ประวัติ ของ ความถี่แจ้งเหตุประสบภัยสากล

ในช่วงศตวรรษที่ 20 ความถี่ 500 kHz เป็นความถี่แจ้งเหตุประสบภัยหลักสากล ซึ่งถูกยกเลิกการใช้งานเพื่อปรับไปใช้งานตามระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินและเพื่อความปลอดภัยทางทะเลทั่วโลก (Global Maritime Distress and Safety Sytem: GMDSS)

การใช้ความถี่ในการแจ้งเหตุประสบภัยบางความถี่อนุญาตให้ใช้ความถี่ในการเรียกสถานีอื่นเพื่อเรียกขานสำหรับการติดต่อ หลังจากตอบรับกันแล้วจะมีการนัดหมายไปยังช่องอื่นเพื่อสนทนากันต่อ ช่องดังกล่าวเรียกว่า ความถี่เรียกขานแจ้งเหตุประสบภัยและเพื่อความปลอดภัย (distress, safety and calling)[1]

การประมวลผลตำแหน่งจากดาวเทียมทั้งหมดจากความถี่ 121.5 หรือ 243 MHz ถูกยกเลิก โดยตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ยามฝั่งสหรัฐจะตรวจสอบเฉพาะสัญญาณขอความช่วยเหลือจากตำแหน่งฉุกเฉินที่ได้จากกระโจมวิทยุ (EPIRBs) ที่ออกอากาศด้วยสัญญาณระบบดิจิทัล 406 MHz[2] ซึ่งรุ่นที่ใช้ความถี่ 406 MHz กลายเป็นรุ่นเดียวที่ได้รับอนุมัติให้ใช้บนเรือประมงเชิงพาณิชย์และพาหนะทางน้ำสำหรับพักผ่อนทั่วโลกในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550[3]

ใกล้เคียง

ความถูกต้องทางการเมือง ความถี่แจ้งเหตุประสบภัยสากล ความถี่ ความถ่วงจำเพาะ ความถี่เชิงมุม ความถี่วิทยุ ความถี่เชิงพื้นที่ ความถี่มูลฐาน ความถี่เสียงเปียโน ความถนัดซ้าย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความถี่แจ้งเหตุประสบภัยสากล http://www.piersystem.com/go/doc/586/251135/ http://www.piersystem.com/go/doc/780/248571/ http://www.uscg.mil/d13/cfvs/Distress.asp http://www.navcen.uscg.gov/?pageName=cgcommsCall https://www.itu.int/rec/R-REC-M.541/en http://www.arrl.org/band-plan https://web.archive.org/web/20180920154308/http://... http://www.iaru.org/uploads/1/3/0/7/13073366/emcom... https://web.archive.org/web/20181114063432/http://... http://www.iaru.org/uploads/1/3/0/7/13073366/emerg...