ผลทางสรีรภาพ ของ ความตลกขบขัน

ประธานาธิบดีบอริส เยลต์ซิน แห่งประเทศรัสเซีย และบิล คลินตัน แห่งสหรัฐอเมริกา กำลังขำอะไรบางอย่าง แม้ว่าภาษาจะต่างกัน

มุกตลกบ่อยครั้งใช้เพื่อทำให้สถานการณ์ที่เครียดหรือลำบากเบาลง และช่วยปรับสถานการณ์ทางสังคมโดยทั่วไปเพราะว่าคนจำนวนมากพบว่ามันเป็นประสบการณ์เชิงบวกที่สนุก ดังนั้น มันน่าจะสมเหตุผลว่า มุกตลกอาจจะมีผลที่ดีทางสรีรภาพ

งานศึกษาปี 2537 (ทำโดย Karen Zwyer, Barbara Velker, และ Willibald Ruch) ที่ตรวจสอบผลบวกทางสรีรภาพของมุกตลก คือว่าตรวจดูความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์ขำกับความอดทนต่อความไม่สบายกายโดยเฉพาะโดยเปิดคลิปวิดีโอตลกสั้น ๆ ให้ผู้ร่วมการทดลองดูแล้วให้จุ่มมือลงในน้ำเย็น (Cold pressor test)เพื่อระบุลักษณะของความขำขันที่อาจช่วยเพิ่มความอดทนต่อความไม่สบายกาย งานศึกษาแบ่งกลุ่มผู้ร่วมการทดลองหญิง 56 คน ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มร่าเริง (cheerfulness) กลุ่มตื่นเต้นดีใจ (exhilaration) และกลุ่มสร้างความขำ (humour production)แต่ละกลุ่มยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อย 2 กลุ่ม คือ บุคลิกร่าเริง (high Trait-Cheerfulness) และบุคลิกเคร่งขรึม (high Trait-Seriousness) ซึ่งวัดด้วยแบบวัด State-Trait-Cheerfulness-Inventoryแล้วบอกกลุ่ม 3 กลุ่มแต่ละกลุ่มดังต่อไปนี้ กลุ่มร่าเริงบอกให้ตื่นตัวชอบใจในคลิปวิดีโอโดยไม่ถึงกับหัวเราะหรือยิ้ม กลุ่มตื่นเต้นดีใจให้หัวเราะและยิ้มเกินความรู้สึกที่มีจริง ๆ ของตน และกลุ่มสร้างความขำให้พูดอะไร ๆ ขำ ๆ เกี่ยวกับคลิปวิดีโอเมื่อกำลังชมเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ร่วมการทดลองคิดว่าคลิปวิดีโอน่าขำจริง ๆ และวิดีโอมีผลตามที่ต้องการ จึงได้สำรวจผู้ร่วมการทดลองในเรื่องนั้นโดยได้คะแนนมัชฌิม 3.64 จาก 5การทดสอบโดยจุ่มมือในน้ำเย็นแสดงว่า ผู้ร่วมการทดลองทั้ง 3 กลุ่มมีขีดที่เริ่มรู้สึกไม่สบายที่สูงกว่าและอดทนต่อความรู้สึกไม่สบายได้นานกว่า เทียบกับก่อนดูคลิปวิดีโอโดยผลไม่ต่างกันระหว่างกลุ่มทั้ง 3[32]อารมณ์ขำยังมีโอกาสสัมพันธ์กับระบบภูมิคุ้มกันที่ดีอีกด้วยเช่น SIgA เป็นสารภูมิต้านทาน (antibody) ที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อโดยใช้วิธีที่คล้ายกับการทดลองก่อน ผู้ร่วมการทดลองชมคลิปวิดีโอสั้น ๆ ที่ตลกแล้ววัดระดับ SIgAซึ่งปรากฏกว่าเพิ่มขึ้นอย่างสำคัญ[33]

มีการอ้างว่า การหัวเราะสามารถช่วยเพิ่มผลการออกกำลังกายคือให้ประโยชน์ทางด้านหัวใจและหลอดเลือด และสามารถทำให้กล้ามเนื้อสมบูรณ์ขึ้น[34]แต่ว่างานหนึ่งแสดงว่า การหัวเราะอาจจะลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อโครงกระดูก (skeletal muscle) เพราะว่า การหัวเราะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวแบบสั้น ๆ แต่ก็ทำให้คลายตัวเป็นระยะเวลาที่นานกว่าด้วยประโยชน์ต่อหัวใจและหลอดเลือดก็ดูจะเป็นเรื่องแค่คิดขึ้นเท่านั้น เพราะว่า งานศึกษาที่ตรวจความอิ่มตัวของออกซิเจนแสดงว่า แม้ว่าการหัวเราะจะทำให้หายใจลึก ๆ เป็นระยะ ๆ แต่ว่ากลับไม่มีผลต่อระดับความอิ่มตัวของออกซิเจน[35]

เนื่องจากมุกตลกมักใช้เพื่อคลายความตึงเครียด ดังนั้น ก็น่าจะมีผลอย่างเดียวกันต่อความวิตกกังวลด้วยงานศึกษาปี 2533 ออกแบบเพื่อตรวจสอบสมมติฐานนี้โดยบอกผู้ร่วมการทดลองว่า เดี๋ยวจะช็อคด้วยไฟฟ้าแล้วให้กลุ่มหนึ่งรับเรื่องตลก ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้รับระดับความวิตกกังวลวัดทั้งโดยการแจ้งเอง และการวัดอัตราหัวใจเต้นผู้ร่วมการทดลองที่มีอารมณ์ขันสูงรายงานความวิตกกังวลที่น้อยกว่าในทั้งสองกลุ่ม ในขณะที่ผู้ร่วมการทดลองที่มีอารมณ์ขันต่ำในกลุ่มที่รับเรื่องตลกรายงานความวิตกกังวลที่น้อยกว่าแต่ว่า อัตราการเต้นหัวใจไม่แตกต่างกันอย่างสำคัญระหว่างผู้ร่วมการทดลองกลุ่มต่าง ๆ[36]

ใกล้เคียง

ความตาย ความตลกขบขัน ความตกลงมิวนิก ความต้านทานและการนำไฟฟ้า ความตกลงปางหลวง ความตกลงการสงบศึกเกาหลี ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า ความตกลงอังกฤษ-รัสเซีย ความตกลงเชงเกน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความตลกขบขัน http://www.emeraldinsight.com/doi/abs/10.1108/0142... http://www.leaonline.com/doi/abs/10.1207/s1532785x... http://www.mentomusic.com/flea.htm http://www.quotationspage.com/quote/984.html http://www.uni-duesseldorf.de/WWW/MathNat/Ruch/PSY... http://www.hup.harvard.edu/catalog.php?isbn=978067... http://u.osu.edu/mclc/files/2014/09/intro20.2-158j... http://etd.library.pitt.edu/ETD/available/etd-1103... http://www-cs-faculty.stanford.edu/~uno/smullyan.h... http://www.ucpress.edu/book.php?isbn=9780520283848