การกระจายโรค ของ ข้อมูลผิดเกี่ยวกับโควิด-19

จากมนุษย์สู่มนุษย์

วันที่ 3 มกราคม 2020 คณะกรรมการสาธารณสุขอู่ฮั่นได้แถลงการณ์ถึงอาการปอดบวมเหตุไวรัสชนิดใหม่แต่กล่าวว่าโรคไม่สามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง[136]

ภูมิคุ้มกันหมู่ในแคลิฟอร์เนียตั้งแต่ปี 2019

วันที่ 31 มีนาคม 2020 นักอนุรักษนิยมชาวอเมริกันคนหนึ่ง (Victor Davis Hanson) ได้เผยแพร่ทฤษฎีว่า โควิด-19 อาจมีอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนียตั้งแต่ฤดูใบไม้ตกของปี 2019 จึงทำให้เกิดระดับภูมิคุ้มกันหมู่ และสามารถอธิบายความแตกต่างของอัตราการติดเชื้อในเมืองต่าง ๆ เช่น นครนิวยอร์กเทียบกับลอสแอนเจลิส[137]ต่อมาจึงมีการให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์เดอะลอสแอนเจลิสไทมส์อีกว่า มีหลักฐานที่แสดงว่า ไวรสัอาจมีอยู่ในแคลิฟอร์เนียตั้งแต่เดือนธันวาคม 2019[138]แต่การวิเคราะห์ทางพันธุกรรมและทางสารภูมิต้านทานก็หักล้างแนวคิดว่าไวรัสมีอยู่ในสหรัฐก่อนเดือนมกราคม 2020[139][140][141][142]

คนไข้แรก

ในเดือนมีนาคม นักทฤษฎีสมคบคิดได้เริ่มข่าวลือเท็จว่า ทหารกองหนุนสหรัฐคนหนึ่ง (Maatje Benassi) เป็นคนไข้แรกของการระบาดทั่ว เพราะเธอได้ร่วมงานเกมโลกทหาร 2019 (2019 Military World Games) ก่อนที่โรคจะเริ่มระบาด แม้ว่าเธอจริง ๆ ไม่เคยตรวจพบไวรัสนักทฤษฎีสมคบคิดยังเชื่อมครอบครัวของเธอกับดีเจอิตาลีคนดัง Benny Benassi ทั้ง ๆ ที่ดีเจก็ไม่มีความสัมพันธ์กับเธอและก็ไม่เคยติดไวรัสด้วย[143]

ภูมิต้านทาน/ความอ่อนแอเพราะชาติพันธุ์

มีการอ้างว่าคนชาติพันธุ์บางชาติอ่อนแอหรือแข็งแรงต่อโควิด-19 ยิ่งกว่าแต่โควิด-19 ก็เป็นโรคสัตว์ที่ติดต่อมายังมนุษย์โรคใหม่ ดังนั้น จึงไม่มีกลุ่มมนุษย์ใด ๆ ที่มีเวลาเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ได้เริ่มตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ มีรายงานที่กระจายไปอย่างรวดเร็วผ่านเฟซบุ๊กว่า นักศึกษาแคเมอรูนในจีนหายจากโรคอย่างสิ้นเชิงเพราะมีเชื้อสายแอฟริกาแต่แม้นักศึกษาคนหนึ่งจะรักษาหาย แต่สื่ออื่น ๆ ก็ระบุว่าไม่มีหลักฐานที่แสดงว่า คนแอฟริกาทนต่อไวรัสยิ่งกว่า และการกล่าวเช่นนี้เป็นข้อมูลเท็จ[144]เลขาธิการกระทรวงสาธารณสุขเคนยาปฏิเสธข่าวลือที่ว่า "คนผิวดำจะไม่ติดไวรัสโคโรนา" ตรง ๆ แล้วประกาศกรณีแรกของเคนยาในวันที่ 13 มีนาคม[145]ข่าวลือนี้โทษว่าเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่ทำให้คนอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาติดโรคและตายในอัตราสูงกว่า[146][147]

ยังมีการอ้างถึง "ภูมิคุ้มกันของคนอินเดีย" ต่อโควิด-19 อาศัยความเป็นอยู่ของคนอินเดีย (เช่น เป็นคนกินเจ)ซึ่งศาสตราจารย์ที่กลุ่มมหาวิทยาลัยการแพทย์อินเดียคือ All India Institute of Medical Sciences (AIIMS) กล่าวว่า "เหลวไหลโดยสิ้นเชิง"เขากล่าวว่า ยังไม่มีภูมิคุ้มกันหมู่ต่อไวรัส-19 เพราะเป็นเชื้อใหม่ มันยังไม่ชัดเจนแม้กระทั่งว่าคนที่หายป่วยจากโควิด-19 จะมีภูมิคุ้มกันที่คงยืน เพราะนี่เกิดกับไวรัสบางอย่าง ไม่เกิดกับบางอย่าง[148]

ผู้นำสูงสุดอิหร่านแอลี ฆอเมเนอีอ้างว่า สหรัฐได้ดัดแปลงไวรัสทางพันธุกรรมโดยเฉพาะ ๆ เพื่อใชักับคนอิหร่าน แล้วใช้ข้ออ้างเท็จนี้อธิบายว่าทำไมโควิด-19 จึงมีผลหนักต่ออิหร่านแต่ก็ไม่ได้ให้หลักฐานอะไร ๆ[149][150]

นักวิจัยชาวจอร์แดนกลุ่มหนึ่งตีพิมพ์รายงานที่อ้างว่า คนอาหรับอ่อนแอต่อโควิด-19 น้อยกว่าเพราะมีการแปรผันทางพันธุกรรมอย่างหนึ่งที่เฉพาะเจาะจงต่อคนตะวันออกกลาง[151]

การโทษคนพวกอื่นโดยชาติพันธุ์และศาสนา

มีคนถูกทำร้ายเพราะความเกลียดกลัวต่างชาติเนื่องกับโควิด-19 โดยคนร้ายโทษเหยื่ออาศัยความต่างกันทางชาติพันธุ์ว่า แพร่โควิดคนที่ดูเหมือนคนจีนอาจถูกทำร้ายทางกายและวาจาเนื่องกับโควิดในประเทศต่าง ๆ โดยบุคคลที่กล่าวหาคนจีนว่าแพร่ไวรัส[152][153][154]ในประเทศจีนเองก็มีการเลือกปฏิบัติ (เช่น การขับไล่และการไม่ให้บริการในร้านค้า) ต่อคนที่มาจากใกล้ ๆ อู่ฮั่น (ที่การระบาดทั่วได้เริ่ม) และต่อคนที่มองว่าไม่ใช่คนจีน (โดยเฉพาะคนแอฟริกา) เพราะรัฐบาลจีนได้โทษกรณีที่ยังเพิ่มขึ้นเนื่องกับการนำไวรัสเข้ามาใหม่จากต่างประเทศ (ทั้ง ๆ ที่ร้อยละ 90 ของกรณีเกิดใหม่เป็นคนถือหนังสือเดินทางจีน)โดยประเทศใกล้เคียงก็เลือกปฏิบัติต่อคนตะวันตกด้วย[155][156][157]

คนยังโทษคนกลุ่มอื่น ๆ ตามการแบ่งพวกทางสังคมที่มีอยู่แล้ว โดยบางครั้งอ้างกรณีโควิด-19 ของกลุ่มนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น ในอินเดีย มีคนโทษ หลีกเลี่ยง และเลือกปฏิบัติต่อคนมุสลิมอย่างกว้างขวาง (รวมการทำร้ายอย่างรุนแรง) โดยใช้ข้ออ้างซึ่งไร้มูลฐานว่า คนมุสลิมจงใจแพร่โควิด-19 และงานประชุมมุสลิมหนึ่งที่เกิดการติดต่อของโรคได้รับความสนใจจากประชาชนยิ่งกว่างานคล้าย ๆ ที่จัดโดยคนกลุ่มอื่นหรือโดยรัฐบาล[158]กลุ่มคนที่ถือคนขาวว่าดีสุดก็ได้โทษคนไม่ใช่คนขาวกลุ่มอื่น ๆ และสนับสนุนให้จงใจแพร่โรคแก่คนกลุ่มน้อยที่ตนไม่ชอบ เช่น คนยิว[159][160]-->

การกินซุปค้างคาว

สื่อข่าวบางแห่งรวมทั้งหนังสือพิมพ์แนวตื่นเต้นอังกฤษ Daily Mail และทีวีข่าวประจำชาติของรัสเซีย RT บวกกับบุคคลต่าง ๆ ได้ส่งต่อวิดีโอที่แสดงหญิงจีนกินค้างคาว แล้วบอกอย่างเป็นเท็จว่า ได้ถ่ายในอู่ฮั่นและเชื่อมมันกับโรคระบาด[161][162]แต่วิดีโอนี้เป็นคลิปที่ไม่เกี่ยวกันของนักเดินทางแล้วบล็อกวิดีโอชาวจีนผู้หนึ่ง (Wang Mengyun) ที่ได้กินซุปค้างคาวในประเทศเกาะคือ ปาเลา ในปี 2016[161][162][163][164]และเธอก็ได้โพสต์คำขอโทษในแพลตฟอร์ม Weibo[163][164]เล่าว่าเธอถูกทารุณกรรมและถูกขู่ทำร้าย[163]และระบุว่าเธอเพียงแต่ต้องการโชว์อาหารปาเลา[163][164]

การกระจายข้อมูลผิดเกี่ยวกับการกินคางค้าวจัดว่าเป็นความรู้สึกกลัวคนต่างชาติและเชื้อชาตินิยมโดยต่อต้านคนเอเชีย[165][166][167]เทียบกับที่นักวิทยาศาสตร์ได้แสดงแล้วว่า ไวรัสเกิดในค้างคาว แล้วกระจายไปยังสัตว์ถูกเบียนในระหว่าง ก่อนที่จะมาติดมนุษย์[165][168]

การชุมนุมใหญ่

นักการเมืองประชานิยมแนวอนุรักษ์นิยมเกาหลีใต้ผู้หนึ่ง (Jun Kwang-hun) ได้บอกผู้คล้อยตามว่า ไม่มีความเสี่ยงในการชุมนุมขนาดใหญ่เพราะไม่สามารถติดไวรัสกลางแจ้งโดยผู้ติดตามจำนวนมากก็เป็นผู้สูงวัย[169]

ช่วงชีวิตของไวรัส

มีข้อมูลผิดที่กระจายไปว่า ไวรัสโควิด-19 มีช่วงชีวิตเพียง 12 ชม. และการอยู่บ้านเป็นเวลา 14 ชม. ในเคอร์ฟิวชานาตา (เคอร์ฟิวประชาชน) ก็จะทำลายโซ่การติดต่อ[170]โดยอีกข้อความหนึ่งอ้างว่า การอยู่เคอร์ฟิวชานาตาจะลดกรณีโควิดได้ร้อยละ 40[170]

ยุง

มีการอ้างว่า ยุงแพร่เชื้อไวรัสโคโรนาแต่ก็ไม่มีหลักฐานว่าจริงเพราะไวรัสโคโรนาแพร่เชื้อผ่านละอองน้ำลายและน้ำมูก[94]

เรื่องต่าง ๆ

มีประกาศปลอมเรียกคืนสินค้าของบริษัทคอสต์โคที่กระจายไปยังสื่อสังคมและอ้างว่า กระดาษทิชชูยี่ห้อที่บริษัทเองจัดขายปนเปื้อนไวรัสโควิด-19 เพราะผลิตในจีนแต่ก็ไม่มีหลักฐานว่าไวรัสสามารถรอดชีวิตบนผิววัสดุเป็นระยะเวลานาน (เช่น เมื่อขนส่งสินค้า) และบริษัทก็ไม่ได้เรียกคืนสินค้านั้นจริง ๆ[171][172][173]

มีประกาศปลอมที่อ้างว่ามาจากกระทรวงสุขภาพออสเตรเลียและระบุว่า ไวรัสโคโรนาสามารถกระจายไปตามปั๊มน้ำมัน ทุกคนจึงควรใส่ถุงมือเมื่อปั๊มน้ำมันใส่รถของตน ๆ[174]

มีการอ้างว่า การใส่รองเท้าในบ้านเป็นเหตุผลให้ไวรัสโคโรนากระจายตัวในอิตาลี[175]

ความปลอดภัยของเรือสำราญจากโรค

ไม่ว่าบริษัทเรือสำราญจะอ้างอย่างไรก็ตาม มีการติดโรคโควิดจำนวนมากในภูมิอากาศร้อนโดยประเทศต่าง ๆ ในแถบแคริบเบียน ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และอ่าวเปอร์เซียก็ถูกผลกระทบจากโรคอย่างรุนแรง

ในเดือนมีนาคม 2020 หนังสือพิมพ์ Miami New Times รายงานว่า ผู้จัดการเรือสำราญนอร์เวย์ได้เตรียมคำตอบเพื่อชวนลูกค้าที่ยังกังวลให้จองที่เรือสำราญ รวมทั้งข้ออ้างซึ่ง "เป็นเท็จอย่างทนโท่" ว่า ไวรัสโคโรนา "สามารถรอดชีวิตได้แต่ในอุณหภูมิต่ำ ดังนั้น ทะเลแคริบเบียนจึงเป็นการเลือกที่ดีมากเมื่อไปเที่ยวเรือสำราญครั้งหน้าของคุณ" ว่า "นักวิทยาศาสตร์และบุคลากรทางแพทย์ได้ยืนยันแล้วว่า อากาศอุ่นระดับฤดูใบไม้ผลิจะเป็นจุดยุติของไวรัสโคโรนา" และว่า "ไวรัสไม่สามารถรอดชีวิตในอุณหภูมิซึ่งอุ่นเป็นอย่างดีเป็นอุณหภูมิเขตร้อนที่เรือสำราญของคุณจะแล่นไป"[176]

หวัดเป็นโรคประจำฤดู (คือมีน้อยกว่าในช่วงฤดูร้อน) ในบางประเทศ แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมดแม้โรคโควิด-19 อาจเป็นไปตามฤดูบ้าง แต่ก็ยังไม่ชัดเจน[177][178][179]ไวรัสโควิด-19 กระจายไปตามเส้นเดินทางสายการบิน รวมทั้งที่ต่าง ๆ ในเขตร้อน[180]การระบาดของโรคในเรือสำราญ ที่มีคนอายุมากกว่าอยู่ด้วยกันอย่างใกล้ชิด มีการจับพื้นผิวที่คนอื่นได้จับ เป็นเรื่องสามัญ[181][182]

ดูเหมือนว่า โควิด-19 จะติดต่อได้ในทุกภูมิอากาศ[94]เพราะมีผลหนักต่อประเทศเขตร้อนหลายประเทศยกตัวอย่างเช่น เมืองดูไบ ซึ่งมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียสตลอดปี และมีสนามบินที่อ้างว่ามีการขนส่งโดยสารนานาประเทศมากที่สุด มีการติดโรคเป็นพัน ๆ

ใกล้เคียง

ข้อมูลผิดเกี่ยวกับโควิด-19 ข้อมูล ข้อมูลมหัต ข้อมูลที่ระบุตัวบุคคลได้ ข้อมูลอภิพันธุ์ ข้อมูล (คอมพิวเตอร์) ข้อมูลด้านสุขภาพในวิกิพีเดีย ข้อมูลผู้เข้าร่วมรายบุคคล ข้อมูลส่วนแบ่งการตลาดอุตสาหกรรมเพลงทั่วโลก ข้อมูลแบบเปิด

แหล่งที่มา

WikiPedia: ข้อมูลผิดเกี่ยวกับโควิด-19 http://news.sina.com.cn/o/2020-02-17/doc-iimxxstf2... http://news.cctv.com/2020/01/25/ARTIce5OB5W3sORPe9... http://dongascience.donga.com/news.php?idx=35457 http://start.loandepot.com/assets/int-email/disast... http://www.szhgh.com/Article/opinion/zatan/2020-01... http://www.taipeitimes.com/News/taiwan/archives/20... http://www.xilu.com/20200126/1000010001119697.html http://www.xinhuanet.com/politics/2020-03/16/c_112... http://www.rfi.fr/en/africa/20200414-press-freedom... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16335659