ความจำเชิงกระบวนวิธี ของ ความจำโดยปริยาย

ดูบทความหลักที่: ความจำเชิงกระบวนวิธี

ความจำโดยปริยายที่เราใช้ทุกวันอย่างนี้เรียกว่า ความจำเชิงกระบวนวิธี หรือ ความจำเชิงดำเนินการ หรือ ความจำเชิงกระบวนการ[1] (procedural memory) ซึ่งทำให้เราสามารถทำกิจต่าง ๆ (เช่นเขียนหนังสือหรือขี่จักรยาน) แม้ว่าเราจะไม่ใส่ใจ หรือไม่ได้คิดถึงการกระทำนั้น

ในงานทดลองหนึ่ง มีผู้รับการทดลองสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งเป็นคนไข้ภาวะเสียความจำ (amnesia) ที่มีความจำระยะยาวเสียหายเป็นอย่างยิ่ง และอีกกลุ่มหนึ่งเป็นคนปกติมีการให้ผู้รับการทดลองเล่นเกมหอคอยแห่งฮานอย (เป็นเกมซับซ้อนที่ต้องผ่านขั้นตอน 31 ขั้นจึงจะผ่านได้) หลายครั้งหลายคราวผู้รับการทดลองกลุ่มแรกปรากฏการพัฒนาขึ้นในเกมต่อ ๆ มา เท่ากับผู้ร่วมการทดลองในกลุ่มที่สองแม้ว่า ผู้ร่วมการทดลองกลุ่มแรกบางคนจะยืนยันว่า จำไม่ได้ว่าเคยเห็นเกมนี้มาก่อนผลงานวิจัยนี้บอกเป็นนัยอย่างมีกำลังว่า ความจำเชิงกระบวนวิธีเป็นอิสระอย่างสิ้นเชิงจากความจำเชิงประกาศ (declarative memory)[10]

ในอีกการทดลองหนึ่ง คนสองกลุ่มได้รับเครื่องดื่มอัดลมกลุ่มแรกภายหลังมีการทำให้เกิดความคลื่นไส้และดังนั้นจึงเริ่มไม่ชอบใจรส (taste aversion) ของเครื่องดื่มอัดลมแม้ว่าจะได้รับแจ้งว่า เครื่องดื่มนั้นไม่ได้ทำให้คลื่นไส้ผลงานวิจัยนี้แสดงว่า มีความจำเชิงกระบวนวิธี ที่เป็นความจำโดยปริยายที่สัมพันธ์ความคลื่นไส้กับรสเครื่องดื่มที่ไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจ[11]

ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า ทัศนคติโดยปริยาย (คือทัศนคติที่เรามีโดยไม่รู้ตัว) ควรจะจัดอยู่ใต้ความจำโดยปริยาย (คือ โดยบางส่วนแล้ว ทัศนคติโดยปริยายมีความเหมือนกับความจำเชิงกระบวนวิธีเพราะว่าอาศัยความรู้โดยปริยาย ที่ไม่สำนึกตัว ที่ได้เรียนรู้มาก่อนแล้วในอดีต)หรือว่า นี้เป็นเพียงปรากฏการณ์ที่อธิบายได้โดยวิธีอื่น[12]

ใกล้เคียง

ความจำ ความจำชัดแจ้ง ความจำเชิงกระบวนวิธี ความจำอาศัยเหตุการณ์ ความจำโดยปริยาย ความจริงวิปลาส ความจำสั้น แต่รักฉันยาว ความจริงวันนี้ ความจริงในนิยาย ความจุความร้อนจำเพาะ