การป้องกัน ของ ข้อมูลผิดเกี่ยวกับโควิด-19

ประสิทธิผลของน้ำยาทำความสะอาดมือ สบู่ต้านแบคทีเรีย

การล้างมือด้วยสบู่และน้ำอย่างน้อย 20 วินาทีเป็นวิธีทำความสะอาดมือซึ่งดีที่สุดรองลงมาก็คือน้ำยาทำความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์อย่างน้อยร้อยละ 60[183]

ข้ออ้างว่าน้ำยาทำความสะอาดมือฆ่าเพียงแบคทีเรียแต่ไม่ฆ่าไวรัส และดังนั้น จึงไม่มีผลต่อโควิด-19 ได้กระจายไปอย่างกว้างขวางในทวิตเตอร์และสื่อสังคมอื่น ๆแม้ประสิทธิผลของมันจะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ แต่น้ำยาทำความสะอาดมือโดยมากก็ฆ่าไวรัสโควิด-19[184][185]ดังนั้น จึงแนะนำให้ใช้น้ำยาทำความสะอาดมือ[94]แม้จะไม่เหมือนกับสบู่คือไม่ได้ผลสำหรับเชื้อโรคทุกอย่าง[186]

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐแนะนำให้ล้างมือด้วยสบู่และน้ำอย่างน้อย 20 วินาที โดยระบุว่าเป็นวิธีทำความสะอาดมือซึ่งดีที่สุดในสถานการณ์โดยมากแต่ถ้าไม่มีสบู่และน้ำ น้ำยาทำความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์อย่างน้อยร้อยละ 60 ก็ใช้แทนได้ ยกเว้นถ้ามองเห็นได้ว่ามือไม่สะอาดหรือมีคราบน้ำมัน[183][187]ทั้งศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐและองค์การอาหารและยาสหรัฐต่างก็แนะนำสบู่ธรรมดาเพราะไม่มีหลักฐานว่า สบู่ต้านแบคทีเรียดีกว่า โดยยังมีหลักฐานที่จำกัดด้วยว่า อาจแย่กว่าในระยะยาว[188][189]

การใช้หน้ากากในที่สาธารณะ

ในเดือนกรกฎาคม 2020 หัวหน้าหน่วยงานทางสาธารณสุขสหรัฐคนหนึ่ง (U.S. Surgeon General) กระตุ้นให้คนใส่หน้ากากโดยยอมรับว่า การแก้ความที่รัฐบาลระบุก่อนหน้า (รวมทั้งตนเอง) ว่าหน้ากากไม่ได้ผลสำหรับสาธารณชนเป็นเรื่องยาก[190]

แม้เจ้าหน้าที่ของประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะในเอเชีย จะแนะนำให้ใส่หน้ากากในที่สาธารณะ แต่ในภูมิภาคอื่น ๆ รัฐบาลก็ให้คำแนะนำที่ขัดแย้งกันเองแล้วสร้างความสับสนแก่ประชาชน[191]รัฐบาลและสถาบันต่าง ๆ เช่น ในสหรัฐ เบื้องต้นไม่สนใจให้สาธารณชนใช้หน้ากาก และมักให้ข้อมูลที่ทำให้เข้าใจผิดหรือไม่สมบูรณ์เกี่ยวกับประสิทธิผลของหน้ากาก[192][193][194]แต่ก็มีผู้วิเคราะห์ซึ่งระบุเหตุการสื่อความต่อต้านหน้ากากเช่นนี้ว่า เป็นการบริหารการขาดแคลนของหน้ากาก เพราะรัฐบาลไม่ดำเนินการแก้ปัญหาเร็วพอ โดยให้ข้อสังเกตว่า ข้ออ้างเช่นนี้เกินวิทยาศาสตร์และไม่ใช่การโกหกธรรมดา ๆ[194][195][196][197]

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 หัวหน้าหน่วยงานทางสาธารณสุขสหรัฐ (U.S. Surgeon General) ผู้เป็นวิสัญญีแพทย์คนหนึ่งทวีตว่า "จริง ๆ นะพวกคุณ จงหยุดซื้อหน้ากาก เพราะมันไม่มีผลป้องกันสาธารณชนจากการติดไวรัสโคโรนา"แต่ภายหลังก็ถอยจากจุดยืนนี้เมื่อหลักฐานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ว่าหน้ากากสามารถกำจัดการติดต่อของไวรัส[198][199]อนึ่ง ในวันที่ 12 มิถุนายน 2020 สมาชิกของหน่วยงานเฉพาะกิจไวรัสโคโรนาของทำเนียบขาวคนดังคือ นพ. (วิทยาภูมิคุ้มกัน) Anthony Fauci ก็ยืนยันว่า คนอเมริกันถูกบอกให้ไม่ใส่หน้ากากตั้งแต่ต้นเพราะหน้ากากขาดแคลน แล้วอธิบายว่าหน้ากากจริง ๆ มีผล[200][201][202][203]

สำนักข่าวบางแห่งอ้างว่า หลอดผ้าที่นำมาสวมคอให้อุ่น (neck gaiter) เมื่อเอามาใช้แทนหน้ากากเพื่อป้องกันโควิดความจริงแย่กว่าไม่ใส่มันเลย โดยตีความงานศึกษาหนึ่งผิด ๆ เพราะเป็นงานศึกษาที่แสดงวิธีการประเมินหน้ากาก และไม่ได้ประเมินประสิทธิภาพของหน้ากากในรูปแบบต่าง ๆ[204][205][206]งานศึกษายังได้ตรวจดูคนใส่หลอดผ้าที่ว่าซึ่งทำมาจากผ้าผสมโพลีเอสเตอร์และสแปนเด็กซ์เพียงรายเดียว ซึ่งจริง ๆ ไม่พอเป็นหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างที่สื่อข่าวว่า[205]งานศึกษาพบว่าหลอดผ้าดังว่า ซึ่งทำมาจากวัสดุที่บางและยืดได้ ดูเหมือนจะไม่มีประสิทธิภาพจำกัดละอองน้ำที่คนใส่พ่นออกผู้เขียนงานศึกษานี้คนหนึ่งกล่าวว่า ผลที่ได้น่าจะเป็นเพราะวัสดุและไม่ใช่เพราะรูปแบบของผ้า โดยระบุว่า "หน้ากากที่ทำจากผ้าเช่นนั้นน่าจะมีผลเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใด"[207]ผู้ร่วมเขียนงานศึกษานี้อีกคนหนึ่งกล่าวว่า พวกเขาพยายามใช้คำอย่างระมัดระวังแล้วในการสัมภาษณ์ แต่ข่าวที่ออกเบนออกอย่างคุมไม่ได้สำหรับงานศึกษาที่ตรวจสอบเทคนิคการวัด ไม่ใช่ทดสอบหน้ากาก[204]

ยังมีข้ออ้างผิด ๆ ที่กระจายไปว่า การใช้หน้ากากมีผลเสียต่อสุขภาพ เช่น ลดออกซิเจนในเลือด[208]เพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด[209]และทำภูมิคุ้มกันให้อ่อนแอ[210]มีข้ออ้างผิด ๆ ด้วยว่า หน้ากากก่อปอดบวดที่ดื้อยาปฏิชีวนะเพราะกันไม่ให้พ่นจุลชีพก่อโรคออกจากร่างกาย[211]

คนต่อต้านไม่ใส่หน้ากากยังใช้ข้ออ้างกำมะลอทางกฎหมายหรือทางสุขภาพเมื่อไม่ยอมใส่หน้ากาก[212]เช่นอ้างว่ากฎหมายต่อต้านการเลือกปฏิบัติกับคนพิการ (Americans with Disabilities Act) ยกเว้นตนให้ไม่ต้องใส่หน้ากาก แต่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐต่อมาโต้ว่า กฎหมาย "ไม่ได้ยกเว้นคนพิการทุกอย่างจากการปฏิบัติตามข้อบังคับเพื่อความปลอดภัยที่เป็นธรรมและจำเป็นต่อการดำเนินการที่ปลอดภัย"[213]กระทรวงยังประกาศเตือนเรื่องการใช้บัตรปลอมที่ "ยกเว้น" ผู้ถือให้ไม่ต้องใส่หน้ากาก โดยระบุว่าเป็นบัตรปลอมซึ่งกระทรวงไม่ได้ออกให้[214][215]

ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2020 ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์โรดรีโก ดูแตร์เต กล่าวว่า คนที่ไม่มีเครื่องมือทำความสะอาดอาจใช้แก๊สโซลีนเป็นน้ำยาฆ่าเชื้อหน้ากากของตน[216]โดยกล่าวต่อไปว่า "สำหรับคนที่ไม่มีไลซอล ให้จุ่มมันในแก๊สโซลีนหรือน้ำมันดีเซล"เพียงให้หาแก๊สโซลีนแล้วจุ่มมือ (ที่มีหน้ากาก) ลงในนั้น"[216]โฆษกของเขาต่อมาจึงแก้ความนี้ให้[216]

แอลกอฮอล์ (เอทานอลและเมทานอลที่เป็นพิษ)

ตรงข้ามกับที่รายงานในบางที่ การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้ป้องกันโควิด-19 และสามารถเพิ่มความเสี่ยงทางสุขภาพทั้งระยะสั้นและยาว[94]แอลกอฮอล์ที่ใช้ดื่มเป็นชนิดเอทานอลแอลกอฮอล์อื่น ๆ เช่น เมทานอล ซึ่งเป็นพิษรุนแรง อาจมีในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ทำอย่างแย่มาก[217]

อิหร่านมีรายงานเมทานอลเป็นพิษ ซึ่งเกิดจากความเชื่อผิด ๆ ว่าการดื่มแอลกอฮอล์จะรักษาหรือป้องกันไวรัสโคโรนา[218]เพราะแอลกอฮอล์สำหรับดื่มผิดกฎหมายในอิหร่าน แอลกอฮอล์ที่ทำเองอาจมีเมทานอล[219]ตามสื่อข่าวอิหร่านเดือนมีนาคม 2020 คนเกือบ 300 คนได้เสียชีวิตและเกินกว่าพันล้มป่วยเพราะเมทานอลเป็นพิษ แต่สำนักข่าวเอพีระบุว่ามีคนตาย 480 รายและมีคนป่วย 2,850 คน[220]จำนวนคนตายเนื่องกับเมทานอลเป็นพิษในอิหร่านได้เพิ่มเป็นเกิน 700 คนในเดือนเมษายน[221]เพราะสื่อสังคมอิหร่านกระจายเรื่องจากหนังสือพิมพ์ข่าวแนวตื่นเต้นอังกฤษว่า คนอังกฤษและอื่น ๆ หายจากไวรัสโคโรนาด้วยเหล้าวิสกี้ผสมน้ำผึ้ง[218][222]ซึ่งเมื่อรวมข่าวนี้กับการใช้น้ำยาทำความสะอาดมือที่เป็นแอลกอฮอล์ (ปกติเป็นเมทานอล) จึงได้ก่อความเชื่อผิด ๆ ว่า การดื่มแอลกอฮอล์แบบเข้มข้นสูงสามารถฆ่าไวรัส[218][219][220]

มีเหตุการณ์เช่นเดียวกันในตุรกี คือมีคนตุรกี 30 คนเสียชีวิตเพราะเมทานอลเป็นพิษอาศัยวิธีการรักษาไวรัสโคโรนาที่ผิด ๆ[223][224]

ในประเทศเคนยา ผู้ว่าการเมืองไนโรบีถูกวิเคราะห์พิจารณาเพราะรวมขวดคอนญักเล็ก ๆ กับห่อของแจก โดยอ้างผิด ๆ ว่า แอลกอฮอล์เป็น "น้ำยาทำความสะอาดคอ" และว่า เพราะผลงานวิจัย จึงเชื่อว่า "แอลกอฮอล์มีบทบาทสำคัญในการฆ่าไวรัสโคโรนา"[225][226]

ภูมิคุ้มกันของคนกินเจ

มีข้ออ้างออนไลน์ที่กระจายไปในอินเดียว่า คนกินเจมีภูมิคุ้มกันไม่ติดเชื้อไวรัสโครนา จนกระทั่งแฮชแท็ก #NoMeat_NoCoronaVirus กลายเป็นเทรนด์ในทวิตเตอร์[227]การกินเนื้อไม่มีผลต่อการติดโรคโควิด-19[228]รัฐมนตรีของอินเดีย (Fisheries, Dairying and Animal Husbandry) กล่าวว่า ข่าวลือนี้มีผลสำคัญต่ออุตสาหกรรม เช่น ลดราคาของไก่เหลือแค่ 1/3 ก่อนการระบาดทั่วเขายังอธิบายความพยายามปรับปรุงความสะอาดของโซ่อุปทานเนื้อสัตว์[229]

ศาสนาเป็นเครื่องป้องกัน

กลุ่มศาสนาต่าง ๆ อ้างการป้องกันเนื่องกับศรัทธาของตน บางกลุ่มไม่ยอมระงับการชุมนุมทางศาสนาที่รวมคนเป็นจำนวนมากในอิสราเอล คนยิว Ultra-Orthodox ตอนแรกไม่ยอมปิดสุเหร่ายิวและโรงเรียนสอนศาสนา โดยไม่สนใจข้อจำกัดของรัฐบาลเพราะ "คัมภีร์โทราห์จะป้องกันและรักษา"[230]ซึ่งทำให้เกิดอัตราการติดโรคเป็น 8 เท่าในบางกลุ่ม[231]กลุ่มเคลื่อนไหวสอนศาสนาอิสลาม Tablighi Jamaat ได้จัดการชุมนุมคนเป็นจำนวนมาก (Ijtema) ในประเทศมาเลเซีย อินเดีย และปากีสถานที่ผู้เข้าร่วมเชื่อว่าอัลลอฮ์จะป้องกันพวกเขา จึงเพิ่มการติดโควิด-19 เป็นจำนวนมากที่สุดในประเทศเหล่านั้นและอื่น ๆ[232][233][234]ในนครโกม อิหร่าน หัวหน้าของสถานบูชา Fatima Masumeh Shrine สนับสนุนให้ผู้แสวงบุญมาเยี่ยมแม้จะมีผู้ร้องให้ปิด โดยอ้างว่า เราพิจารณาสถานบูชาแห่งนี้เป็นสถานศักดิ์สิทธิ์ที่รักษา[235]ในเกาหลีใต้โบสถ์ River of Grace Community Church ในจังหวัดคย็องกีได้แพร่ไวรัสหลังจากพ่นน้ำเกลือใส่ปากสมาชิกเพราะเชื่อว่าจะฆ่าไวรัส[236]ส่วนโบสต์ Shincheonji Church of Jesus ในนครบาลแทกูที่ผู้นำอ้างว่า ไม่มีศาสนิกชนของโบสถ์ผู้ติดเชื้อในเดือนกุมภาพันธ์ในขณะที่คนเป็นร้อย ๆ กำลังเสียชีวิตในอู่ฮั่น ต่อมาจึงก่อการติดโรคซึ่งกระจายไปมากสุดในประเทศ[237][238]

ในประเทศแทนซาเนีย ประธานาธิบดีประเทศแทนที่จะห้ามการชุมนุมกันทางศาสนา กลับกระตุ้นให้ผู้มีศรัทธาไปยังโบสต์และมัสยิดโดยเชื่อว่าจะช่วยป้องกันพวกเขาเขากล่าวว่า ไวรัสโคโรนาเป็นซาตาน ดังนั้น "จึงไม่สามารถรอดชีวิตในพระกายของพระคริสต์ มันจะไหม้ไป" (โดยพระกายของพระคริสต์หมายถึงโบสถ์)[239][240]

ในประเทศโซมาเลีย มีเทพนิยายที่กำลังกระจายไปและอ้างว่า คนมุสลิมมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัส[241]

แม้จะเกิดเหตุการณ์ระบาดทั่ว ในวันที่ 9 มีนาคม โบสถ์แห่งกรีซ (Church of Greece) ประกาศว่า พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งผู้ที่ไปโบสถ์จะกินขนมปังชุ่มด้วยไวน์จากถ้วยเดียวกัน จะทำพิธีเช่นเดียวกันต่อไป[242]สภาสงฆ์ของโบสถ์กล่าวว่า พิธี "ไม่อาจเป็นเหตุของการกระจายโรค" โดยมีผู้นำที่กล่าวว่า ไวน์ไม่มีโทษเพราะเป็นเลือดเนื้อของพระคริสต์ และว่า "คนที่ไปยังพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์กำลังก้าวเข้าไปหาพระเจ้า ผู้มีอำนาจในการรักษา"[242]ดังนั้น โบสถ์จึงปฏิเสธการจำกัดไม่ให้คนคริสต์เข้าพิธีนี้[243]ซึ่งมีคนหลายกลุ่มที่เห็นด้วยรวมทั้งผู้สอนศาสนา[244]นักการเมือง และบุคลากรทางแพทย์[244][245]

ส่วนสมาคมแพทย์โรงพยาบาลแห่งกรีซวิจารณ์บุคลากรแพทย์เหล่านั้นเพราะเอาความเชื่อขึ้นหน้าวิทยาศาสตร์[244]แต่ก็มีแพทย์กรีกผู้หนึ่งที่ตีพิมพ์งานทบทวนวรรณกรรมซึ่งอ้างว่า การแพร่โรคติดต่อในพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ไม่เคยเกิดแต่ข้อถกเถียงนี้ก็เท่ากับแบ่งพวกทางสังคม การเมือง และผู้ชำนาญการทางแพทย์ของกรีซ[246]

โคเคน

ยาเสพติดคือ โคเคน ไม่ได้ช่วยป้องกันโควิด-19มีทวีตหลายบทความที่อ้างว่า การสูดโคเคนจะฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนาในช่องจมูก โดยข้อความได้กระจายไปทั่วยุโรปและแอฟริกากระทรวงสุขภาพฝรั่งเศสจึงได้ประกาศหักล้างข้ออ้างเท็จนี้ว่า "ไม่เลย โคเคนไม่ได้ป้องกันโควิด-19มันเป็นยาเสพติดซ่งก่อผลข้างเคียงที่รุนแรงและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ"องค์การอนามัยโลกก็หักล้างข้ออ้างนี้ด้วย[247]

การพ่นยาฆ่าเชื้อจากเฮลิคอปเตอร์

ในประเทศเอเชียบางประเทศ มีการอ้างว่า ควรจะอยู่บ้านในวันที่เฮลิคอปเตอร์พ่น "ยาฆ่าโควิด-19" เหนือบ้านและอาคารไม่เคยมีการพ่นยาเช่นนี้ ไม่มีแผนการ และจนถึงเดือนกรกฎาคม 2020 ก็ยังไม่มียาเพื่อใช้ในการนี้[248][249]

แรงสั่น

ในอินเดีย สื่อได้หักล้างแนวคิดว่าแรงสั่นจากการตบมือในเคอร์ฟิวชานาตา (เคอร์ฟิวประชาชน) จะฆ่าไวรัส[250]นักแสดงอมิตาภ พัจจันถูกตำหนิอย่างรุนแรงสำหรับทวีตของเขาบทความหนึ่ง ซึ่งอ้างว่าแรงสั่นจากการตบมือและการเป่าหอยสังค์โดยเป็นส่วนของเคอร์ฟิวชานาตาในวันอาทิตย์จะลดหรือทำลายฤทธิ์ของไวรัสโคโรนาเพราะมันเป็นคืนมืดที่สุดของเดือน (Amavasya)[251]

อาหาร

ในอินเดีย ข่าวปลอมได้กระจายไปว่า องค์การอนามัยโลกเตือนไม่ให้กินกะหล่ำปลีเพื่อป้องกันการติดโรค ซึ่งจริง ๆ ไม่มีการเตือนเช่นนี้[252]ข้ออ้างว่า ผลอันเป็นพิษของต้น Datura (พืชประเภทลำโพงและมะเขือบ้า) สามารถช่วยป้องกันโควิด-19 ทำให้คน 11 คนต้องเข้า รพ. เพราะได้กินผลไม้ตามคำแนะนำของวิดีโอในติ๊กต็อกที่กระจายข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวิธีป้องกันโควิด-19[253][254]

ใกล้เคียง

ข้อมูลผิดเกี่ยวกับโควิด-19 ข้อมูล ข้อมูลมหัต ข้อมูลที่ระบุตัวบุคคลได้ ข้อมูลอภิพันธุ์ ข้อมูล (คอมพิวเตอร์) ข้อมูลด้านสุขภาพในวิกิพีเดีย ข้อมูลผู้เข้าร่วมรายบุคคล ข้อมูลส่วนแบ่งการตลาดอุตสาหกรรมเพลงทั่วโลก ข้อมูลแบบเปิด

แหล่งที่มา

WikiPedia: ข้อมูลผิดเกี่ยวกับโควิด-19 http://news.sina.com.cn/o/2020-02-17/doc-iimxxstf2... http://news.cctv.com/2020/01/25/ARTIce5OB5W3sORPe9... http://dongascience.donga.com/news.php?idx=35457 http://start.loandepot.com/assets/int-email/disast... http://www.szhgh.com/Article/opinion/zatan/2020-01... http://www.taipeitimes.com/News/taiwan/archives/20... http://www.xilu.com/20200126/1000010001119697.html http://www.xinhuanet.com/politics/2020-03/16/c_112... http://www.rfi.fr/en/africa/20200414-press-freedom... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16335659