ปรากฏการณ์ความจริงลวง ของ ความจำโดยปริยาย

ทฤษฎีเกี่ยวกับ "ปรากฏการณ์ความจริงลวง" (illusion-of-truth effect) แสดงว่า เรามีโอกาสที่จะเชื่อข้อความที่คุ้นเคยมากกว่าข้อความที่ไม่คุ้นเคยในการทดลองในปี ค.ศ. 1977 มีการให้ผู้ร่วมการทดลองอ่านข้อความ 60 ข้อความที่อาจเป็นไปได้ทุก ๆ 2 อาทิตย์แล้วให้ตัดสินใจว่า เป็นจริงหรือเท็จข้อความที่ให้อ่านบางส่วน (เป็นจริงบ้าง เท็จบ้าง) ปรากฏเกินกว่า 1 ครั้งในช่วงการทดลองต่าง ๆผลการทดลองแสดงว่า ผู้ร่วมการทดลองมีโอกาสมากกว่าที่จะตัดสินใจว่าข้อความเป็นจริง ถ้าเป็นข้อความที่เคยได้ยินมาแล้วแม้ว่าจะจำไม่ได้ว่าเคยได้ยินมาแล้ว ไม่ว่าข้อความนั้นจะเป็นจริงหรือเท็จ

เนื่องจากว่าปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นแม้ไม่รู้ตัว จึงเป็นผลของความจำโดยปริยายผู้ร่วมการทดลองบางพวกตัดสินข้อความที่เคยได้ยินแล้วว่าเป็นจริง แม้ว่าจะได้รับแจ้งมาก่อนแล้วว่าเป็นข้อความเท็จ[9] ปรากฏการณ์นี้แสดงภัยที่อาจจะมีเพราะความจำโดยปริยายเพราะว่า สามารถที่จะนำไปสู่การตัดสินใจที่ไม่รู้ตัวเกี่ยวกับความถูกต้องของข้อความ

ใกล้เคียง

ความจำ ความจำชัดแจ้ง ความจำเชิงกระบวนวิธี ความจำอาศัยเหตุการณ์ ความจำโดยปริยาย ความจริงวิปลาส ความจำสั้น แต่รักฉันยาว ความจริงวันนี้ ความจริงในนิยาย ความจุความร้อนจำเพาะ