เหตุ ของ ความจริงวิปลาส

ภาวะนี้อาจเป็นไปตามภาวะทางประสาทเช่น โรคลมชัก (โดยเฉพาะโรคลมชักเหตุสมองกลีบขมับ) ไมเกรน และการบาดเจ็บที่ศีรษะแบบเบา ๆ[7]การไร้อารมณ์ทางตาและการตอบสนองต่อสิ่งที่เห็นทางอารมณ์น้อยลงคล้ายกับภาวะความจริงวิปลาสซึ่งแสดงว่ามีปัญหากับกระบวนการที่อารมณ์มาประกอบการรับรู้การรับรู้ที่เปลี่ยนไปอาจทำให้เห็นโดยรู้สึกว่าไม่จริงหรือว่าเฉย ๆ/ไร้อารมณ์[3]งานศึกษาทางประสาทสรีรภาพบางงานพบปัญหาที่เกิดจากสมองกลีบหน้า-กลีบขมับ ซึ่งมีสหสัมพันธ์อย่างสูงกับโรคที่สมองกลีบขมับเช่นโรคลมชัก

ความจริงวิปลาสอาจปรากฏเป็นผลโดยอ้อมของโรคระบบการทรงตัว (ในหูชั้นใน) บางอย่างเช่น หูชั้นในอักเสบซึ่งเชื่อว่าเกิดจากความวิตกกังวลเหตุเวียนศีรษะคำอธิบายอีกอย่างก็คือ การทำหน้าที่ผิดปกติของระบบการทรงตัวมีผลต่าง ๆ รวมทั้งการปรับการทำงานของระบบประสาท noradrenergic (ที่ใช้สารสื่อประสาท norepinephrine) และ serotonergic (ที่ใช้สารสื่อประสาทเซโรโทนิน) เพราะไปโทษอาการที่เกิดจากระบบการทรงตัวอย่างผิด ๆ ว่ากำลังตกอยู่ในอันตรายแล้วมีผลให้วิตกกังวลหรือตื่นตระหนก แล้วก่อภาวะความจริงวิปลาสอนึ่ง ภาวะนี้ยังสามัญในอาการทางกายเหตุจิต (psychosomatic symptom) ที่เห็นในโรควิตกกังวลประเภทต่าง ๆ รวมทั้งโรคคิดว่าตนป่วย (hypochondriasis)[8]อย่างไรก็ดี ภาวะนี้ปัจจุบันจัดว่าเป็นปัญหาทางจิตต่างหากอย่างหนึ่งเพราะมันเกิดกับโรคหลายอย่างและก็เกิดเองต่างหากด้วย

งานศึกษาบางงานได้สัมพันธ์ความจริงวิปลาสและอาการดิสโซสิเอทีฟกับความแตกต่างทางสรีรภาพและทางจิตของบุคคลและสิ่งแวดล้อมของบุคคลมีข้อสังเกตว่า การตื่นนอนง่ายบวกกับภาวะบางอย่างเกี่ยวกับการนอน เช่น ภาวะเหมือนฝันเมื่อตื่น ประสาทหลอนช่วงก่อนหลับหรือหลังตื่น ภาวะกลัวจัดในการหลับระยะ (NREM) และความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนอื่น ๆ อาจเป็นเหตุ หรืออาจทำให้ภาวะนี้ดีขึ้นโดยส่วนหนึ่ง[9]ความจริงวิปลาสยังอาจเป็นอาการของความผิดปกติในการนอน (sleep disorder) และความผิดปกติทางจิต เช่น โรคบุคลิกวิปลาส (DPD), ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง (BPD), โรคอารมณ์สองขั้ว, โรคจิตเภท, dissociative identity disorder และโรคทางจิตใจอื่น ๆ[10]

สารต่าง ๆ รวมทั้งกัญชา[11]สารก่ออาการโรคจิต (psychedelics) สารดิสโซสิเอทีฟ ยาแก้ซึมเศร้า กาเฟอีน ไนตรัสออกไซด์ อัลบูเทอรอล และนิโคตินล้วนสามารถก่อภาวะความจริงวิปลาส[ต้องการอ้างอิง]โดยเฉพาะเมื่อใช้มากเกินมันยังสามารถเกิดเพราะการเลิกแอลกฮอล์/เหล้า หรือหยุดยาเบ็นโซไดอาเซพีน[12]การหยุดใช้โอปิแอตยังอาจก่อภาวะความจริงวิปลาส ซึ่งอาจกลายเป็นอาการเรื้อรัง หรืออาจเกิดทีหลัง ซึ่งแสดงความต่าง ๆ ระดับสูงของปรากฏการณ์นี้ในระหว่างบุคคล

วิธีรักษาโรคตื่นตระหนกที่ไม่ใช้ยาแบบ interoceptive exposure[upper-alpha 1]อาจใช้ก่อภาวะความจริงวิปลาสและบุคลิกวิปลาสที่สัมพันธ์กันได้[14]

ใกล้เคียง

ความจำ ความจำชัดแจ้ง ความจำเชิงกระบวนวิธี ความจำอาศัยเหตุการณ์ ความจำโดยปริยาย ความจริงวิปลาส ความจำสั้น แต่รักฉันยาว ความจริงวันนี้ ความจริงในนิยาย ความจุความร้อนจำเพาะ