่าง ส่วนประกอบของจิตใจ (contents) เช่นความรู้สึก และกระบวนการของจิต (process)โดยอ้างว่า การพินิจภายในสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับส่วนประกอบของจิตได้ แต่กระบวนการนั้นเข้าถึงไม่ได้[8]

ผลงานวิจัยต่าง ๆ ยืนยันว่า มนุษย์มีวิวัฒนาการเกี่ยวกับการพินิจภายในที่มีสมรรถภาพจำกัด รูปแสดงประสาทสัมผัสของมนุษย์

แม้ว่าจะมีงานทดลองที่สืบมาจากงานของนิสเบ็ตต์และวิลสันมาบ้างแต่ความยากลำบากในการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับข้อมูลที่เข้าถึงได้โดยการพินิจภายใน มีผลให้ไม่มีการพัฒนาด้านผลงานวิจัยในประเด็นนี้[9] งานปริทัศน์ที่ทำ 10 ปีให้หลังคัดค้านงานวิจัยดั้งเดิมนั้นหลายอย่างรวมทั้งตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับนิยามของคำว่า "กระบวนการ" ที่ใช้ และเสนอว่า การทดสอบที่ชัดเจนไม่คลุมเครือ ว่าการพินิจภายในสามารถให้ข้อมูลอะไรเกี่ยวกับจิตใจได้ เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก[3]

ในปี ค.ศ. 2002 วิลสันยอมรับว่า ข้ออ้างที่ได้ทำในปี ค.ศ. 1977 นั้นกว้างเกินไป[10] และได้เปลี่ยนมามีความเห็นว่า adaptive unconscious (กระบวนการจิตใต้สำนึก ที่เป็นการปรับตัวของมนุษย์ให้เข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อม) เป็นกระบวนการที่เป็นเหตุแห่งการรับรู้ (perception) และพฤติกรรม โดยมากและเมื่อให้เรารายงานถึงกระบวนการทางจิตใจของเราเอง เราจะไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการที่เป็นไปใต้สำนึกของจิตใจเหล่านี้ได้[11] แต่แทนที่เราจะยอมรับว่า ไม่รู้ เรากับกุคำอธิบาย (confabulate) ที่พอเป็นไปได้ขึ้นและดูเหมือนจะไม่เข้าใจว่าตนเองไม่รู้[12]

มีไอเดียทางปรัชญาบางอย่าง (eliminative materialism) ว่า มนุษย์อาจมีความเข้าใจผิดบางอย่างเกี่ยวกับการทำงานของจิตใจของตนและว่า แนวคิดในเรื่องบางเรื่องเช่น "ความเชื่อ" หรือว่า "ความเจ็บปวด" จะปรากฏความจริงทางวิทยาศาสตร์ที่แตกต่างไปจากที่คิดกันทุกวันนี้

นักจิตวิทยาเรียกการเดาอย่างผิด ๆ ที่เราใช้อธิบายกระบวนการความคิดของตนเองว่า "causal theories" (ทฤษฎีเหตุผล)[13]คือว่า คำอธิบายของเรา (ที่นักจิตวิทยาเรียกว่าทฤษฎีเหตุผล) เกี่ยวกับเหตุของการกระทำที่ทำแล้ว มักจะใช้เพียงเพื่อแก้ต่างพฤติกรรมของตน เพื่อบรรเทาความไม่ลงรอยกันทางประชาน (cognitive dissonance)ซึ่งก็หมายความว่า เราอาจจะไม่ได้สังเกตเห็นเหตุจริง ๆ ของพฤติกรรมของตน แม้ว่ากำลังพยายามที่จะอธิบายอยู่ผลก็คือ คำอธิบายที่เรามีมักจะเป็นไปเพื่อความรู้สึกที่ดีขึ้นเกี่ยวกับตัวเราเท่านั้นตัวอย่างหนึ่งก็คือ ชายคนหนึ่งอาจจะมีการเลือกปฏิบัติต่อคนรักร่วมเพศ เพราะว่าตนจริง ๆ แล้วอายว่า มีความรู้สึกชอบใจผู้ชายอื่นเขาอาจจะยอมรับความจริงนี้แม้ต่อตัวเองก็ไม่ได้ แต่อธิบายความเดียดฉันท์ของตนว่า เป็นเพราะว่าการรักร่วมเพศไม่เป็นธรรมชาติ

มีงานวิจัยที่วัดขอบเขตความแม่นยำของการพินิจภายใน โดยรวบรวมรายงานจากหญิงคนหนึ่งที่สมมุติชื่อว่า เมลานี่เมลานี่จะพกวิทยุตามตัวตัวหนึ่ง ที่จะส่งเสียงโดยสุ่ม เพื่อให้เธอสังเกตว่า เธอกำลังรู้สึกและคิดอะไรอยู่แต่เมื่อทำการวิเคราะห์รายงานของเธอแล้ว นักวิจัยกลับมีความคิดต่าง ๆ กันเกี่ยวกับผลที่ได้เกี่ยวกับการตีความที่ถูกต้องของสิ่งที่เมลานี่อ้าง และเกี่ยวกับความแม่นยำของการพินิจภายในของเธอหลังจากการถกเถียงที่ไม่ได้จบลงในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ นักวิจัยทั้งสองมีข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องนี้แตกต่างกันคนหนึ่งมองในแง่ดี และอีกคนหนึ่งมองในแง่ร้าย ในประเด็นความแม่นยำของการพินิจภายใน[14]

องค์ประกอบของความแม่นยำ

นิสเบ็ตต์และวิลสันมีสมมติฐานเกี่ยวกับองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความแม่นยำของการพินิจทางประชานภายในที่รายงานด้วยตนเอง คือ[8]

  • ความเข้าถึงได้ง่าย (Availability) คือ สิ่งเร้าที่ชัดเจน (เนื่องจากพึ่งเกิดขึ้นหรือว่าน่าจดจำ) ที่สามารถระลึกถึงได้ง่ายกว่า ก็จะได้รับพิจารณาว่าเป็นเหตุของการตอบสนองที่เกิดขึ้นหรือไม่
  • ความพอเป็นไปได้ (Plausibility) คือ สิ่งเร้าที่เราเห็นว่า มีโอกาสเพียงพอที่จะเป็นเหตุของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ก็จะมีอิทธิพลต่อการรายงานถึงสิ่งเร้านั้นว่าเป็นเหตุ
  • การย้ายออกไปตามเวลา (Removal in time) คือ การเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ยิ่งผ่านมาแล้วนานเท่าไร ก็จะเข้าถึงได้ยากขึ้น คือระลึกถึงได้อย่างแม่นยำน้อยลงเท่านั้น
  • กลไกการตัดสินใจ (Mechanics of judgment) มีองค์ประกอบทางการตัดสินใจที่เราไม่รู้ว่ามีอิทธิพลต่อเรา ทำให้การรายงานตนมีความคลาดเคลื่อน
  • สิ่งแวดล้อม (Context) การเพ่งเล็งใส่ใจในสิ่งแวดล้อมของวัตถุ จะทำให้เขวไปจากการประเมินวัตถุนั้น ๆ และสามารถทำให้เราเชื่ออย่างผิด ๆ ว่า สิ่งแวดล้อมของวัตถุเป็นตัวแทนของวัตถุนั้น
  • การไม่เกิดขึ้นของเหตุการณ์ (Nonevents) คือ การไม่เกิดขึ้นของเหตุการณ์จะมีความชัดเจนน้อยกว่า แล้วเข้าถึงได้ยากมากกว่า ทำให้การไม่เกิดขึ้นของเหตุการณ์มีอิทธิพลน้อยมากต่อการรายงานตน
  • พฤติกรรม (ของผู้อื่น)ที่ไม่ใช้เสียง (Nonverbal behavior) คือ แม้ว่าเราจะได้รับข้อมูลมหาศาลเกี่ยวกับคนอื่นโดยพฤติกรรมที่ไม่ใช้เสียง แต่สมรรถภาพการสื่อสารที่ดีของคำพูด และความยากลำบากในการแปลพฤติกรรมอื่น ๆ ให้เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับคำพูด ทำให้มีการรายงานถึงพฤติกรรมเหล่านี้น้อยกว่า
  • ความแตกต่างกันระหว่างขนาดของเหตุและผล คือ ดูเหมือนว่า การสมมุติว่า เหตุที่มีขนาดหนึ่ง จะสามารถทำให้เกิดผลที่มีขนาดใกล้ ๆ กัน จะเป็นเรื่องที่เป็นไปโดยธรรมชาติ ดังนั้น เราอาจจะไม่เห็นความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลที่มีขนาดต่างกัน (เช่นไม่สามารถเชื่อมโยงการเริ่มใช้ยาฆ่าแมลงที่เป็นเรื่องเล็กน้อย ว่าเป็นเหตุของความเปลี่ยนแปลงที่กว้างขวางซับซ้อนที่เป็นผลในสิ่งแวดล้อม)

ความไม่รู้ตัวในเรื่องความคลาดเคลื่อน

นอกจากนั้นแล้ว นิสเบ็ตต์และวิลสันยังมีสมมติฐานที่อธิบายว่าทำไม่เราถึงไม่รู้ตัวถึงความคลาดเคลื่อนที่มีในการพินิจภายใน คือ[8]

  • ความสับสนระหว่างส่วนประกอบ (เช่นความรู้สึก) และกระบวนการของจิตใจ คือ เราปกติจะไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการที่เป็นเหตุของการตัดสินใจโดยตรง แต่จะสามารถระลึกถึงขั้นตอนในระหว่างอย่างหนึ่ง แต่ว่า ขั้นตอนที่ระลึกได้ก็ยังเป็นส่วนประกอบของจิตใจ ไม่ใช่กระบวนการ ความสับสนระหว่างส่วนประกอบและกระบวนการทางจิตใจทำให้เราเชื่อว่า เราสามารถเข้าใจกระบวนการตัดสินใจของตนเอง (แต่ว่า มีการวิจารณ์นักวิจัยทั้งสองว่า ไม่ได้ให้คำนิยามที่ชัดเจนเกี่ยวกับความแตกต่างกัน ระหว่างส่วนประกอบและกระบวนการทางจิตใจ)
  • ความรู้เกี่ยวกับปฏิกิริยาเฉพาะอย่างต่อสิ่งเร้าที่เคยมีมาก่อน คือ ความเชื่อว่า เรามีปฏิกิริยาที่ผิดปกติต่อสิ่งเร้า (คือเรารู้ว่าสิ่งเร้าเช่นนี้ ปกติจะทำให้เกิดปฏิกิริยาในเราอย่างนี้ แต่ในเหตุการณ์มีความผิดปกติ) ซึ่งเป็นเรื่องที่พยากรณ์ไม่ได้โดยบุคคลอื่น ดูเหมือนจะสนับสนุนความสามารถในการพินิจภายในจริง ๆ แต่ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและปฏิกิริยา (คือค่าความแปรปรวนร่วมเกี่ยวเชิงบวก) อาจจะไม่มีจริง ๆ และปฏิกิริยาที่ไม่สมกับค่าความแปรปรวนร่วมเกี่ยวเป็นเรื่องที่เกิดน้อยมาก เนื่องจากความแปรปรวนร่วมเกี่ยวที่มีเนื่องจากเหตุการณ์ผิดปกติ เป็นเรื่องที่มีน้อย
  • ความแตกต่างระหว่างการให้ทฤษฎีเหตุผลของวัฒนธรรมต่าง ๆ คือ ความแตกต่างกันตามธรรมชาติที่มีอยู่ในวัฒนธรรมต่าง ๆ ทำให้เราให้ทฤษฎีเหตุผล (คือคำอธิบายเหตุของการกระทำของเรา) ต่าง ๆ กันในสิ่งเร้าแต่ละอย่าง ดังนั้น บุคคลภายนอกวัฒนธรรมของเราย่อมไม่สามารถที่จะแยกแยะเหตุของการกระทำเท่ากับบุคคลในวัฒนธรรมนั้น ๆ ทำให้บุคคลในวัฒนธรรมผู้ทำการพินิจภายในปรากฏเหมือนว่า ตนมีความสามารถในการเข้าใจกระบวนการตัดสินใจมากกว่าผู้อื่น
  • ความรู้เกี่ยวกับการใส่ใจและความตั้งใจ คือ เราอาจจะรู้ว่าตนไม่ได้ใส่ใจสิ่งเร้าหนึ่ง ๆ หรืออาจจะไม่ได้ตั้งใจที่จะกระทำสิ่งหนึ่ง ๆ ซึ่งเป็นความรู้ที่คนอื่นไม่มี ทำให้เหมือนกับเป็นการพินิจภายในที่ตรงกับความจริง แต่ว่า นักวิจัยทั้งสองให้ข้อสังเกตว่า ความจริงแล้ว ความรู้เช่นนี้อาจจะทำให้เราเข้าใจผิด โดยเฉพาะในกรณีที่การใส่ใจ/ความตั้งใจนั้นไม่ได้มีอิทธิพลจริง ๆ อย่างที่เราคิด
  • ข้อมูลป้อนกลับที่มีไม่พอ คือ โดยธรรมชาติแล้ว เป็นเรื่องยากที่จะคัดค้านความเป็นจริงของข้อมูลที่ได้จากการพินิจภายในในชีวิตประจำวัน เพราะว่าโดยปกติไม่สามารถทดสอบได้ และคนอื่น ๆ ก็มักจะไม่ตั้งความสงสัยในการพินิจภายในของเรา นอกจากนั้นแล้ว ถ้าทฤษฎีเหตุผลสามารถคัดค้านได้โดยความจริง เป็นเรื่องง่ายที่เราจะอ้างเหตุผลอื่น ๆ ว่า ทำไมหลักฐานความจริงที่มีอยู่ไม่ได้คัดค้านทฤษฎีของเราได้จริง ๆ
  • แรงจูงใจอื่น ๆ คือ การตั้งความสงสัยในสมรรถภาพของตนเองในการเข้าใจเหตุการกระทำของตน เป็นเหมือนกับถูกคนอื่นคุกคามข่มขู่อัตตาและความรู้สึกว่า เราสามารถควบคุมเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ ดังนั้น เราจึงไม่ค่อยพิจารณาเรื่องนี้ แต่จะพิทักษ์ความเชื่อว่า เราสามารถทำการพินิจภายในที่ตรงกับความจริง

ใกล้เคียง

การแปลสิ่งเร้าผิด การแปลการพินิจภายในผิด การแปลงหน่วยอุณหภูมิ การแปรผันทางพันธุกรรม การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ การแปลงฟูรีเย การแปลงพื้นที่เพื่อเปลี่ยนชนชั้น การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค การแปลงโคไซน์ไม่ต่อเนื่อง

แหล่งที่มา

WikiPedia: การแปลการพินิจภายในผิด http://www.rotman.utoronto.ca/facbios/file/Djikic,... http://www.familyanatomy.com/2009/11/04/people-alw... http://www.msnbc.msn.com/id/9616467/ http://www.newscientist.com/article/mg20227046.400... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://www.ic.arizona.edu/ic/psyc358/358-Lect_6.ht... http://isites.harvard.edu/fs/docs/icb.topic67047.f... http://www.wjh.harvard.edu/~wegner/pdfs/Pronin,%20... http://mitpress.mit.edu/catalog/item/default.asp?t...