งานศึกษา ของ ความตลกขบขัน

การหัวเราะ

ประเด็นหลักอย่างหนึ่งของงานวิจัยและทฤษฎีความตลกขบขันทางจิตวิทยา ก็เพื่อค้นหาและทำให้ชัดเจนเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความตลกกับการหัวเราะสิ่งที่พบหลักโดยหลักฐานอย่างหนึ่งก็คือ การหัวเราะและความตลกขบขันไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กันแบบหนึ่งต่อหนึ่งแม้ว่าทฤษฎีก่อน ๆ จะสมมุติความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งสองจนกระทั่งกับเหมือนเป็นสิ่งเดียวกัน นักวิชาการทางจิตวิทยาก็ได้แยกศึกษาโดยหลักวิทยาศาสตร์และโดยหลักฐานถึงความสัมพันธ์ที่อาจจะมี ผลติดตาม และความสำคัญของมัน

งานปี 2552 ตรวจสอบว่า การหัวเราะสามารถสื่ออารมณ์ต่าง ๆ ให้ผู้ฟังรับทราบได้หรือไม่พวกเขาได้จ้างนักแสดงให้หัวเราะอัดเสียงโดยใช้อารมณ์ 4 อย่างที่ทำให้เกิดเอง โดยนักแสดงจะสนใจแต่อารมณ์ของตนอย่างเดียว ไม่สนใจว่าจะต้องแสดงออกอย่างไรแล้วพบว่า ในงานทดลองแรก ผู้ร่วมการทดลองสามารถระบุอารมณ์ที่ถูกต้องจากเสียงหัวเราะที่อัตรา 44% โดยความเบิกบานใจ (joy) ที่ 44% จั๊กจี้ (tickle) ที่ 45% ตลกเพราะคนอื่นลำบาก (schadenfreude) ที่ 37% และคำพูดเสียดสี (taunt) ที่ 50%[37]:399งานทดลองที่สองตรวจสอบการระบุมิติต่าง ๆ (ความตื่นตัว, dominance, receiver valence, sender valence) ของเสียงหัวเราะเดียวกันแล้วพบว่า ผู้ร่วมการทดลองระบุมิติ 4 อย่างของเสียงหัวเราะ 4 อย่าง ในระดับต่าง ๆ กัน ซึ่งแสดงว่าผู้ฟังสามารถกำหนดความแตกต่างของการหัวเราะได้แม้จะไม่ได้รับอิทธิพลจากการเลือกประเภทเสียงหัวเราะจาก 4 อย่างที่กำหนดล่วงหน้า[37]:401-402

งานศึกษานี้แสดงว่า การหัวเราะสามารถสัมพันธ์กับทั้งอารมณ์เชิงบวก (ความเบิกบานใจและความจั๊กจี้) และอารมณ์เชิงลบ (ตลกเพราะคนอื่นลำบากและคำพูดเสียดสี) โดยมีระดับความตื่นตัวในระดับต่าง ๆจึงนำมาสู่ประเด็นว่าความตลกขบขันมีนิยามว่าอย่างไรกันแน่ซึ่งก็คือเป็นกระบวนการทางการรู้คิดที่ประกอบด้วยการหัวเราะ และดังนั้น ความตลกขบขันจะรวมทั้งอารมณ์ทั้งเชิงบวกและเชิงลบต่าง ๆแต่ว่า ถ้าจะจำกัดความตลกขบขันว่าเป็นแค่อารมณ์เชิงบวกและสิ่งที่ให้ผลบวกเท่านั้น ก็จะจำเป็นที่จะต้องจำแนกจากการหัวเราะ และความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลก็ควรจะให้นิยามด้วย

สุขภาพ

ความตลกขบขันมีหลักฐานว่าช่วยให้ฟื้นสภาพจากความทุกข์และช่วยแก้อารมณ์เชิงลบงานวิจัยปี 2552 พบว่ามันช่วยให้สนใจไปในเรื่องอื่นสำหรับบุคคลที่กำลังเป็นทุกข์[38]:574-578มีการให้ผู้ร่วมการทดลองดูรูปและประโยคเชิงลบต่าง ๆ หลายอย่างแล้วพบว่า การบำบัดด้วยความตลก (humorous therapy) ช่วยลดอารมณ์เชิงลบที่เกิดหลังจากดูรูปและประโยคเชิงลบนอกจากนั้นแล้ว การบำบัดด้วยความตลกยังมีประสิทธิภาพในการลดอารมณ์เชิงลบ เมื่ออารมณ์แรงขึ้น[38]:575-576

มุกตลกช่วยรับมือกับความทุกข์ได้ทันทีการเป็นกลไกรับมือแบบหลบแสดงว่า มันจะมีประโยชน์ที่สุดสำหรับความเครียดแบบชั่วขณะและดังนั้น สิ่งเร้าเชิงลบที่มีกำลังยิ่งกว่านั้นจำเป็นต้องใช้วิธีการบำบัดอย่างอื่น[ต้องการอ้างอิง]

อารมณ์ขันเป็นลักษณะนิสัย (character trait) พื้นฐานอย่างหนึ่งที่สัมพันธ์กับอารมณ์เชิงบวกในทฤษฎีพัฒนาการรู้คิด broaden-and-build ที่แนะให้มีพฤติกรรมและความคิดรูปแบบใหม่ ๆ ซึ่งในระยะเวลายาวจะพัฒนาเป็นทักษะความสามารถและทรัพยากรในชีวิตงานศึกษาต่าง ๆ รวมทั้งที่ทดสอบสมมติฐาน undoing ของ นพ. ซิกมุนด์ ฟรอยด์ และลูกสาวของเขา[39]:313แสดงผลบวกของอารมณ์ขันโดยปรากฏเป็นลักษณะนิสัยเช่น ความช่างสนุก (amusement) และความช่างเล่น (playfulness)

งานศึกษาอีกหลายงานแสดงว่า อารมณ์เชิงบวกสามารถทำให้คืนสภาพสู่ความสงบอัตโนวัติ (autonomic quiescence) หลังจากเผชิญกับเหตุการณ์เชิงลบยกตัวอย่างอย่างเช่น งานศึกษางานหนึ่งพบว่า บุคคลที่ยิ้มโดยใช้ทั้งกล้ามเนื้อที่มุมปากและมุมตา (Duchenne smile) เมื่อเกิดตื่นตัวในเชิงลบเพราะเหตุการณ์ที่น่าเศร้าหรือเป็นปัญหา จะฟื้นสภาพจากอารมณ์เชิงลบ 20% เร็วกว่าบุคคลที่ไม่ยิ้ม[39]:314

อารมณ์ขันสามารถใช้เป็นกลไกลแยกตัวออกห่าง/ลดการยึดติดเมื่อรับมือกับเหตุการณ์ที่ทุกข์ลำบากงานศึกษาปี 2540 พบว่า การหัวเราะที่ใช้กล้ามเนื้อทั้งที่มุมปากและมุมตา (Duchenne laughter) สัมพันธ์กับความรู้สึกเป็นทุกข์ที่ลดลง[40]

อารมณ์เชิงบวกช่วยลดการยึดติดกับอารมณ์เชิงลบในความคิดการลดความยึดติดจะช่วยลดการตอบสนองฝ่ายเดียวหรืออย่างเดียวที่บุคคลมักจะมีเมื่ออารมณ์ไม่ดีในฐานะที่การไม่ยึดติดช่วยรับมือกับความเครียด มันก็สนับสนุนทฤษฎี broaden and build ด้วยว่า อารมณ์เชิงบวกช่วยเพิ่มทางเลือกในการตอบสนองทางการรู้คิดและช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางสังคม

อายุ

อารมณ์ขันช่วยให้รับมือกับการมีอายุมากขึ้นในด้าน 3 ด้านคือ สุขภาพกาย การสื่อสารทางสังคม และความพอใจในชีวิตงานศึกษาแสดงว่า อารมณ์ขันที่สม่ำเสมอเมื่อมีอายุเพิ่มขึ้นมีประโยชน์ทางสุขภาพต่อบุคคลเช่น มีความภูมิใจในตนที่ดีว่า มีความซึมเศร้าน้อยกว่า มีความวิตกกังวลน้อยกว่า และรู้สึกเครียดน้อยกว่า[41][42]แม้แต่คนที่มีโรคก็ยังปรับตัวกับการสูงอายุได้ดีขึ้นถ้ามีอารมณ์ขัน[43]

โดยทั่วไปแล้ว อารมณ์ขันเมื่อมีอายุมากขึ้นมีสหสัมพันธ์ที่มีกำลังกับสุขภาพที่ดีขึ้นในบุคคลงานวิจัยยังแสดงอีกด้วยว่า อารมณ์ขันช่วยสร้างและดำรงความสัมพันธ์ทางสังคมที่ดีเมื่อชีวิตกำลังเปลี่ยนไป[43]เช่น เมื่อผู้มีอายุย้ายไปอยู่ในสถานพยาบาลหรือสถานดูแลผู้สูงอายุอื่น ๆในความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและครอบครัวอาจจำกัดลงทำให้ต้องหาเพื่อนใหม่อารมณ์ขันมีหลักฐานว่าทำให้ปรับตัวได้ดีกว่า เพราะว่า อารมณ์ขันช่วยลดความเครียด อำนวยการสังคมและช่วยสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น[44]

อารมณ์ขันอาจช่วยรักษาความรู้สึกที่ดีต่อบุคคลที่บังคับให้เปลี่ยนวิถีชีวิตปฏิสัมพันธ์ทางสังคมใหม่ ๆ เหล่านี้อาจเป็นเรื่องจำเป็นเมื่อชีวิตเปลี่ยนไป และอารมณ์ขันจะช่วยให้มีปฏิสัมพันธ์และปรับตัวเปลี่ยนได้ง่ายขึ้น

อารมณ์ขันยังช่วยรักษาความรู้สึกพึงพอใจในชีวิตไว้ได้การมีอายุสูงขึ้นอาจเปลี่ยนสมรรถภาพการดำเนินชีวิต เช่น ไม่สามารถขับรถได้อีกต่อไปซึ่งอาจลดความพึงพอใจในชีวิตของบุคคลอารมณ์ขันช่วยชะลอการลดระดับความพึงพอใจในชีวิตเพราะช่วยคลายความเครียดและความวิตกกังวลที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลง[43]การหัวเราะและอารมณ์ขันอาจเป็นตัวทดแทนการลดลงของความพอใจในชีวิตโดยช่วยให้รู้สึกดีกับสถานการณ์และลดความเครียด[41]ซึ่งอาจช่วยรักษาความรู้สึกพึงพอใจในชีวิตกับวิถีชีวิตใหม่ที่เปลี่ยนไปจากเดิม

ใกล้เคียง

ความตาย ความตลกขบขัน ความตกลงมิวนิก ความต้านทานและการนำไฟฟ้า ความตกลงปางหลวง ความตกลงการสงบศึกเกาหลี ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า ความตกลงอังกฤษ-รัสเซีย ความตกลงเชงเกน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความตลกขบขัน http://www.emeraldinsight.com/doi/abs/10.1108/0142... http://www.leaonline.com/doi/abs/10.1207/s1532785x... http://www.mentomusic.com/flea.htm http://www.quotationspage.com/quote/984.html http://www.uni-duesseldorf.de/WWW/MathNat/Ruch/PSY... http://www.hup.harvard.edu/catalog.php?isbn=978067... http://u.osu.edu/mclc/files/2014/09/intro20.2-158j... http://etd.library.pitt.edu/ETD/available/etd-1103... http://www-cs-faculty.stanford.edu/~uno/smullyan.h... http://www.ucpress.edu/book.php?isbn=9780520283848