การวัด ของ ความพิถีพิถัน_(จิตวิทยาบุคลิกภาพ)

ระดับค่าของลักษณะโดยทั่วไปได้มาจากการวัดแบบแจ้งเอง (self-report) แม้ว่า การวัดโดยให้คนอื่นแจ้ง เช่น โดยคนที่อยู่ในสถานะเดียวกัน ก็มีได้เหมือนกันการวัดแบบแจ้งเองอาจเป็นแบบใช้คำ (lexical)[2]หรือใช้บทความ (statement)[12]ส่วนการตัดสินใจว่าจะใช้การวัดแบบไหนเพื่อใช้ในงานวิจัย จะกำหนดโดยค่าวัดทางจิตวิทยาอื่น ๆ (psychometric property) เวลา และพื้นที่ที่มีให้ใช้ในงานศึกษา

การวัดแบบใช้คำ

ในภาษาอังกฤษ การวัดโดยใช้คำ (lexical) จะใช้คำวิเศษณ์แต่ะละคำที่สะท้อนถึงลักษณะต่าง ๆ ของนิสัย เช่น ความมีประสิทธิภาพ และการทำงานเป็นระบบ เป็นการวัดที่มีประสิทธิผลทางด้านเวลาและพื้นที่ที่ใช้ในงานวิจัยเป็นอย่างดีในปี 1992 ศ.ดร.ลิวอิส โกลด์เบอร์ก ได้พัฒนาคำ 20 คำที่ใช้วัดลักษณะบุคลิกภาพนี้ โดยเป็นส่วนของคำ 100 คำที่ใช้วัดลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง (Big Five personality traits)[13]ต่อมาในปี 1994 จึงมีการพัฒนาการวัดโดยใช้คำเพียง 8 คำ เป็นส่วนของคำ 40 คำ[14]

ในปี 2008 มีการปรับปรุงวิธีการวัดอย่างเป็นระบบ โดยเปลี่ยนไปใช้คำภาษาอังกฤษสากล ซึ่งมีความสมเหตุสมผล (validity) และความสม่ำเสมอ (reliability) ที่ดีกว่าในประชากรทั้งภายในและภายนอกทวีปอเมริกาเหนือ[2]โดยมีความสม่ำเสมอหรือความเชื่อถือได้ภายใน (internal consistency/reliability) ในการวัดความพิถีพิถันสำหรับผู้พูดภาษาอังกฤษแต่กำเนิดที่ .90 และสำหรับผู้พูดภาษาอังกฤษพวกอื่นที่ .86[2]

การวัดแบบใช้บทความ

การวัดโดยใช้บทความ (statement) มักจะใช้คำมากกว่า ดังนั้นก็จะใช้เนื้อที่ในการเก็บข้อมูลและใช้เวลาทดสอบมากกว่าการวัดโดยใช้คำตัวอย่างเช่น จะมีการถามผู้รับสอบว่า ตน "บ่อยครั้งลืมที่จะเก็บของไว้ที่เดิม" หรือไม่ หรือ "ระมัดระวังที่จะหลีกเลี่ยงการทำผิด" หรือไม่[12]แม้ว่าการวัดโดยวิธีนี้จะมีคุณลักษณะทางจิตวิทยาต่อประชากรอเมริกาเหนือเหมือนกับการวัดโดยคำ แต่การพัฒนาระบบวัดที่แฝงอยู่ใต้วัฒนธรรม ทำให้ใช้กับประชากรกลุ่มอื่นไม่ได้ดีเท่า[15]ยกตัวอย่างเช่น บทความอังกฤษที่เป็นภาษาปากในอเมริกาเหนือเช่น "Often forget to put things back in their proper place" (บ่อยครั้งลืมที่จะเก็บของไว้ที่เดิม) และ "Am careful to avoid making mistakes" (ระมัดระวังที่จะหลีกเลี่ยงการทำผิด) บางครั้งเป็นเรื่องยากสำหรับคนที่ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษแต่กำเนิดจะเข้าใจ ซึ่งแสดงว่า การวัดที่ทำให้สมเหตุสมผลในระดับสากลอาจจะเป็นวิธีทำงานวิจัยที่ดีกว่าสำหรับคนนอกอเมริกาเหนือ

คำถามที่ใช้บ่งลักษณะ

  • ฉันเตรียมพร้อมอยู่เสมอ (I am always prepared)
  • ฉันให้ความสนใจกับรายระเอียด (I pay attention to details)
  • ฉันจะทำงานบ้านงานหยุมหยิมให้เสร็จก่อน (I get chores done right away)
  • ฉันชอบความเป็นระเบียบ (I like order)
  • ฉันทำอะไรตามตาราง (I follow a schedule)
  • ฉันชอบทำอะไรเป๊ะ ๆ มาก (I am exacting in my work)
  • ฉันทิ้งของ ๆ ฉันไว้เรี่ยราด (I leave my belongings around) - แบบตรงข้าม
  • ฉันทำอะไรเละเทะ (I make a mess of things) - แบบตรงข้าม
  • ฉันมักจะลืมเก็บของเข้าที่บ่อย ๆ (I often forget to put things back in their proper place) - แบบตรงข้าม
  • ฉันหลบหน้าที่ (I shirk my duties) - แบบตรงข้าม[7]

ใกล้เคียง

ความพิถีพิถัน (จิตวิทยาบุคลิกภาพ) ความพิการ ความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต พ.ศ. 2534 ความพยายามรัฐประหารในประเทศตุรกี พ.ศ. 2559 ความพยายามลอบปลงพระชนม์สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ความพยายามยับยั้งการรั่วไหลของน้ำมันดิบจากแท่นขุดเจาะดีพวอเทอร์ฮอไรซัน ความพิการในประเทศสิงคโปร์ ความพยายามลอบสังหารโรนัลด์ เรแกน ความพิการทางการเรียน ความพยายามรัฐประหารในประเทศสเปน พ.ศ. 2524

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความพิถีพิถัน_(จิตวิทยาบุคลิกภาพ) http://books.google.com/?id=d-Y4T70Ws5UC&lpg=PA159... http://books.google.com/?id=gTdWltAv_scC&lpg=PA856... http://www.psychologytoday.com/blog/looking-in-the... http://uk.psytech.com/wp-content/uploads/2013/01/C... http://psr.sagepub.com/content/12/3/248.abstract http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id... http://www.subjectpool.com/ed_teach/y4person/3_hap...