ครอบครัว ของ ครอบครัวของพระโคตมพุทธเจ้า

ยโสธรา

บทความหลัก: พระยโสธราเถรี
พระพุทธเจ้ากำลังออกจากพระราชวังเมื่อยโสธราและราหุลกำลังบรรทม

ยโสธรา บางแห่งเรียก ภัททา กัจจานา[22] หรือ พิมพา[23] เป็นพระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ กับพระนางอมิตา ในครอบครัวของเจ้าผู้ครองแคว้นโกลิยะ[24][25] มีพระเชษฐาคือพระเทวทัต[26][27] ยโสธรามีศักดิ์เป็นพระภาติยะของสิริมหามายาและมหาปชาบดีโคตมี อีกทั้งยังประสูติในวันและเวลาเดียวกันกับสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับเป็นหนึ่งในสหชาติ 7[28][29] กล่าวกันว่ายโสธรามีพระสิริโฉมงดงาม มีสรีระและผิวพรรณงามดุจทองคำชั้นดีที่สุด แม้เจ้าหญิงรูปนันทาซึ่งเป็นพระญาติจะทรงงามจนได้สมญาว่าชนบทกัลยาณี ก็ยังงามไม่เทียมเท่า[30] ยโสธราเสกสมรสกับสิทธัตถะเมื่อพระชันษา 16 ปี ประทับร่วมพระสวามีในปราสาทสามหลังที่ได้รับการตกแต่งอย่างงดงาม เพื่อเป็นที่ประทับในสามฤดู ห้อมล้อมบำเรอด้วยหญิงงามประโคมดนตรี เสวยสุขทั้งกลางวันและกลางคืน[23] ยโสธราประสูติกาลพระโอรสเพียงพระองค์เดียว คือ ราหุล เมื่อมีพระชันษา 29 ปี[23] หลังประสูติกาลเพียงเจ็ดวัน สิทธัตถะก็ออกไปผนวช เมื่อยโสธราทราบว่าสิทธัตถะออกผนวชแล้ว ก็เปลี่ยนไปใช้ชีวิตอย่างสมถะตามอย่างพุทธองค์[31]

ครั้นเมื่อสุทโธทนะสวรรคตล่วงไปแล้ว พระมหาปชาบดีจึงออกผนวช ยโสธราก็เห็นดีด้วยจึงออกผนวชเป็นภิกษุณี พร้อมกับบริจาคทรัพย์สินที่มีทั้งหมด[32] ยโสธราเคยทูลพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับการบำเพ็ญเพียรของพระองค์ก่อนนิพพานไว้ว่า "...ข้าแต่พระมหาวีระ หม่อมฉันยอมรับทุกข์ทรมาน มากมายหลายอย่างจนนับไม่ถ้วน ในสงสารเป็นอเนก ก็เพื่อประโยชน์แก่พระองค์..." และ "...ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันได้รับสุขก็อนุโมทนา และคราวที่ได้รับทุกข์ก็ไม่เสียใจ เป็นผู้ยินดีแล้วทุกอย่าง เพื่อประโยชน์แก่พระองค์..."[32]

ยโสธรานิพพานราวสองปีก่อนที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน[32][30]

ราหุล

บทความหลัก: พระราหุล

ราหุล เป็นพระโอรสเพียงคนเดียวของสิทธัตถะ (ต่อมาคือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) กับยโสธรา พระนามปรากฏในเอกสารพุทธยุคต้น[33][34] ราหุลถือกำเนิดขึ้นในช่วงที่สิทธัตถะตัดสินใจที่จะออกผนวช จึงให้นามว่า ราหุล แปลว่า "บ่วง" ที่ร้อยรัดมิให้พุทธองค์ตรัสรู้[35][36] เมื่อราหุลมีอายุได้ 7 ปี[36] หรือ 15 ปี[37] ก็ได้พบกับพระพุทธเจ้าที่เสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์ ราหุลได้ออกบวชเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา[35] พระพุทธเจ้าได้สั่งสอนในเรื่อง ความจริงแท้ การสะท้อนตนเอง[36] และอนัตตา[38] จนราหุลบรรลุธรรม[39][40]

เอกสารพุทธยุคต้นระบุว่าราหุลนิพพานก่อนที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน[35] บางเอกสารก็ว่าราหุลมีชีวิตอยู่และคอยดูแลสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจนกระทั่งเสด็จดับขันธปรินิพพาน[41] ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนามักกล่าวยกย่องราหุลเรื่องการใฝ่รู้ จึงได้รับเกียรติจากภิกษุและภิกษุณีมาโดยตลอด[42] เรื่องราวของราหุลทำให้ทราบได้ว่า ศาสนาพุทธเล็งเห็นศักยภาพของเยาวชนว่าสามารถบรรลุธรรมได้เช่นเดียวกันกับผู้ใหญ่[43]

ใกล้เคียง

ครอบครัวตึ๋งหนืด ครอบครัวของพระโคตมพุทธเจ้า ครอบครัว ครอบครัวของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ครอบครัวตัวสลับ ครอบครัวขำ ครอบครัวจอมวุ่น บ้านอุ่นไอรัก ครอบครัวสกายวอล์คเกอร์ ครอบครัวตึ๋งหนืดตืดขั้นเทพ ครอบครัวตัวดำ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ครอบครัวของพระโคตมพุทธเจ้า https://www.silpa-mag.com/club/art-and-culture/art... https://archive.org/details/afterbuddhismret0000ba... http://lirs.ru/lib/sutra/Long_Discourses_of_the_Bu... https://archive.org/details/afterbuddhismret0000ba... https://web.archive.org/web/20170718151939/http://... http://www.crs.mahidol.ac.th/thai/buddhist17.htm http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=1... https://web.archive.org/web/20150128094505/http://... http://www.drukpa-nuns.org/index.php/maha-pajapati... http://www.buddhanet.net/e-learning/buddhism/lifeb...