ความพยายามสู้กับข่าวเท็จ ของ ข้อมูลผิดเกี่ยวกับโควิด-19

ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2020 องค์การอนามัยโลกได้ระบุถึงการระบาดทั่วของข้อมูลเท็จ (massive infodemic) โดยกล่าวถึงข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสมากมายที่รายงานแต่เป็นเท็จ จึงทำให้ยากในการได้แหล่งข้อมูลและข้อปฏิบัติที่เชื่อถือได้เมื่อจำเป็นองค์การระบุว่า เพราะมีความต้องการข้อมูลที่ทันการและเชื่อถือได้ จึงได้สร้างหน่วยกำจัดเรื่องโกหกซึ่งมีทีมตรวจตราแล้วตอบสนองต่อข้อมูลผิด ๆ ผ่านเว็บไซต์และหน้าสื่อสังคมขององค์การ[321][322][323]องค์การอนามัยโลกได้หักล้างข้ออ้างหลายอย่างโดยเฉพาะ ๆ ว่าเป็นเท็จ รวมทั้งข้ออ้างว่า สามารถบอกได้ว่าติดไวรัสหรือไม่โดยเพียงแค่กลั้นลมหายใจว่าการดื่มน้ำมาก ๆ จะป้องกันไวรัสและว่าการกลั้วคอด้วยน้ำเกลือป้องกันการติดเชื้อ[324]

สื่อสังคม

ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2020 เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และกูเกิลประกาศว่าบริษัทจะทำงานร่วมกับองค์การอนามัยโลกเพื่อแก้ปัญหาข้อมูลผิด[325]เฟซบุ๊กระบุในบล็อกว่า จะลบเนื้อความที่องค์การสุขภาพโลกและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ระบุว่า ผิดนโยบายเนื้อความเท็จที่เป็นอันตราย[326]เฟซบุ๊กยังให้องค์การอนามัยโลกโฆษณาฟรีอีกด้วย[327]ถึงกระนั้น หลังจากที่ประธานาธิบดีทรัมป์คาดว่า แสงอาทิตย์อาจฆ่าไวรัส หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ก็พบ "กลุ่มเฟซบุ๊ก 780 กลุ่ม หน้าเฟซบุ๊ก 290 หน้า บัญชีอินสตาแกรม 9 บัญชี และทวีตเป็นพัน ๆ ข้อความที่ส่งเสริมการบำบัดด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต" โดยเป็นเนื้อความที่บริษัทเหล่านี้ไม่ยอมลบออกจากแพลตฟอร์มของตน ๆ[328]ในวันที่ 11 สิงหาคม 2020 เฟซบุ๊กลบโพสต์ 7 ล้านข้อความที่มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับโควิด-19[329]

ในปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2020 บริษัทแอมะซอนได้ลบสินค้าเกินกว่าล้านที่อ้างว่ารักษาหรือป้องกันโคโรนาไวรัส และลบสินค้าสุขภาพเป็นหมื่น ๆ ที่มีราคา "สูงกว่าที่ขายในแอมะซอนหรือนอกแอมะซอนมาก" ถึงกระนั้น ตามบีบีซี ก็ยังมีสินค้ามากมายที่ "ยังขายในราคาสูงกว่าปกติ" ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์[330]

มีตัวอย่างข้อมูลเท็จเกี่ยวกับโควิด-19 เป็นล้าน ๆ ในแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ[331]นักวิจัยข่าวปลอมให้ข้อสังเกตว่า มีข่าวลือที่เริ่มในจีนแล้วต่อมากระจายไปยังเกาหลีใต้และสหรัฐ ทำให้มหาวิทยาลัยเกาหลีหลายแห่งได้เริ่มการรณรงค์ที่ทำในภาษาหลายภาษา คือ "Facts Before Rumors" (ความจริงแทนที่ข่าวลือ) เพื่อประเมินข้ออ้างสามัญ ๆ ที่พบออนไลน์[332][333][334][335]

วิกิพีเดีย

สื่อได้ยกย่องความครอบคลุมข้อมูลโควิด-19 ของวิกิพีเดียและการสู้กับการใส่ข้อมูลเท็จในบทความอาศัยการรณรงค์ของ Wiki Project Med Foundation และของ WikiProject Medicine ในบรรดากลุ่มต่าง ๆ[336][337][338]องค์การอนามัยโลกได้ร่วมงานกับวิกิพีเดียโดยอนุญาตให้ใช้กราฟและรายงานข้อมูลเกี่ยวกับโควิด-19 เพื่อช่วยสู้กับข้อมูลเท็จ โดยมีแผนจะใช้วิธีเช่นเดียวกันสำหรับโรคติดต่อต่าง ๆ ในอนาคต[339]

หนังสือพิมพ์และวารสารวิชาการ

หนังสือพิมพ์ที่ต้องเป็นสมาชิก (เพย์วอลล์[upper-alpha 4])ก็ได้งดใช้สำหรับข่าวเกี่ยวกับโควิด-19 บางส่วนหรือทั้งหมด[343][344]สำนักพิมพ์งานศึกษาทางวิทยาศาสตร์จำนวนมากก็อนุญาตให้ใช้งานเป็นการเข้าถึงแบบเปิด (คือฟรี)[345]

ชุมชนนักวิทยาศาสตร์ แม้จะตั้งใจพิมพ์งานวิชาการที่มีคุณภาพ ก็เริ่มมีปัญหาเพราะเกิดงานวิจัยคุณภาพต่ำหรือเป็นเท็จ ทำให้ต้องถอนงานหลายงานเกี่ยวกับโควิด-19 แล้วทำให้งานศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่สมเหตุผลและเชื่อถือได้น่าสงสัยไปด้วย[346]บล็อก Retraction Watch มีฐานข้อมูลเกี่ยวกับบทความโควิด-19 ที่ถูกเพิกถอน[347]

การตรวจพิจารณา

รัฐบาลจำนวนหนึ่งได้ทำการส่งข้อมูลเท็จเกี่ยวกับไวรัสให้ผิดกฎหมายซึ่งอาจรวมขนาดการแพร่ขยายการติดไวรัส ความไม่พร้อมรับมือกับไวรัส หรือวิธีการต่อสู้กับไวรัส

กระทรวงมหาดไทยตุรกีได้จับกุมผู้ใช้สื่อสังคมต่าง ๆ ที่ได้ "เล็งเป้าเจ้าหน้าที่และกระจายความตื่นตระหนกและความกลัวโดยระบุว่า ไวรัสได้กระจายไปอย่างกว้างขวางในตุรกีโดยเจ้าหน้าที่ไม่ได้ทำการอย่างสมควร"[348]ส่วนกองทัพอิหร่านระบุว่า ได้จับกุมคน 3,600 คนเพราะ "กระจายข่าวลือ" เกี่ยวกับไวรัสโคโรนาในประเทศ[349]ในกัมพูชา บุคคลที่แสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับการกระแพร่กระจายของโควิด-19 ได้ถูกจับในข้อหากระจายข่าวเท็จ[350][351]รัฐสภาแอลจีเรียออกกฎหมายทำการออกข่าวปลอมที่เป็นอันตรายต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและความมั่นคงของชาติ[352]

ในประเทศฟิลิปปินส์[353]จีน[354]อินเดีย[355][356]อียิปต์[357]เอธิโอเปีย[358]บังกลาเทศ[359]โมร็อกโก[360]ปากีสถาน[361]ซาอุดีอาระเบีย[362]โอมาน[363]อิหร่าน[364]เวียดนาม ลาว[365]อินโดนีเซีย[356]มองโกเลีย[356]ศรีลังกา[366]เคนยา แอฟริกาใต้[367]โกตดิวัวร์[368]โซมาเลีย[369]มอริเชียส[370]ซิมบับเว[371]ไทย[372]คาซัคสถาน[373]อาเซอร์ไบจาน[374]มอนเตเนโกร[375]เซอร์เบีย[376][377]มาเลเซีย[378]สิงค์โปร์[379][380]และฮ่องกง มีคนถูกจับโดยข้อหาว่ากระจายข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการระบาดทั่วของโควิด-19[381][356]สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ทำการกระจายข่าวปลอมและข่าวลือเกี่ยวกับการระบาดทั่วให้มีโทษทางอาชญา[382]พม่าได้ปิดไม่ให้ดูเว็บไซต์ข่าว 221 แห่ง[383]รวมทั้งสำนักข่าวสำคัญหลายแห่ง[384]

ใกล้เคียง

ข้อมูลผิดเกี่ยวกับโควิด-19 ข้อมูล ข้อมูลมหัต ข้อมูลที่ระบุตัวบุคคลได้ ข้อมูลอภิพันธุ์ ข้อมูล (คอมพิวเตอร์) ข้อมูลด้านสุขภาพในวิกิพีเดีย ข้อมูลผู้เข้าร่วมรายบุคคล ข้อมูลส่วนแบ่งการตลาดอุตสาหกรรมเพลงทั่วโลก ข้อมูลแบบเปิด

แหล่งที่มา

WikiPedia: ข้อมูลผิดเกี่ยวกับโควิด-19 http://news.sina.com.cn/o/2020-02-17/doc-iimxxstf2... http://news.cctv.com/2020/01/25/ARTIce5OB5W3sORPe9... http://dongascience.donga.com/news.php?idx=35457 http://start.loandepot.com/assets/int-email/disast... http://www.szhgh.com/Article/opinion/zatan/2020-01... http://www.taipeitimes.com/News/taiwan/archives/20... http://www.xilu.com/20200126/1000010001119697.html http://www.xinhuanet.com/politics/2020-03/16/c_112... http://www.rfi.fr/en/africa/20200414-press-freedom... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16335659