ปัจจัยทางสังคม ของ ความตลกขบขัน

เหมือนกับรูปแบบศิลปะอื่น ๆ ความขำขันในสไตล์หรือเหตุการณ์ตลกขึ้นอยู่กับปัจจัยทางสังคม และจะต่างกันในแต่ละคนตลอดประวัติศาสตร์มนุษย์ สุขนาฏกรรมใช้เป็นการบันเทิงรูปแบบหนึ่งทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นในมหาราชวังหรือในหมู่บ้านทั้งมารยาททางสังคมและเชาวน์ปัญญาบางอย่างสามารถแสดงออกเป็นไหวพริบและการพูดตลกแบบถากถางมีนักวิทยาศาสตร์และนักเขียนชาวเยอรมัน (Georg Lichtenberg) ผู้ถึงกับกล่าวว่า "คุณยิ่งรู้จักมุกตลกเท่าไร คุณก็จะเป็นคนที่ละเอียดลออมากยิ่งขึ้นเท่านั้น"[ต้องการอ้างอิง]

กรีกโบราณ

ทฤษฎีความตลกขบขันของชาวตะวันตกมีจุดกำเนิดที่นักปราชญ์เพลโต ผู้ให้เครดิตกับโสกราตีส โดยเป็นตัวละครเชิงประวัติศาสตร์ในบทสนทนาเรื่อง Philebus (หน้า 49b) ซึ่งมองว่าหัวใจของเรื่องน่าหัวเราะก็คือความเขลาของคนอ่อนแอ ที่ไม่สามารถโต้ตอบได้เมื่อถูกหัวเราะเยาะต่อมาในปรัชญากรีกโบราณ ในหนังสือทฤษฎีวรรณกรรม Poetics (1449a, หน้า 34-35) อาริสโตเติลได้เสนอว่า ความไม่น่าชมแต่ไม่ถึงกับขยะแขยงเป็นหัวใจของความน่าขำ

อินเดีย

ในละครสันสกฤตโบราณ นาฏยศาสตร์ ภารตะมุนีได้นิยามความตลกขบขัน (hāsyam) ว่าเป็นรสหนึ่งในเก้ารส (nava rasas) ซึ่งเป็นการตอบสนองทางอารมณ์โดยกระตุ้นให้ผู้ชมมีสภาวะเลียนอารมณ์ของผู้แสดง"รส" แต่ละรสจะสัมพันธ์กับ "ภาวะ" ที่แสดง

ในอาหรับและเปอร์เซีย

หะดีษโดย Muhammad al-Baqir เกี่ยวกับความตลกขบขัน

ส่วนคำว่าสุขนาฏกรรม (comedy) และละครเสียดสี (satire) กลายเป็นไวพจน์ของกันและกันเมื่อหนังสือทฤษฎีวรรณกรรม Poetics ของอาริสโตเติล ได้แปลเป็นภาษาอาหรับในยุค Islamic Golden Age (ประมาณคริสต์ทศวรรษที่ 8-13) แล้วขยายเพิ่มเติมโดยนักเขียนชาวอาหรับและนักปรัชญาชาวมุสลิมต่าง ๆ รวมทั้ง Abu Bishr Matta ibn Yunus, Al-Farabi, แอวิเซนนา และอิบนุ รุชด์เนื่องจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม พวกเขาได้เปลี่ยนสุขนาฏกรรมจากสิ่งที่ชาวกรีกได้ระบุ โดยรวมมันกับกวีนิพนธ์อาหรับเช่น hija ซึ่งเป็น กวีนิพนธ์เชิงเสียดสีพวกเขามองสุขนาฏกรรมว่าเป็นเพียง "ศิลปะในการตำหนิ" และจะไม่พูดถึงเหตุการณ์ที่รื่นเริงเบา ๆ หรือเป็นปัญหาในตอนต้น และความสุขตอนอวสาน เหมือนกับสุขนาฏกรรมกรีกแบบคลาสสิกดังนั้น หลังจากการแปลหนังสืออาหรับเป็นภาษาละตินในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 12 คำว่า comedy จึงได้เปลี่ยนความหมายไปในวรรณกรรมชาวตะวันตกยุคกลาง[11]

เขตแคริบเบียน

นักดนตรีชาวจาเมกาชื่อดังคนหนึ่ง (Lord Flea) กล่าวว่า "ชาวเวสต์อินเดียนเป็นคนที่มีอารมณ์ขันที่สุดในโลก"แม้แต่ในเพลงที่ขึงขังจริงจังที่สุดของพวกเขา เช่นเพลง Las Kean Fine (หายและไม่สามารถหาคืนได้) ซึ่งเล่าเรื่องการระเบิดของหม้อน้ำในไร่อ้อยที่ทำให้คนงานเสียชีวิตหลายคน แต่ว่าทั้งไหวพริบและมุกตลกก็ยังส่องแสงออกให้เห็นได้"[12]

จีน

ความเชื่อดั้งเดิมของลัทธิขงจื๊อใหม่ (Neo-Confucian) ที่ให้ความสำคัญกับพิธีกรรมและมารยาท ตามประวัติแล้วดูถูกมุกตลกว่า เป็นอะไรที่หักล้างหรือไม่เหมาะสมส่วนคัมภีร์หลุน-อฺวี่ที่รวบรวมขึ้นหลังการเสียชีวิตของขงจื๊อเอง แสดงว่าขงจื๊อชอบใจมุกตลกที่ถ่อมตัวเอง เช่น เคยเทียบการท่องเที่ยวของตนเหมือนกับชีวิตสุนัขจรจัด[13]ส่วนคัมภีร์ลัทธิเต๋าต้น ๆ รวมทั้งของจวงจื่อหัวเราะเยาะความเคร่งขรึมของลัทธิขงจื๊อโดยเฉพาะเจาะจง แล้วกล่าวถึงขงจื๊อโดยเป็นตัวตลกมีไหวพริบช้า[14]และหนังสือตลกที่เล่นคำ คำสองแง่สองง่าม เหตุการณ์ตลก หรือเรื่องต้องห้ามเช่นเรื่องเพศและเรื่องหยาบคาย ก็เป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมเป็นศตวรรษ ๆศิลปะการแสดง การเล่านิทาน นิยายท้องถิ่น และกวีนิพนธ์ต่าง ๆ ก็มีมุกและรูปแบบตลกมากมายมีนักตลกจีนทั้งในโบราณ (Chunyu Kun, Dongfang Shuo, Feng Menglong, Li Yu[15], Wu Jingzi) และในปัจจุบัน (Lu Xun, Lin Yutang, Lao She, Qian Zhongshu, Wang Xiaobo, Wang Shuo, Ge You, Guo Degang, Zhou Libo)

มุกตลกจีนปัจจุบันได้รับอิทธิพลไม่ใช่จากวัฒนธรรมดั้งเดิมเท่านั้น แต่ยังได้จากชาวต่างชาติ ผ่านวรรณกรรม ภาพยนตร์ โทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ต[16]ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ "humor" เป็นคำจีน ก็กลายเป็นศัพท์ใหม่สำหรับความหมายนี้ ทำให้เกิดแฟชั่นสมัยนิยมในวรรณกรรมตลก และข้อขัดแย้งที่เผ็ดร้อนว่า รูปแบบตลกเช่นไรเหมาะกับประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศที่จน อ่อนแอ ที่อยู่ใต้การปกครองของประเทศอื่นเป็นบางส่วน[17][18]แม้ว่าจะมีสุขนาฏกรรมที่อนุญาตในสมัยของนายเหมา เจ๋อตง แต่เรื่องขำขันในหลาย ๆ เรื่องก็ยังเป็นของต้องห้าม[19]แต่ว่า การผ่อนคลายนโยบายทางสังคมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980, การค้าขายที่มีผลต่อวัฒนธรรมในช่วงทศวรรษ 1990, และการเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ต ช่วยให้เกิดรูปแบบตลกใหม่ ๆ ในประเทศจีนในทศวรรษหลัง ๆ แม้ว่ารัฐยังตรวจพิจารณาสื่ออย่างเข้มงวด[20]

แบบจำลองการเปลี่ยนสภาพทางสังคม

แบบจำลองการเปลี่ยนสภาพทางสังคม (social transformation model) พยากรณ์ว่า ลักษณะโดยเฉพาะ ๆ บางอย่าง เช่น รูปหล่อหรืองาม จะมีปฏิสัมพันธ์กับความตลก[21]แบบจำลองนี้เชื่อมคนพูดตลก คนฟัง และประเด็นของเรื่องตลก[21]มีการเปลี่ยนสภาพที่เกิดขึ้นสองอย่างเนื่องกับเรื่องตลก คือเปลี่ยนความรู้สึกของคนฟังต่อคนพูด และดังนั้น จะช่วยกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างคนพูดกับคนฟัง[21]

แบบจำลองนี้มองความตลกว่าเป็นการปรับตัวที่ดี (adaptive) เพราะมันสื่อความต้องการให้ขำในขณะนี้ และความมุ่งหมายจะทำให้ขำในอนาคต[21]แบบจำลองนี้ใช้กับความตลกที่ถ่อมตัวเองเมื่อบุคคลสื่อสารเพื่อต้องการให้คนอื่นยอมรับเข้ากลุ่มสังคมโดยเฉพาะ[21]แม้ว่าเรื่องตลกถ่อมตัวเองจะสื่อความอ่อนแอและความผิดพลาดได้ของบุคคลเพื่อเรียกความเห็นใจจากผู้อื่น แต่ก็สามารถสรุปได้จากแบบจำลองนี้ว่า เรื่องตลกเช่นนี้สามารถสนับสนุนความรู้สึกรักแบบโรแมนติกต่อคนพูดเมื่อตัวแปรอื่น ๆ ก็สนับสนุนด้วย[21]

แบบจำลองนี้สามารถตามดูในการเรียนการสอนที่ใช้เรื่องตลกเพื่อปรับปรุงสถานภาพการรู้คิดของนักเรียนนักศึกษาความตลกอาจช่วยปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในห้องเรียนในเชิงบวกและไม่ให้เคร่งเครียด ซึ่งอาจจุดชนวนความกระตือรือร้นและความสนใจของนักเรียน[22]

ความรูปงาม

ชาร์ลี แชปลิน

นักศึกษามหาวิทยาลัยชาย 90% และหญิง 81% รายงานว่าเมื่อหาคู่ ความมีอารมณ์ขำเป็นคุณสมบัติสำคัญอย่างหนึ่ง[23]ความมีอารมณ์ขำและความซื่อสัตย์จัดเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดในคู่รัก[24]มีหลักฐานว่า ความมีอารมณ์ขำจะปรากฏยิ่งขึ้นและสำคัญมากขึ้น เมื่อความใกล้ชิดแบบโรแมนติดเพิ่มมากขึ้น[25]

งานศึกษาปี 2541 แสดงว่า อารมณ์ขำที่สัมพันธ์กับรูปงามเป็นปัจจัยสำคัญสองอย่างเพื่อดำรงความสัมพันธ์ให้คงยืน[21]แต่ว่า หญิงจะสนใจความรูปงามน้อยกว่าชายเมื่อออกเดต มีความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้ง และมีเพศสัมพันธ์[21]หญิงยังเห็นชายที่มีอารมณ์ขำว่าน่าสนใจกว่าคนที่ไม่มีสำหรับความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งหรือเมื่อแต่งงาน แต่ก็ต่อเมื่อชายมีรูปงาม[21]นอกจากนั้นแล้ว คนยังมองคนมีอารมณ์ขำว่าร่าเริงกว่าแต่ฉลาดน้อยกว่าอารมณ์ขำแบบถ่อมตัวเองมีหลักฐานว่าเพิ่มความน่าต้องการสำหรับคนมีรูปงามอื่น ๆ เพื่อความสัมพันธ์แบบผูกขาด[21]

งานศึกษาหนึ่งพบว่า อารมณ์ขันอาจมีผลต่อความน่าต้องการของบุคคลในความสัมพันธ์กับคนโดยเฉพาะ ๆ แต่จะมีโอกาสต่อเมื่อเป็นฝ่ายชายที่มีอารมณ์ขันเมื่อประเมินโดยฝ่ายหญิง[26]ไม่มีหลักฐานที่แสดงว่าชายชอบหญิงที่มีอารมณ์ขันเพื่อเป็นคู่ และหญิงก็ไม่ได้ชอบหญิงอื่นที่มีอารมณ์ขันเพื่อเป็นคู่[26]เมื่อใช้วิธีการศึกษาแบบบังคับให้เลือก (forced-choice) หญิงจะเลือกชายที่มีอารมณ์ขันเพื่อจะคบเป็นคู่แม้ว่าอาจจะคิดว่าชายซื่อตรงและฉลาดน้อยกว่า[26]และการวิเคราะห์แบบไม่ได้กำหนดก่อนการทดลอง (Post-Hoc) ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพของอารมณ์ขันกับการได้รับการประเมินที่ดี[26]

ใกล้เคียง

ความตาย ความตลกขบขัน ความตกลงมิวนิก ความต้านทานและการนำไฟฟ้า ความตกลงปางหลวง ความตกลงการสงบศึกเกาหลี ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า ความตกลงอังกฤษ-รัสเซีย ความตกลงเชงเกน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความตลกขบขัน http://www.emeraldinsight.com/doi/abs/10.1108/0142... http://www.leaonline.com/doi/abs/10.1207/s1532785x... http://www.mentomusic.com/flea.htm http://www.quotationspage.com/quote/984.html http://www.uni-duesseldorf.de/WWW/MathNat/Ruch/PSY... http://www.hup.harvard.edu/catalog.php?isbn=978067... http://u.osu.edu/mclc/files/2014/09/intro20.2-158j... http://etd.library.pitt.edu/ETD/available/etd-1103... http://www-cs-faculty.stanford.edu/~uno/smullyan.h... http://www.ucpress.edu/book.php?isbn=9780520283848