ความถี่กิจการเคลื่อนที่ทางทะเล ของ ความถี่แจ้งเหตุประสบภัยสากล

ความถี่แจ้งเหตุประสบภัยสากลที่ใช้งานอยู่ปัจจุบันประกอบด้วย

  • 2182 kHz สำหรับการใช้งานทางทะเลด้วยเสียงระยะปานกลาง ยามฝั่งสหรัฐกล่าวว่า "ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556 หน่วยยามฝั่งจะไม่เฝ้าฟังความถี่ 2182 kHz อีกต่อไป"[4] ในขณะที่ศูนย์ประสานงานการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย (Rescue Coordination Centre: RCC) อีกหลายแห่ง เช่น ในยุโรปเหนือมีความสามารถในการสื่อสารแค่ย่าน MF และไม่รองรับย่าน HF[5]
  • มีความถี่ย่าน HF หลายความถี่สำหรับการเรียกขานแจ้งเหตุประสบภัยจากระยะไกล ประกอบไปด้วย[6]
    • 4125 kHz
    • 6215 kHz
    • 8291 kHz
    • 12290 kHz
    • 16420 kHz
  • วิทยุทางทะเล ย่านความถี่วีเอชเอฟ ช่อง 16 (156.8 MHz) สำหรับการใช้งานทางทะเลระยะใกล้
  • 406 MHz ถึง 406.1 MHz ใช้งานในระบบ Cospas-Sarsat สำหรับการค้นหาและกู้ภัย (SAR) ผ่านดาวเทียมระหว่างประเทศ สำหรับตรวจจับการแจ้งเตือนเหตุประสบภัยและตรวจจับการแพร่กระจายข้อมูล

ความถี่เรียกอย่างจำเพาะเจาะจงโดยใช้วิธีดิจิทัล

ความถี่สำหรับการเรียกอย่างจำเพาะเจาะจงโดยใช้วิธีดิจิทัล (DSC) มีด้วยกันหลายความถี่ โดยใช้งานสำหรับกาารเฝ้าตรวจสอบสัญญาณขอความช่วยเหลือในระบบ DSC ประกอบไปด้วย[6][7]

  • 2.1875 MHz
  • 4.2075 MHz
  • 6.312 MHz
  • 8.4145 MHz
  • 12.577 MHz
  • 16.8045 MHz
  • 156.525 MHz, วิทยุทางทะเล ย่านความถี่วีเอชเอฟ ช่อง 70

ใกล้เคียง

ความถูกต้องทางการเมือง ความถี่แจ้งเหตุประสบภัยสากล ความถี่ ความถ่วงจำเพาะ ความถี่เชิงมุม ความถี่วิทยุ ความถี่เชิงพื้นที่ ความถี่มูลฐาน ความถี่เสียงเปียโน ความถนัดซ้าย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความถี่แจ้งเหตุประสบภัยสากล http://www.piersystem.com/go/doc/586/251135/ http://www.piersystem.com/go/doc/780/248571/ http://www.uscg.mil/d13/cfvs/Distress.asp http://www.navcen.uscg.gov/?pageName=cgcommsCall https://www.itu.int/rec/R-REC-M.541/en http://www.arrl.org/band-plan https://web.archive.org/web/20180920154308/http://... http://www.iaru.org/uploads/1/3/0/7/13073366/emcom... https://web.archive.org/web/20181114063432/http://... http://www.iaru.org/uploads/1/3/0/7/13073366/emerg...