การเหยียดชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์ในประเทศไทย ของ คตินิยมเชื้อชาติในประเทศไทย

ชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์ในประเทศไทยเป็นกลุ่มที่ถูกเลือกปฏิบัติมาเป็นเวลานานแล้ว โดยเฉพาะชาวเขากว่าหนึ่งล้านคนที่ยังถูกมองว่าเป็นพวกคนขายยาเสพติดที่ไม่รู้หนังสือหรือพวกปลูกฝิ่นอยู่ โดยมีสื่อในประเทศส่งเสริมภาพลักษณ์นี้ ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้กล่าวไว้ว่าความคิดแบบนี้นั้นไม่ได้เป็นมาตลอด

"ก่อนหน้านี้ พวกเขา (ชาวเขา) ถูกคนทั่วไปที่อาศัยอยู่บนพื้นราบมองว่าเป็นทั้งเพื่อนและคู่ค้า รวมไปถึงมีความสัมพันธ์แบบการอยู่ร่วมกัน ทว่าปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นหลังเริ่มใช้แผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจเมื่อประมาณช่วงปีพ.ศ. 2503 ไปจนถึงพ.ศ. 2523 และการอพยพเข้ามาของชาวเวียดนามในช่วงสงครามเวียดนาม ได้เปลี่ยนความสัมพันธ์นี้ตลอดไป ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาพวกชาวเขากลายเป็นศัตรู หรือ 'พวกนั้น' การมองว่าคนที่ไม่ใช่คนไทยนั้นไม่ได้เป็นพวกเดียวกันกับ 'พวกเรา' และการมองพวกเขาเป็นผู้ร้าย นั้นฝังอยู่ในตำราเรียน ในประวัติศาสตร์ไทย และในสื่อทั่วไป"[1]

การวิสามัญฆาตกรรม การทรมาน การหายตัวไป และการข่มขู่ชาวเขาโดยตำรวจและทหารไทยนั้นไร้ความปราณีมากกว่าทั่วไปภายใต้นโยบายต้านยาเสพติดของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเริ่มต้นในปีพ.ศ. 2546 [2]

มุสลิม มลายู อาณาจักรปัตตานีของภาคใต้ของประเทศไทยได้ถูกรวมเป็นประเทศไทยในปี พ.ศ. 2329 ชาวไทยเชื้อสายมลายูมักถูกเรียกว่าแขกและตกเป็นเป้าของการเหยียดและกดขี่ทางการเมืองโดยเฉพาะในช่วงของที่ปกครองโดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม และนโยบายการแผลงเป็นไทยในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยโดยกลุ่มผู้ก่อการร้ายมลายูในสิบปีทีผ่านมาถูกตอบโต้อย่างเด็ดขาดโดยรัฐบาลไทย โดยเฉพาะภายใต้การบริหารของทักษิณ ชินวัตร[3][4]

ชาวไทยเชื้อสายจีนซึ่งจำนวนประมาณ 14% ของประชากรไทยทั้งหมด เคยถูกเลือกปฏิบัติจากคนไทยในอดีตเช่นกัน โดยมีช่วงหนึ่งที่โรงเรียนสอนภาษาจีนถูกปิด และพวกที่มีต้นตระกูลจีนยังถูกบังคับให้เปลี่ยนนามสกุลให้เหมือนภาษาไทย อย่างไรก็ดีชาวจีนในประเทศไทยปัจจุบัน ได้รับความสำเร็จอย่างสูงทั้งในสังคมและทางเศรษฐกิจ

ประเทศไทยยังมีปัญหาเรื่องการเหยียดเชื้อชาติชาวตะวันออกกลางอีกด้วย[citation needed] พวกเขาถูกเรียกรวม ๆ ว่าแขก ซึ่งหมายถึงคนต่างชาติ หรือ คนนอก คำนี้เป็นคำที่เคยใช้ในสมัยอยุธยาและยังใช้ได้ในปัจจุบันทั้งในเชิงทั่วไป และในเชิงเหยียด[5]

ใกล้เคียง

คตินิยมเชื้อชาติในประเทศไทย คตินิยมสิทธิสตรี คตินิยมศิลปะญี่ปุ่น คตินิยมนักวิชาการ คตินิยมเชื้อชาติในสหรัฐ คตินิยมเชื้อชาติ คตินิยมสรรผสาน คตินิยมเส้นกั้นสี คตินิยมแบบโบลิบาร์ คตินิยมเปลี่ยนแนว

แหล่งที่มา

WikiPedia: คตินิยมเชื้อชาติในประเทศไทย http://www.humanrights.asia/news/forwarded-news/AH... http://asiapacific.anu.edu.au/newmandala/2009/07/0... http://asiancorrespondent.com/118988/suthep-claims... http://atimes.com/se-asia/CI01Ae01.html http://www.bangkokpost.com/learning/learning-from-... http://www.bangkokpost.com/news/local/400583/offic... http://www.bangkokpost.com/opinion/opinion/414000/... http://www.chiangmaicitynews.com/news.php?id=3552 http://www.ebony.com/black-listed/news-views/thail... http://www.int-res.com/articles/esep2013/13/e013p0...